Intentionality and its analysis
การศึกษาตามแนวปรากฏการณ์นิยมนั้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าสิ่งที่ถูกศึกษาคืออะไร
สิ่งที่ถูกศึกษาเรียกว่า phenomenon คือ ปรากฎการณ์อาจเป็นปรากฎการณ์ที่เราได้ประสบมาแล้ว หรือที่กำลังประสบอยู่
การศึกษานี้ ใช้การมีสำนึกรู้(conscious) ต่อปรากฎการณ์นั้น จากข้างต้นจะเห็นว่าการศึกษานี้มีส่วนสำคัญ 2 ส่วน ส่วนแรกคือ การที่เรามี การสำนึกรู้ และส่วนที่สองคือ สิ่งที่ถูกศึกษา (object)
ทั้งสองส่วนนี้มีส่วนประกอบย่อยลงไปอีกคือ การมีสำนึกรู้ อาจเป็น การรับรู้ การรู้สึก การตีความ การตัดสินคุณค่า และสิ่งที่ถูกศึกษาก็มีส่วนประกอบย่อยๆ ทั้งเป็นส่วนที่เป็น ชิ้น และเป็นสภาวะ (pieces and moments)
ในการที่จะพบแก่นของปรากฎการณ์ ต้องศึกษาผ่านประสบการณ์ของคน
ดังนั้นในการศึกษาเพื่ออธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับประสบการณ์ หรือ จึงเป็น กระบวนการของการที่เรามีสำนึกรู้ในสิ่งที่เป็นส่วนต่างๆ ของเหตุการณ์ จากรู้บางส่วนจนกระทั้งรู้ทั้งหมด โดยผลที่ได้จากการศึกษาคือการพรรณนาสิ่งที่เป็นแก่นของประสบการณ์นั้นๆ และกระบวนการที่กล่าวถึงนี้เรียกว่า intentionality
ตัวอย่างที่ 1.
เรากำลังศึกษาเกี่ยวกับ ประสบการณ์ของพ่อกับการท้องลูกคนแรกของภรรยา
ในที่นี้ผู้เป็นเจ้าของประสบการณ์คือพ่อ ที่มี conscious ต่อ การท้องลูกคนแรกของภรรยาเขา จุดประสงค์ของการศึกษานี้คื่อต้องการพรรณาเกี่ยวกับตัวเขาเองว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับเขาบ้างทั้งในแง่ของอาการทางกาย อาการทางอารมณ์ ความกลัว ความรู้สึกเมื่อเด็กคลอด เป็นต้น
ตัวอย่าง 2.
การศึกษาประสบการณ์ความกลัวของทหารผ่านศึก ผู้เป็นเจ้าของประสบการณ์คือทหารผ่านศึก ผู้ที่มี conscious คือ ทหารผ่านศึก สิ่งที่ถูกศึกษาคือ ความกลัว ที่อาจประกอบด้วย ความรู้สึกที่มีต่อ สภาพการณ์สงคราม ความประทับใจต่อเพื่อนทหาร ความกดดันต่อความเสี่ยง และอื่นๆ ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บข้อมูลประสบการณ์เหล่านี้ ดังนั้นผู้เป็นเจ้าของประสบการณ์จึงต้องได้รับเกียรติเป็นผู้ร่วมวิจัย มิใช่เพียงผู้ให้ข้อมูลเท่านั้น
ทั้งสองตัวอย่างที่ยกมานี้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าการวิจัยแบบนี้เค้าให้ความสำคัญแก่ conscious, สิ่งที่เรากำลังมี conscious หรือ object และ ต้องรู้ว่าการมี conscious นั้นมีหลายประเภท อีกทั้ง สิ่งที่ถูกศึกษา ต้องรู้ว่ามีหลายด้านหลายองค์ประกอบ
ตอนต่อไป เป็นเรื่องของการวิเคราะห์ รอก่อนนะคะ
วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553
Grounded theory-Ethno-Pheno ตอน 2
ตอนที่ 1 ของเรื่องนี้ได้กล่าวถึง ontology ของวิธีวิทยาทั้งสามวิธีไปแล้ว กล่าวสรุปได้ว่า เมื่อนักวิจัยคิดถึงคำถามการวิจัยของตัวเอง แล้วตอบได้ว่า สิ่งที่กำลังจะศึกษาเป็นความเป็นจริง(reality)ในแบบใด เป็นแบบถูก-ผิด เป็นแบบที่เป็นจริงในบริบทหนึ่งๆหรือ เป็นแบบที่เกิดจากการตีความของคนที่เป็นเจ้าของความเป็นจริงในเรื่องนั้น
ดังนั้นในแง่ของ ontology งานที่ศึกษาโดย GT จะมีความเป็น positivism มากกว่าอีก 2 วิธี คือเหมาะสำหรับการวิจัยที่ต้องการแสวงหาความจริง(truth) ต้องการจะสร้างคำอธิบายให้กับความจริงนั้น ในขณะที่ ethnography ก็เป็นการเข้าใจปรากฏการณ์ ในขณะที่ Phenomenology พรรณนาสิ่งที่เป็นแก่นของประสบการณ์ โดย ที่ความเป็นจริงในความเชื่อของ Phenomenology นี้ ต่างจากความเป็นจริงของ GT มากที่สุด ทีนี้ก็ต้องมาถามว่าผู้วิจัยตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อกลุ่มใด
ในบทความตอน 2 จะกล่าวถึง epistemology ซึ่งหมายถึง ตัวความรู้(knowledge) ผู้ที่เป็นเจ้าของความรู้ และความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับความรู้ เนื่องจากบทความนี้เขียนมาจาก การถกเถียงที่ไม่เข้าใจตรงกันของผู้นิยม ethnology กับผู้นิยม GT ดังนั้นจึงต้องกล่าวถึงนิยามของ ethnography สักเล็กน้อยเนื่องจากอาจมีความเข้าใจไม่ตรงกัน การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา(ไม่รู้ว่าสะกดถูกไหม) เดิม คำ ethnography แปลว่า งานเขียนพรรณนาที่เกี่ยวกับวิถีชีวิของกลุ่มคน ในงานที่เป็น classic ของ ethnography มักถูกวิจารณ์เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของงานเสมอ และไม่จนกระทั่งเกือบต้น ค.ศ.ที่ 20 ที่มีการบัญญัติ รูปแบบของการวิจัยแบบนี้ที่ร่วมสมัยคือเป็นวิธีวิทยาที่มีปรัชญาและระเบียบวิธีของตนเอง ethnography research ตอบคำถามเกี่ยวกับ สังคมหนึ่ง รวบรวมข้อมูลที่ไม่กำหนดโครงสร้างไว้ล่วงหน้า ใช้กลุ่มตัวอย่างเล็กและ ตีความจากพฤติกรรมของคน การรวบรวมข้อมูลใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ในเวลาขั้นต่ำประมาณ 6 เดือนสำหรับการใช้ ethnography research ในสาขาจิตวิทยา( แต่สาขามานุษยวิทยาใช้เวลาเป็นปี) ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัย และผู้ให้ข้อมูลหลักมีลักษณะที่สรุปได้ว่า ต้อง polite not friendship , ต้องcompassion not sympathy, ต้อง respect no belief , ต้อง understand not identification , ต้อง admiring not love นักวิชาการในยุคclassicอาจกล่าวถึง ethnography เป็นวิธีการลงชุมชน ประเภทของ Ethnography life history, memoir, narrative ethnography, auto ethno, fiction, applied ethno, ethno decision modeling
การเลือกหัวข้อวิจัยที่เหมาะกับ ethnography ผู้วิจัยต้องตอบให้ได้ว่า อะไรเป็นแรงจูงใจให้ทำเรื่องนี้ ทำไมต้องเป็นสถานที่แห่งนี้ ชุมชนแห่งนี้ ทำไมต้องเป็นกลุ่มนี้ ข้อมูลที่เก็บ ประกอบด้วย สาระเกี่ยวกับวัฒนธรรมทั้งที่เป็น ความคิด คุณค่า พฤติกรรม
ในแง่ของ epistemology นั้น นักวิจัยต้องคิดว่าความรู้(knowledge)ในเรื่องนี้เป็นอะไร เป็นความเห็นความเชื่อของคนและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกับคนอื่น การทำงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ หรืออะไรอื่น แล้วเราจะรู้เรื่องนี้ได้อย่างไร GT ใช้อภิทฤษฏี หลักคือ symbolic interactonismขณะที Ethnographyใช้ symbolic interactionism ได้เช่นเดียวกับ และ Phenomenology ใช้ปรัชญาของด้านPhenomenology เป็นหลัก
ในการเลือกระหว่าง 3 วิธีนี้ความแตกต่างอยู่ที่ ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับ ผู้ที่มีความรู้ เช่นกรณีนี้ นักวิจัยต้องหาความจริงจากคนที่อยู่ในกลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลหลัก เช่น ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการใช้แนวคิดการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน หรือ การท่องเที่ยวบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง ผู้วิจัยมีระดับของความเป็นคนใน หรือนอก มากน้อยเพียงใด ใน ethnography นักวิจัยต้องเป็นส่วนร่วมในกระบวนการทางสังคมของกลุ่มชนที่ต้องการเก็บข้อมูล ในPhenomenology ผู้วิจัย ยิ่งต้องเป็นผู้เป็นเจ้าของประสบการณ์( First person experience )แต่ใน GT มี2แนว แนวดั่งเดิม Glaser เน้นให้นักวิจัยเป็นอิสระจากความรู้ความจริงขณะที่ในยุคต่อมา Strauss ให้ผู้วิจัยตีความจากประสบการณ์
ดังนั้นผู้วิจัยต้องแสดงจุดยืนว่าความรู้ในการวิจัยนั้นคืออะไร และนักวิจัยจะมีระดับความสัมพันธ์กับสิ่งนั้นมากน้อยแค่ใด
ในแง่ของ methodology จะเห็นว่าใน GTใช้ข้อมูลจาก การสัมภาษณ์ การfocus group การสังเกต และวิธีการอื่นๆ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ constant comparison, theoretical sampling, และอาจมีconditional matrix ในขณะที่ phenomenology ใช้ dialogue การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์โดย bracketing, imagination variation และ ethnography ใช้การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ theme analysis การยืนยันความน่าเชื่อถือ และreliability ก็มีลักษณะเฉพาะที่สอดคล้องกับวิธีการที่ใช้
ดังนั้นการผสมผสานวิธีวิทยาก็ทำได้ แต่ต้องอธิบายว่าคำถามการวิจัยแต่ละคำถามคืออะไร และ Ontology epistemology Methodology มีความสอดคล้องกลมกลืนกันอย่างไร แล้วเมื่อเรามีความเข้าใจ มีที่มา มีหลักฐาน แล้วท่านอื่นจะว่าอย่างไร ก็ต่อมาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้เข้าใจตรงกัน
ดังนั้นในแง่ของ ontology งานที่ศึกษาโดย GT จะมีความเป็น positivism มากกว่าอีก 2 วิธี คือเหมาะสำหรับการวิจัยที่ต้องการแสวงหาความจริง(truth) ต้องการจะสร้างคำอธิบายให้กับความจริงนั้น ในขณะที่ ethnography ก็เป็นการเข้าใจปรากฏการณ์ ในขณะที่ Phenomenology พรรณนาสิ่งที่เป็นแก่นของประสบการณ์ โดย ที่ความเป็นจริงในความเชื่อของ Phenomenology นี้ ต่างจากความเป็นจริงของ GT มากที่สุด ทีนี้ก็ต้องมาถามว่าผู้วิจัยตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อกลุ่มใด
ในบทความตอน 2 จะกล่าวถึง epistemology ซึ่งหมายถึง ตัวความรู้(knowledge) ผู้ที่เป็นเจ้าของความรู้ และความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับความรู้ เนื่องจากบทความนี้เขียนมาจาก การถกเถียงที่ไม่เข้าใจตรงกันของผู้นิยม ethnology กับผู้นิยม GT ดังนั้นจึงต้องกล่าวถึงนิยามของ ethnography สักเล็กน้อยเนื่องจากอาจมีความเข้าใจไม่ตรงกัน การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา(ไม่รู้ว่าสะกดถูกไหม) เดิม คำ ethnography แปลว่า งานเขียนพรรณนาที่เกี่ยวกับวิถีชีวิของกลุ่มคน ในงานที่เป็น classic ของ ethnography มักถูกวิจารณ์เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของงานเสมอ และไม่จนกระทั่งเกือบต้น ค.ศ.ที่ 20 ที่มีการบัญญัติ รูปแบบของการวิจัยแบบนี้ที่ร่วมสมัยคือเป็นวิธีวิทยาที่มีปรัชญาและระเบียบวิธีของตนเอง ethnography research ตอบคำถามเกี่ยวกับ สังคมหนึ่ง รวบรวมข้อมูลที่ไม่กำหนดโครงสร้างไว้ล่วงหน้า ใช้กลุ่มตัวอย่างเล็กและ ตีความจากพฤติกรรมของคน การรวบรวมข้อมูลใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ในเวลาขั้นต่ำประมาณ 6 เดือนสำหรับการใช้ ethnography research ในสาขาจิตวิทยา( แต่สาขามานุษยวิทยาใช้เวลาเป็นปี) ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัย และผู้ให้ข้อมูลหลักมีลักษณะที่สรุปได้ว่า ต้อง polite not friendship , ต้องcompassion not sympathy, ต้อง respect no belief , ต้อง understand not identification , ต้อง admiring not love นักวิชาการในยุคclassicอาจกล่าวถึง ethnography เป็นวิธีการลงชุมชน ประเภทของ Ethnography life history, memoir, narrative ethnography, auto ethno, fiction, applied ethno, ethno decision modeling
การเลือกหัวข้อวิจัยที่เหมาะกับ ethnography ผู้วิจัยต้องตอบให้ได้ว่า อะไรเป็นแรงจูงใจให้ทำเรื่องนี้ ทำไมต้องเป็นสถานที่แห่งนี้ ชุมชนแห่งนี้ ทำไมต้องเป็นกลุ่มนี้ ข้อมูลที่เก็บ ประกอบด้วย สาระเกี่ยวกับวัฒนธรรมทั้งที่เป็น ความคิด คุณค่า พฤติกรรม
ในแง่ของ epistemology นั้น นักวิจัยต้องคิดว่าความรู้(knowledge)ในเรื่องนี้เป็นอะไร เป็นความเห็นความเชื่อของคนและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกับคนอื่น การทำงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ หรืออะไรอื่น แล้วเราจะรู้เรื่องนี้ได้อย่างไร GT ใช้อภิทฤษฏี หลักคือ symbolic interactonismขณะที Ethnographyใช้ symbolic interactionism ได้เช่นเดียวกับ และ Phenomenology ใช้ปรัชญาของด้านPhenomenology เป็นหลัก
ในการเลือกระหว่าง 3 วิธีนี้ความแตกต่างอยู่ที่ ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับ ผู้ที่มีความรู้ เช่นกรณีนี้ นักวิจัยต้องหาความจริงจากคนที่อยู่ในกลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลหลัก เช่น ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการใช้แนวคิดการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน หรือ การท่องเที่ยวบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง ผู้วิจัยมีระดับของความเป็นคนใน หรือนอก มากน้อยเพียงใด ใน ethnography นักวิจัยต้องเป็นส่วนร่วมในกระบวนการทางสังคมของกลุ่มชนที่ต้องการเก็บข้อมูล ในPhenomenology ผู้วิจัย ยิ่งต้องเป็นผู้เป็นเจ้าของประสบการณ์( First person experience )แต่ใน GT มี2แนว แนวดั่งเดิม Glaser เน้นให้นักวิจัยเป็นอิสระจากความรู้ความจริงขณะที่ในยุคต่อมา Strauss ให้ผู้วิจัยตีความจากประสบการณ์
ดังนั้นผู้วิจัยต้องแสดงจุดยืนว่าความรู้ในการวิจัยนั้นคืออะไร และนักวิจัยจะมีระดับความสัมพันธ์กับสิ่งนั้นมากน้อยแค่ใด
ในแง่ของ methodology จะเห็นว่าใน GTใช้ข้อมูลจาก การสัมภาษณ์ การfocus group การสังเกต และวิธีการอื่นๆ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ constant comparison, theoretical sampling, และอาจมีconditional matrix ในขณะที่ phenomenology ใช้ dialogue การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์โดย bracketing, imagination variation และ ethnography ใช้การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ theme analysis การยืนยันความน่าเชื่อถือ และreliability ก็มีลักษณะเฉพาะที่สอดคล้องกับวิธีการที่ใช้
ดังนั้นการผสมผสานวิธีวิทยาก็ทำได้ แต่ต้องอธิบายว่าคำถามการวิจัยแต่ละคำถามคืออะไร และ Ontology epistemology Methodology มีความสอดคล้องกลมกลืนกันอย่างไร แล้วเมื่อเรามีความเข้าใจ มีที่มา มีหลักฐาน แล้วท่านอื่นจะว่าอย่างไร ก็ต่อมาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้เข้าใจตรงกัน
วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ถามเองตอบเอง ในเรื่อง phenomenology
คำถามแรก
การทำวิจัยโดยปรัชญาและวิธีวิทยาของ Phenomenology นั้น เป็นการศึกษา เกี่ยวกับ consciousness of it object= ปรากฏการณ์ หมายความว่า เป็นการศึกษาความตระหนักรู้ตัวของผู้ที่มีประสบการณ์นั้น เช่น ถ้าศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของการเผชิญกับภูเขาไฟระเบิด ก็ต้องเป็นการศึกษาจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น
ที่นี้เรามาดูว่า ผู้วิจัยเป็นผู้ศึกษาปรากฏการณ์นี้จากความตระหนักรู้ของผู้วิจัย หรือถ่ายทอดจากความตระหนักรู้ของผู้อื่น ถ้าเรามองกลับไปที่อดีตของแนวคิด นักปรัชญาได้แก่ Hegel ศึกษาเกี่ยวกับจิตวิญญาณ ตัวเขาเองเป็นผู้ที่ศึกษาและตีความปรากฏการณ์นี้เอง Husserl เขียน logical Investigation ที่เล่มหนึ่งเป็น การศึกษา the nature of act and expression เล่มหก phenomenology and the theory of knowledge ซึ่งได้รับการพูดถึงว่า การศึกษาทั้งหมดนี้เป็นการวิเคราะห์สังกัปที่สำคัญ ในยุคของ Heidegger ที่เขียน Being in Time ก็เป็นการศึกษา ที่อธิบายสังกัปที่เกี่ยวข้องกับ แก่นของการมีอยู่ของมนุษย์( existence) ก็เป็นการอธิบายเชิงวิเคราะห์สังกัปหรือแก่นที่สำคัญ
ข้อสังเกตคือการวิจัยไม่มีการแสดงวิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของ empirical research
ดังนั้นการศึกษาของพฤติกรรมศาสตร์ ณ มศว. ที่ต้องเน้นการแสดงความชัดเจนของ methodology ได้แก่ตัวอย่าง การเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้นเราจะเรียกการศึกษาของเราว่าเป็น วิธีวิทยาแบบใดจึงจะเหมาะสม empirical phenomenology หรือไร แล้วความเป็น Phenomenology ของเราอยู่ตรงไหนของ Heidegger ที่ ontology ที่ epistemology หรือ methodology
ประเด็น ontology: เราศึกษาเกี่ยวกับ dying ซึ่งเราเชื่อว่า ความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีทั้งที่เป็นวิทยาศาสตร์ เช่น การหายใจที่ชีพจรช้าลง ความดันเลือดต่ำ และอื่นๆ และในทางที่มิใช่สิ่งที่จับต้องได้ ได้แก่ ความคิด ความรู้สึก และการตระหนักรู้ของร่างกาย(body awareness) ที่เป็นความรู้ที่สำคัญ ของ dying ที่จำต้องศึกษาตามแนวของ Phenomenology เพราะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ consciousness of dying
ประเด็น epistemology ความจริงของเรื่องนี้อยู่ที่ใดบ้าง สำคัญที่สุดคือผู้ที่กำลังจะตาย เพราะเขามี self awareness of dying คนเฝ้าไข้ หมอ พยาบาล มีความจริง เกี่ยวกับ self awareness of being with the dying ถามว่าทั้งสองนี้เป็นคนละปรากฏการณ์ใช่หรือไม่ จะเป็น concept ของ phenomenology ในเรื่อง one in many ใช่หรือไม่ อันนี้ยังไม่แน่ใจ เพราะ 0ne in many น่าจะเป็นการมองของคนเดียวกัน แต่มองในมุมที่ต่างกัน เช่นมองในมุมที่ตัวเองเป็นแม่ นองในมุมที่ตัวเองเป็นภรรยา มองในมุมที่ตัวเองเป็น พุทธศาสนิกชน เป็นต้น ดังนั้นการเก็บข้อมูลจากหลายฝ่ายประเด็นนี้เราต้องการเก็บข้อมูลจากใครในประเด็นใดเพื่ออะไรควรต้องจำแนกในใจของผู้วิจัยให้ชัดเจน
ประเด็น methodology แล้วเราจะทำการศึกษาอย่างไร จึงจะสอดคล้องกับความจริงข้างต้น การเริ่มจากการให้ผู้ตายได้พูด ความคิด ความรู้สึก ความตระหนักรู้ด้านร่างกายของตน(co-researchers)และผู้วิจัย(research) เป็นผู้จดบันทึกและตีความด้วยวิธีของ Phenomenology ได้แก่ เทคนิค bracketing ที่มี 3 ระดับ imaginative variations หรือ horizontalization นั้นนำมาใช้อย่างไร
เมื่อผู้วิจัยมีความเข้าใจอย่างชัดเจนและอธิบายได้ว่าความเป็น phenomenology อยู่ที่ใดก็คงเป็นสิ่งที่นักวิจัยได้ทำหน้าที่ในเชิงจรรยาบรรณของตัวเองแล้ว
การทำวิจัยโดยปรัชญาและวิธีวิทยาของ Phenomenology นั้น เป็นการศึกษา เกี่ยวกับ consciousness of it object= ปรากฏการณ์ หมายความว่า เป็นการศึกษาความตระหนักรู้ตัวของผู้ที่มีประสบการณ์นั้น เช่น ถ้าศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของการเผชิญกับภูเขาไฟระเบิด ก็ต้องเป็นการศึกษาจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น
ที่นี้เรามาดูว่า ผู้วิจัยเป็นผู้ศึกษาปรากฏการณ์นี้จากความตระหนักรู้ของผู้วิจัย หรือถ่ายทอดจากความตระหนักรู้ของผู้อื่น ถ้าเรามองกลับไปที่อดีตของแนวคิด นักปรัชญาได้แก่ Hegel ศึกษาเกี่ยวกับจิตวิญญาณ ตัวเขาเองเป็นผู้ที่ศึกษาและตีความปรากฏการณ์นี้เอง Husserl เขียน logical Investigation ที่เล่มหนึ่งเป็น การศึกษา the nature of act and expression เล่มหก phenomenology and the theory of knowledge ซึ่งได้รับการพูดถึงว่า การศึกษาทั้งหมดนี้เป็นการวิเคราะห์สังกัปที่สำคัญ ในยุคของ Heidegger ที่เขียน Being in Time ก็เป็นการศึกษา ที่อธิบายสังกัปที่เกี่ยวข้องกับ แก่นของการมีอยู่ของมนุษย์( existence) ก็เป็นการอธิบายเชิงวิเคราะห์สังกัปหรือแก่นที่สำคัญ
ข้อสังเกตคือการวิจัยไม่มีการแสดงวิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของ empirical research
ดังนั้นการศึกษาของพฤติกรรมศาสตร์ ณ มศว. ที่ต้องเน้นการแสดงความชัดเจนของ methodology ได้แก่ตัวอย่าง การเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้นเราจะเรียกการศึกษาของเราว่าเป็น วิธีวิทยาแบบใดจึงจะเหมาะสม empirical phenomenology หรือไร แล้วความเป็น Phenomenology ของเราอยู่ตรงไหนของ Heidegger ที่ ontology ที่ epistemology หรือ methodology
ประเด็น ontology: เราศึกษาเกี่ยวกับ dying ซึ่งเราเชื่อว่า ความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีทั้งที่เป็นวิทยาศาสตร์ เช่น การหายใจที่ชีพจรช้าลง ความดันเลือดต่ำ และอื่นๆ และในทางที่มิใช่สิ่งที่จับต้องได้ ได้แก่ ความคิด ความรู้สึก และการตระหนักรู้ของร่างกาย(body awareness) ที่เป็นความรู้ที่สำคัญ ของ dying ที่จำต้องศึกษาตามแนวของ Phenomenology เพราะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ consciousness of dying
ประเด็น epistemology ความจริงของเรื่องนี้อยู่ที่ใดบ้าง สำคัญที่สุดคือผู้ที่กำลังจะตาย เพราะเขามี self awareness of dying คนเฝ้าไข้ หมอ พยาบาล มีความจริง เกี่ยวกับ self awareness of being with the dying ถามว่าทั้งสองนี้เป็นคนละปรากฏการณ์ใช่หรือไม่ จะเป็น concept ของ phenomenology ในเรื่อง one in many ใช่หรือไม่ อันนี้ยังไม่แน่ใจ เพราะ 0ne in many น่าจะเป็นการมองของคนเดียวกัน แต่มองในมุมที่ต่างกัน เช่นมองในมุมที่ตัวเองเป็นแม่ นองในมุมที่ตัวเองเป็นภรรยา มองในมุมที่ตัวเองเป็น พุทธศาสนิกชน เป็นต้น ดังนั้นการเก็บข้อมูลจากหลายฝ่ายประเด็นนี้เราต้องการเก็บข้อมูลจากใครในประเด็นใดเพื่ออะไรควรต้องจำแนกในใจของผู้วิจัยให้ชัดเจน
ประเด็น methodology แล้วเราจะทำการศึกษาอย่างไร จึงจะสอดคล้องกับความจริงข้างต้น การเริ่มจากการให้ผู้ตายได้พูด ความคิด ความรู้สึก ความตระหนักรู้ด้านร่างกายของตน(co-researchers)และผู้วิจัย(research) เป็นผู้จดบันทึกและตีความด้วยวิธีของ Phenomenology ได้แก่ เทคนิค bracketing ที่มี 3 ระดับ imaginative variations หรือ horizontalization นั้นนำมาใช้อย่างไร
เมื่อผู้วิจัยมีความเข้าใจอย่างชัดเจนและอธิบายได้ว่าความเป็น phenomenology อยู่ที่ใดก็คงเป็นสิ่งที่นักวิจัยได้ทำหน้าที่ในเชิงจรรยาบรรณของตัวเองแล้ว
วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553
phenomenological inquiry in Psychology
Existential-phenomenology in psychology
Phenomenology และ Existentialism ปรากฏเป็นรากฐานของการทำวิจัยที่เก็บข้อมูลจริง มิใช่เชิงปรัชญา ในสาขาจิตวิทยาประมาณกว่า 20 ปีมาแล้ว เริ่มมาจากการให้ความหมาย Phenomenological Psychology ว่า เป็นการศึกษารากฐาน(fundamental)ของปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา โดยใช้ความคิด ความเห็นของผู้เป็นเจ้าของปรากฏการณ์นั้น (1960) และให้ความหมายของ Existential-phenomenology in psychology ว่าเป็นการศึกษาที่ประยุกต์วิธีการของ Phenomenology ในการศึกษาเกี่ยวกับการมีอยู่ ชีวิต ของบุคคล
ความแตกต่างของวิธีการนี้จากวิธีการของนักปรัชญา คือมีการบ่งบอกข้อมูลและขั้นตอนของการวิเคราะห์ให้เห็นในเชิงประจักษ์ ซึ่งแนวปรัชญาไม่ทำ อันนี้ อจ.ก็พบเห็นในเรื่อง Sickness unto death
คำถามวิจัย
1. แก่น(ส่วนที่สำคัญและจำเป็น)ของการมีจิตวิญญาณองความเป็นครูคืออะไร
2. มีเงื่อนไขใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการที่ครูให้ความหมายของจิตวิญญาณครู
ขั้นตอน
1. กำหนดปรากฏการณ์ที่จะศึกษาและตั้งปัญหาและคำถามวิจัยในขั้นแรกผู้วิจัยอาจเก็บข้อมูลเพื่อตรวจสอบว่าจะมีข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์หรือไม่ โดยการคัดเลือกผู้ร่วมวิจัยแล้วลองถามคำถาม
1)ท่านรู้สึกอย่างไรเมื่อมีคนกล่าวว่าท่านมีจิตวิญญาณครู
2)คิดถึงสถานการณ์ที่ท่านรู้สึกว่าท่านมีจิตวิญญาณให้อธิบายสถานการณ์นั้นๆ
2 . รวบรวมข้อมูล ที่เป็นการพรรณนาของผู้ร่วมวิจัย(ตัวอย่าง) และจากประสบการณ์ของผู้วิจัย เช่นให้ผู้ร่วมวิจัยเขียนพรรณนาในประเด็นก่อน แล้วผู้วิจัยใช้การสนทนาเพื่อขยายความ
3. วิเคราะห์ข้อมูลและตีความในประเด็น โครงสร้าง ความหมาย ความเข้ากัน การเกาะกลุ่มกันในบริบทต่างๆ การวิเคราะห์ตอบคำถามต่อไปนี้
1)ข้อมูลนี้แสดงถึงการมีจิตวิญญาณในลักษณะใด
2)ตัวอย่างที่เห็นนี้เป็นปรากฏการณ์ทั่วไป และแก่นของข้อมูลคืออะไร
เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลก็ประกอบด้วย bracketing imaginary variation เป็นต้น
4. นำเสนอผลการวิจัยให้กับผู้ร่วมวิจัย และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ
ลองไปหาหนังสือ phenomenological inquiry in psychology
Edit by Ron Valleประมาณปี 1997
สำหรับหัวข้อวิจัยที่น่าสนใจมีดังนี้
1.เอกลักษณ์แห่งตนของนักศึกษาครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อน ระหว่างการและหลังการฝึกปฎิบัติการสอน
2. ความรู้สึกได้รับความรักอย่างไม่มีเงื่อนไขของเด็กที่ประสบความสำเร็จในการเลิกใช้ยาเสพติด
3. จิตวิญญาณของอาสาสมัครงานบำบัดยาเสพติดในชุมชน
4. การเพิ้่มพลังการทำงานในองค์กรการกุศล หรือองค์กรอื่นๆก็เป็นไปได้
Phenomenology และ Existentialism ปรากฏเป็นรากฐานของการทำวิจัยที่เก็บข้อมูลจริง มิใช่เชิงปรัชญา ในสาขาจิตวิทยาประมาณกว่า 20 ปีมาแล้ว เริ่มมาจากการให้ความหมาย Phenomenological Psychology ว่า เป็นการศึกษารากฐาน(fundamental)ของปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา โดยใช้ความคิด ความเห็นของผู้เป็นเจ้าของปรากฏการณ์นั้น (1960) และให้ความหมายของ Existential-phenomenology in psychology ว่าเป็นการศึกษาที่ประยุกต์วิธีการของ Phenomenology ในการศึกษาเกี่ยวกับการมีอยู่ ชีวิต ของบุคคล
ความแตกต่างของวิธีการนี้จากวิธีการของนักปรัชญา คือมีการบ่งบอกข้อมูลและขั้นตอนของการวิเคราะห์ให้เห็นในเชิงประจักษ์ ซึ่งแนวปรัชญาไม่ทำ อันนี้ อจ.ก็พบเห็นในเรื่อง Sickness unto death
คำถามวิจัย
1. แก่น(ส่วนที่สำคัญและจำเป็น)ของการมีจิตวิญญาณองความเป็นครูคืออะไร
2. มีเงื่อนไขใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการที่ครูให้ความหมายของจิตวิญญาณครู
ขั้นตอน
1. กำหนดปรากฏการณ์ที่จะศึกษาและตั้งปัญหาและคำถามวิจัยในขั้นแรกผู้วิจัยอาจเก็บข้อมูลเพื่อตรวจสอบว่าจะมีข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์หรือไม่ โดยการคัดเลือกผู้ร่วมวิจัยแล้วลองถามคำถาม
1)ท่านรู้สึกอย่างไรเมื่อมีคนกล่าวว่าท่านมีจิตวิญญาณครู
2)คิดถึงสถานการณ์ที่ท่านรู้สึกว่าท่านมีจิตวิญญาณให้อธิบายสถานการณ์นั้นๆ
2 . รวบรวมข้อมูล ที่เป็นการพรรณนาของผู้ร่วมวิจัย(ตัวอย่าง) และจากประสบการณ์ของผู้วิจัย เช่นให้ผู้ร่วมวิจัยเขียนพรรณนาในประเด็นก่อน แล้วผู้วิจัยใช้การสนทนาเพื่อขยายความ
3. วิเคราะห์ข้อมูลและตีความในประเด็น โครงสร้าง ความหมาย ความเข้ากัน การเกาะกลุ่มกันในบริบทต่างๆ การวิเคราะห์ตอบคำถามต่อไปนี้
1)ข้อมูลนี้แสดงถึงการมีจิตวิญญาณในลักษณะใด
2)ตัวอย่างที่เห็นนี้เป็นปรากฏการณ์ทั่วไป และแก่นของข้อมูลคืออะไร
เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลก็ประกอบด้วย bracketing imaginary variation เป็นต้น
4. นำเสนอผลการวิจัยให้กับผู้ร่วมวิจัย และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ
ลองไปหาหนังสือ phenomenological inquiry in psychology
Edit by Ron Valleประมาณปี 1997
สำหรับหัวข้อวิจัยที่น่าสนใจมีดังนี้
1.เอกลักษณ์แห่งตนของนักศึกษาครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อน ระหว่างการและหลังการฝึกปฎิบัติการสอน
2. ความรู้สึกได้รับความรักอย่างไม่มีเงื่อนไขของเด็กที่ประสบความสำเร็จในการเลิกใช้ยาเสพติด
3. จิตวิญญาณของอาสาสมัครงานบำบัดยาเสพติดในชุมชน
4. การเพิ้่มพลังการทำงานในองค์กรการกุศล หรือองค์กรอื่นๆก็เป็นไปได้
วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
sickness unto death
เป็นงานของ หนึ่งในนักปรัชญาผู้ก่อตั้งกลุ่ม Existentialism คือ Kierkegaard
เป็นคน เดนมาร์ค เรื่องนี้คงต้องอ่านหลายครั้ง แต่การอ่านรอบแรกนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อดูการเขียนงานการค้นพบความรู้ความจริง ที่พบว่ามีความลุ่มลึกในการตีความเป็นอย่างมากโดยใช้การเขียนในแนวของการพรรณนา ไม่เน้นแสดงวิธีการของการค้นหาความรู้ความจริง ซึ่งอ่านจากหนังสือเล่มอื่นก็ได้รับความกระจ่างว่า ความชัดเจนของวิธีวิทยาของปรัชญากลุ่มนี้มาปรากฏขึ้นในสมัยของ Heidegger
งานเขียนนี้กล่าวพรรณนาถึง ความตระหนัก และความรู้ตัว(conscious)
ของปรากฏการณ์ของล้มเหลวที่จะเป็นตัวตนของตัวเอง และความล้มเหลวนี้
ที่เปรียบเหมือน การป่วยใกล้ความตาย (sickness unto death) โดยแบ่งเป็น 2 บท
บทแรกเป็นการพรรณนา เกี่ยวกับ self ว่ามนุษย์เราต้องการบรรลุเป้าหมายของ self คือ เราเป็นอะไร เราสามารถเป็นอะไร และเราควรเป็นอะไร นี้ต้องสมดุล
ที่นี้ก็เป็นไปได้ว่ามันไม่สมดุล ซึ่งเป็นการป่วยของจิตวิญญาณ และของตัวตนของเรา เรียกว่าความสิ้นหวัง(despair)แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
แบบแรกเป็นแบบที่เรามิได้รู้ตัวว่าเราได้สิ้นหวัง แบบที่สองและแบบที่สามเป็นพวกที่พยายามที่จะหนีไปจากความเป็น self เพียงเพราะไม่ต้องการเผชิญกับ ความไม่รู้ความไม่แน่ใจ ความกังวล กล่าวคือ
แบบที่ 2 แบบที่ไม่ต้องการจะสิ้นความหวังกับการเป็น self แต่ไม่ทำอะไร
แบบที่ 3 ไม่พยายามจะคงความเป็น self แต่หลีกหนี ไปสู่ทางอื่น ที่ไม่เป็น selfอีกต่อไป
ทั้งหมดนี้ล้วนป่วยใกล้ตายทั้งสิ้น
บทที่ 2 กล่าวถึง การสิ้นหวังว่าเป็นบาปอันนี้อ่านยากเนื่องจาก มันเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาด้วย
สิ่งที่น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีคือวิธีการตั้งคำถามและตอบคำถามของการเขียนในแนวปรัชญ ที่แตกต่างจากการเขียนงานวิจัยที่เป็น empirical research
เป็นคน เดนมาร์ค เรื่องนี้คงต้องอ่านหลายครั้ง แต่การอ่านรอบแรกนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อดูการเขียนงานการค้นพบความรู้ความจริง ที่พบว่ามีความลุ่มลึกในการตีความเป็นอย่างมากโดยใช้การเขียนในแนวของการพรรณนา ไม่เน้นแสดงวิธีการของการค้นหาความรู้ความจริง ซึ่งอ่านจากหนังสือเล่มอื่นก็ได้รับความกระจ่างว่า ความชัดเจนของวิธีวิทยาของปรัชญากลุ่มนี้มาปรากฏขึ้นในสมัยของ Heidegger
งานเขียนนี้กล่าวพรรณนาถึง ความตระหนัก และความรู้ตัว(conscious)
ของปรากฏการณ์ของล้มเหลวที่จะเป็นตัวตนของตัวเอง และความล้มเหลวนี้
ที่เปรียบเหมือน การป่วยใกล้ความตาย (sickness unto death) โดยแบ่งเป็น 2 บท
บทแรกเป็นการพรรณนา เกี่ยวกับ self ว่ามนุษย์เราต้องการบรรลุเป้าหมายของ self คือ เราเป็นอะไร เราสามารถเป็นอะไร และเราควรเป็นอะไร นี้ต้องสมดุล
ที่นี้ก็เป็นไปได้ว่ามันไม่สมดุล ซึ่งเป็นการป่วยของจิตวิญญาณ และของตัวตนของเรา เรียกว่าความสิ้นหวัง(despair)แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
แบบแรกเป็นแบบที่เรามิได้รู้ตัวว่าเราได้สิ้นหวัง แบบที่สองและแบบที่สามเป็นพวกที่พยายามที่จะหนีไปจากความเป็น self เพียงเพราะไม่ต้องการเผชิญกับ ความไม่รู้ความไม่แน่ใจ ความกังวล กล่าวคือ
แบบที่ 2 แบบที่ไม่ต้องการจะสิ้นความหวังกับการเป็น self แต่ไม่ทำอะไร
แบบที่ 3 ไม่พยายามจะคงความเป็น self แต่หลีกหนี ไปสู่ทางอื่น ที่ไม่เป็น selfอีกต่อไป
ทั้งหมดนี้ล้วนป่วยใกล้ตายทั้งสิ้น
บทที่ 2 กล่าวถึง การสิ้นหวังว่าเป็นบาปอันนี้อ่านยากเนื่องจาก มันเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาด้วย
สิ่งที่น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีคือวิธีการตั้งคำถามและตอบคำถามของการเขียนในแนวปรัชญ ที่แตกต่างจากการเขียนงานวิจัยที่เป็น empirical research
วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
Fact, Truth, and Reality และ Phenomenology
Fact หมายถึง การระบุเกี่ยวกับสิ่งใดๆ ว่าเป็น สิ่งที่เห็นได้ ไม่ขึ้นกับความเชื่อหรือ การตีความใดๆ เช่น การที่พระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออกเป็น Fact เพราะสามารถเห็นได้ที่จุดต่างๆของโลก ส่วนมากเท่าที่เห็น fact จะเป็นการระบุเกี่ยวกับ สถานการณ์ สิ่งที่ ที่เป็นทางวิทยาศาสตร์ เช่นที่ให้ตัวอย่างข้างต้นเกี่ยวกับการขึ้นของพระอาทิตย์
Truth เดิมก็เป็นอิสระจากความเชื่อของคนเหมือนกัน แต่ปัจจุบันไม่ใช่ บางเรื่อง บางสถานการณ์ก็บอกได้ว่า เป็นความจริง(truth) ถ้ามี 2คนขึ้นไปเห็นตรงกันก็เป็นความจริงได้ คำว่า truth นี้เป็นคำสำคัญของ Phenomenology เพราะ มีคำอยู่ 2 คำที่อ่านเจอคือ คำแรก disquotational theory of truth และ two kinds of truth
Disquotational theory of truth เป็นวิธีการหาข้อสรุปว่าสิ่งใดเป็นจริงหรือเป็นเท็จ( true or false) ที่เริ่มจากการรับรู้ 3 ขั้น คือ state of affair simply, state of affair as proposed, state of affair as confirm ยกตัวอย่างเช่น
กรณีแรกในการที่เราไปสัมภาษณ์คนไข้ นาย ก เมื่อ วันที่ 20 พ.ค 2553 แล้วเค้าให้ความเห็นว่า "ความตายเป็นความสุข " อันนี้ขั้นแรกเรารับรู้เหมือนว่ามันเป็นอย่างนั้น ต่อมาเราเริ่มมีข้อสงสัยว่าอาจไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้ เพราะดู นาย ก ไม่น่าจะมีความสุข ดังนั้นเราอยู่ในขั้นที่ 2 คือ เรารับว่า ความตายเป็นความสุข ตามคำกล่าวของ นาย ก ( อันนี้เรียกว่า เป็นความจริง ตามคำกล่าวของนาย ก มีการ quotation)
ในวันต่อๆมา นายก บอกว่าความตายเป็นความทุกข์ จะเห็นว่า ขณะนี้ "ความตายคือความสุข" มิใช่ ความจริง ของทุกเวลาของนายก แต่เป็นความเห็น ในวันที่20 พ.ค ดังนั้น ในกรณีของ นาย ก เราไม่สามารถยืนยันได้ และเราไม่สามารถ disquotation ได้
กรณีที่ 2 อาจารย์ไก่สวมสร้อยเพชรมา แล้วบอกกุ้งว่า นี่เป็นเพชรแท้ ขั้นแรกกุ้งก็รับข้อมูลเป็นเห็นตามนั้น ต่อมากุ้งก็สงสัยว่า อาจไม่ใช่เพราะ อจ.ไม่น่าจะมีเงินมากขนาดชื้อสร้อยเพชรแท้แล้วใส่เดินไปมาประหนึ่งว่าเป็นของธรรมดา ดังนั้นขณะนี่อยู่ในขั้น 2 คือ ขั้นที่รับว่าสร้อยเป็นเพชรแท้ จากคำกล่าวของอจ.ไก่ อันนี้เรียกว่ามี quotation ต่อมาเราก็ได้มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมทางวิทยาศาสตร์เช่น เอาเครื่องมาตรวจ เอาไปชั่ง น้ำหนัก ก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นของแท้ อันนี้เรียกว่า confirm และ disquotation อันนี้ก็สรุปได้ว่า สร้อยข้อมือนี้เป็นเพชรแท้ นี้เป็นจริง(truth) อิๆๆ บอกแล้วไม่เชื่อ
คำต่อมาบอกว่า truth มี 2 แบบคือ truth of correctness และ truth of disclosure ในแบบแรกเราจะสามารถสรุปได้ว่า สิ่งใดเป็นจริงในแบบแรกทำโดยการทดลองและตรวจสอบว่า สิ่งนั้น คำกล่าวนั้นถูก หรือผิด( true or false) แบบแรกนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นการทดสอบเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นได้ จับต้องได้
ความจริงในแบบที่ 2 เป็น ความจริงจากสิ่งที่ปรากฏ เช่น เราเดินไปเห็นล้อรถยางติดดิน แล้วเราบอกว่ารถยางแบน และในแบบที่สองนี้เองที่อาจทำให้เราต้องหาวิธีการที่จะหาข้อสรุปว่าจริงหรือยากขึ้น
คำสุดท้าย Reality เป็นสภาวะของความเป็นจริง หรือเป็นสภาวะของการมีอยู่จริงหรือไม่ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สถานการณ์ใด สถานการณ์หนึ่ง การมีอยู่จริงนี้อาจจะโดยการเห็นด้วยประสาทสัมผัสหรือ การมีอยู่จริงในแง่ของการมีความหมายและมีความเข้าใจก็ได้ ใน Pheno การมีอยู่จริงอาจหมายถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนๆหนึ่ง และประสบการณ์นั้นก็เหมือนกับของคนอื่นๆ หรือ อาจเป็นประสบการณ์เฉพาะของตัวเขาคนเดียวที่บอกใครไม่ได้ ก็จัดเป็น reality ได้
Truth เดิมก็เป็นอิสระจากความเชื่อของคนเหมือนกัน แต่ปัจจุบันไม่ใช่ บางเรื่อง บางสถานการณ์ก็บอกได้ว่า เป็นความจริง(truth) ถ้ามี 2คนขึ้นไปเห็นตรงกันก็เป็นความจริงได้ คำว่า truth นี้เป็นคำสำคัญของ Phenomenology เพราะ มีคำอยู่ 2 คำที่อ่านเจอคือ คำแรก disquotational theory of truth และ two kinds of truth
Disquotational theory of truth เป็นวิธีการหาข้อสรุปว่าสิ่งใดเป็นจริงหรือเป็นเท็จ( true or false) ที่เริ่มจากการรับรู้ 3 ขั้น คือ state of affair simply, state of affair as proposed, state of affair as confirm ยกตัวอย่างเช่น
กรณีแรกในการที่เราไปสัมภาษณ์คนไข้ นาย ก เมื่อ วันที่ 20 พ.ค 2553 แล้วเค้าให้ความเห็นว่า "ความตายเป็นความสุข " อันนี้ขั้นแรกเรารับรู้เหมือนว่ามันเป็นอย่างนั้น ต่อมาเราเริ่มมีข้อสงสัยว่าอาจไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้ เพราะดู นาย ก ไม่น่าจะมีความสุข ดังนั้นเราอยู่ในขั้นที่ 2 คือ เรารับว่า ความตายเป็นความสุข ตามคำกล่าวของ นาย ก ( อันนี้เรียกว่า เป็นความจริง ตามคำกล่าวของนาย ก มีการ quotation)
ในวันต่อๆมา นายก บอกว่าความตายเป็นความทุกข์ จะเห็นว่า ขณะนี้ "ความตายคือความสุข" มิใช่ ความจริง ของทุกเวลาของนายก แต่เป็นความเห็น ในวันที่20 พ.ค ดังนั้น ในกรณีของ นาย ก เราไม่สามารถยืนยันได้ และเราไม่สามารถ disquotation ได้
กรณีที่ 2 อาจารย์ไก่สวมสร้อยเพชรมา แล้วบอกกุ้งว่า นี่เป็นเพชรแท้ ขั้นแรกกุ้งก็รับข้อมูลเป็นเห็นตามนั้น ต่อมากุ้งก็สงสัยว่า อาจไม่ใช่เพราะ อจ.ไม่น่าจะมีเงินมากขนาดชื้อสร้อยเพชรแท้แล้วใส่เดินไปมาประหนึ่งว่าเป็นของธรรมดา ดังนั้นขณะนี่อยู่ในขั้น 2 คือ ขั้นที่รับว่าสร้อยเป็นเพชรแท้ จากคำกล่าวของอจ.ไก่ อันนี้เรียกว่ามี quotation ต่อมาเราก็ได้มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมทางวิทยาศาสตร์เช่น เอาเครื่องมาตรวจ เอาไปชั่ง น้ำหนัก ก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นของแท้ อันนี้เรียกว่า confirm และ disquotation อันนี้ก็สรุปได้ว่า สร้อยข้อมือนี้เป็นเพชรแท้ นี้เป็นจริง(truth) อิๆๆ บอกแล้วไม่เชื่อ
คำต่อมาบอกว่า truth มี 2 แบบคือ truth of correctness และ truth of disclosure ในแบบแรกเราจะสามารถสรุปได้ว่า สิ่งใดเป็นจริงในแบบแรกทำโดยการทดลองและตรวจสอบว่า สิ่งนั้น คำกล่าวนั้นถูก หรือผิด( true or false) แบบแรกนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นการทดสอบเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นได้ จับต้องได้
ความจริงในแบบที่ 2 เป็น ความจริงจากสิ่งที่ปรากฏ เช่น เราเดินไปเห็นล้อรถยางติดดิน แล้วเราบอกว่ารถยางแบน และในแบบที่สองนี้เองที่อาจทำให้เราต้องหาวิธีการที่จะหาข้อสรุปว่าจริงหรือยากขึ้น
คำสุดท้าย Reality เป็นสภาวะของความเป็นจริง หรือเป็นสภาวะของการมีอยู่จริงหรือไม่ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สถานการณ์ใด สถานการณ์หนึ่ง การมีอยู่จริงนี้อาจจะโดยการเห็นด้วยประสาทสัมผัสหรือ การมีอยู่จริงในแง่ของการมีความหมายและมีความเข้าใจก็ได้ ใน Pheno การมีอยู่จริงอาจหมายถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนๆหนึ่ง และประสบการณ์นั้นก็เหมือนกับของคนอื่นๆ หรือ อาจเป็นประสบการณ์เฉพาะของตัวเขาคนเดียวที่บอกใครไม่ได้ ก็จัดเป็น reality ได้
วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
เลือกวิธีวิจัยระหว่าง Grounded theory, Phenomenology, Ethnography (ตอน 1)
เลือกวิธีวิจัยระหว่าง Grounded theory, Phenomenology, Ethnography (ตอน 1)
เรื่องก็มีอยู่ว่า หลังจากเราเลือกแล้วว่าคำถามวิจัยแบบนี้ ฉันจะใช้วิธีวิทยาอันนี้ แต่เมื่อไปเจอ ใครคนหนึ่งทักว่า ว่าน่าจะเป็นวิธีอื่นมากกว่านะ แล้วก็จะปกป้องตัวเองอย่างไร มันก็ต้องมาจากการคิดให้เป็นแล้วอธิบายให้ได้ วิธีการอธิบายคงมีหลายวิธี แต่วิธีหนึ่งคือความเข้าใจเกี่ยวกับ world view หรือวิธีคิดที่เป็นข้อตกลงในการสร้างความรู้ 3 ตัว ได้แก่ Ontology Epistemology และ Methodology
ตัวแรก Ontology หมายถึงเราต้องเข้าใจว่า ความจริง สิ่งที่ปรากฏจริง ความเป็นจริง (reality=actual existence) ของสิ่งที่เรากำลังจะทำการวิจัยนั้น 1) เป็นความเป็นจริง แบบไหนและ มีธรรมชาติเป็นอย่างไร และ 2) เราสามารถรู้อะไรบ้างในความเป็นจริงนั้น
ตัวอย่างที่ 1 เรากำลังทำวิจัยเกี่ยวกับ เด็กที่เป็นโรคอ้วน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ อธิบายว่า เขาสามารถลดพฤติกรรมการกิน และเพิ่มพฤติกรรมการออกกำลังการได้ เขามีกระบวนการอย่างไร
ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ontology ของงานวิจัยเรื่องนี้ ประเด็นแรก ถามว่า ความเป็นจริงในเรื่องนี้เป็นแบบไหน และเราสามารถรู้อะไรบ้างในความจริงนั้น พฤติกรรมนี้ กระบวนการนี้ นักวิจัย มองว่าอะไรบ้างที่เรารู้ และที่เราว่ารู้นั้นมันเป็นจริง(true) หรือ แค่คิดว่ามันว่ามันอาจเป็น นักวิจัยสามารถยืนยันความจริงนี้ได้หรือไม่
ในการศึกษาเรื่องนี้อะไรบ้างที่เราคิดว่าเรารู้และมีความรู้เกี่ยวกับมัน เกี่ยวกับโรคอ้วน เราบอกว่า มี น้ำหนัก ส่วนสูง มีพฤติกรรมการกิน พฤติกรรมการออกกำลังกาย มี กระบวนการทางจิตใจและสังคม ในการบรรลุเป้าหมาย มีความรู้ในเรื่องใดที่เป็นความจริง และความรู้เรื่องใดที่เป็นเรื่องที่อาจจะเป็น
ในความเห็นของอจ.คิดว่านักวิจัยต้องสร้างความเชื่อนี้ด้วยตัวเองก่อนการทำวิจัย ถ้าเราเชื่อว่าสิ่งที่เราศึกษา ความรู้ที่มีอยู่ เป็นความจริง “reality is a true state of affairs” คือเชื่อว่าสิ่งที่เรากำลังศึกษามีลักษณะที่เป็นจริง เราสามารถยืนยันได้ว่ามันมีจริงมิได้เกิดขึ้นชั่วขณะ ชั่วคราว ไม่ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ เช่น เราเชื่อว่า พฤติกรรมของคนเป็นจริง กระบวนการทางจิตใจ กระบวนการทางสังคม เป็นจริง
เอาละที่นี้มาวิเคราะห์กันต่อ ว่า แล้ว GT เค้าเชื่ออย่างไร อันนี้มีบทความที่อ้างว่า ผู้สร้าง GT สมัยแรกโดยเฉพาะ Glaser เชื่อว่า ความเป็นจริง นั้นเป็น “true state of affairs” คือสามารถยืนยันได้ ( เหมือนพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก นั้น true สามารถยืนยันได้ โดยการไปรอดูทางทิศตะวันออกของทุกเช้า ของทุกมุมของบ้าน เป็นต้น) ในขณะที่ Strauss & Corbin มีความเห็นว่า ความเป็นจริง นั่นอาจเปลี่ยนไปตามเวลาและสถานที่ ดังนั้นนักวิจัยที่จะใช้ GT อาจมีความเชื่อแบบใดแบบหนึ่งแล้วแต่ว่าจะเป็นแบบของ Glaser หรือ Strauss & Corbin ซึ่งในแบบหลังนี้ก็ใช้การวิเคราะห์ ที่เรียกว่า conditional matrix ในการยืนยันข้อสรุปของ GT คำถามของการวิจัย จึงต้องการระบุว่า มี อะไรที่ใช้ในการอธิบายได้บ้าง และการอธิบายเป็นอย่างไร
ในขณะที่ Phenomenology ตามแบบ ของ Heideggerian นั้นเป็นที่แน่นอนว่า มีความเชื่อว่า ความเป็นจริงเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษานั้น เป็น การตีความของบุคคลและขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ คำถามของการวิจัยจึงต้องการทำความเข้าใจว่าบุคคลมีการตีความประสบการณ์ของตนเองอย่างไร
สำหรับ Ethnography ก็น่าจะเป็นแบบเดี่ยวกับ Pheno คือ ความเป็นจริงนั้น เป็นการตีความของผู้วิจัย คำถามของการวิจัยจึงเป็นการถามว่า จากประสบการณ์ของการเข้าไปสังเกต นักวิจัยคิดว่า ความเชื่อ วัฒนธรรม สังคมมีผลต่อคนในสังคมอย่างไร
ตอนต่อไปจะเป็นการดูที่ epistemology และ methodology
เรื่องก็มีอยู่ว่า หลังจากเราเลือกแล้วว่าคำถามวิจัยแบบนี้ ฉันจะใช้วิธีวิทยาอันนี้ แต่เมื่อไปเจอ ใครคนหนึ่งทักว่า ว่าน่าจะเป็นวิธีอื่นมากกว่านะ แล้วก็จะปกป้องตัวเองอย่างไร มันก็ต้องมาจากการคิดให้เป็นแล้วอธิบายให้ได้ วิธีการอธิบายคงมีหลายวิธี แต่วิธีหนึ่งคือความเข้าใจเกี่ยวกับ world view หรือวิธีคิดที่เป็นข้อตกลงในการสร้างความรู้ 3 ตัว ได้แก่ Ontology Epistemology และ Methodology
ตัวแรก Ontology หมายถึงเราต้องเข้าใจว่า ความจริง สิ่งที่ปรากฏจริง ความเป็นจริง (reality=actual existence) ของสิ่งที่เรากำลังจะทำการวิจัยนั้น 1) เป็นความเป็นจริง แบบไหนและ มีธรรมชาติเป็นอย่างไร และ 2) เราสามารถรู้อะไรบ้างในความเป็นจริงนั้น
ตัวอย่างที่ 1 เรากำลังทำวิจัยเกี่ยวกับ เด็กที่เป็นโรคอ้วน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ อธิบายว่า เขาสามารถลดพฤติกรรมการกิน และเพิ่มพฤติกรรมการออกกำลังการได้ เขามีกระบวนการอย่างไร
ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ontology ของงานวิจัยเรื่องนี้ ประเด็นแรก ถามว่า ความเป็นจริงในเรื่องนี้เป็นแบบไหน และเราสามารถรู้อะไรบ้างในความจริงนั้น พฤติกรรมนี้ กระบวนการนี้ นักวิจัย มองว่าอะไรบ้างที่เรารู้ และที่เราว่ารู้นั้นมันเป็นจริง(true) หรือ แค่คิดว่ามันว่ามันอาจเป็น นักวิจัยสามารถยืนยันความจริงนี้ได้หรือไม่
ในการศึกษาเรื่องนี้อะไรบ้างที่เราคิดว่าเรารู้และมีความรู้เกี่ยวกับมัน เกี่ยวกับโรคอ้วน เราบอกว่า มี น้ำหนัก ส่วนสูง มีพฤติกรรมการกิน พฤติกรรมการออกกำลังกาย มี กระบวนการทางจิตใจและสังคม ในการบรรลุเป้าหมาย มีความรู้ในเรื่องใดที่เป็นความจริง และความรู้เรื่องใดที่เป็นเรื่องที่อาจจะเป็น
ในความเห็นของอจ.คิดว่านักวิจัยต้องสร้างความเชื่อนี้ด้วยตัวเองก่อนการทำวิจัย ถ้าเราเชื่อว่าสิ่งที่เราศึกษา ความรู้ที่มีอยู่ เป็นความจริง “reality is a true state of affairs” คือเชื่อว่าสิ่งที่เรากำลังศึกษามีลักษณะที่เป็นจริง เราสามารถยืนยันได้ว่ามันมีจริงมิได้เกิดขึ้นชั่วขณะ ชั่วคราว ไม่ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ เช่น เราเชื่อว่า พฤติกรรมของคนเป็นจริง กระบวนการทางจิตใจ กระบวนการทางสังคม เป็นจริง
เอาละที่นี้มาวิเคราะห์กันต่อ ว่า แล้ว GT เค้าเชื่ออย่างไร อันนี้มีบทความที่อ้างว่า ผู้สร้าง GT สมัยแรกโดยเฉพาะ Glaser เชื่อว่า ความเป็นจริง นั้นเป็น “true state of affairs” คือสามารถยืนยันได้ ( เหมือนพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก นั้น true สามารถยืนยันได้ โดยการไปรอดูทางทิศตะวันออกของทุกเช้า ของทุกมุมของบ้าน เป็นต้น) ในขณะที่ Strauss & Corbin มีความเห็นว่า ความเป็นจริง นั่นอาจเปลี่ยนไปตามเวลาและสถานที่ ดังนั้นนักวิจัยที่จะใช้ GT อาจมีความเชื่อแบบใดแบบหนึ่งแล้วแต่ว่าจะเป็นแบบของ Glaser หรือ Strauss & Corbin ซึ่งในแบบหลังนี้ก็ใช้การวิเคราะห์ ที่เรียกว่า conditional matrix ในการยืนยันข้อสรุปของ GT คำถามของการวิจัย จึงต้องการระบุว่า มี อะไรที่ใช้ในการอธิบายได้บ้าง และการอธิบายเป็นอย่างไร
ในขณะที่ Phenomenology ตามแบบ ของ Heideggerian นั้นเป็นที่แน่นอนว่า มีความเชื่อว่า ความเป็นจริงเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษานั้น เป็น การตีความของบุคคลและขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ คำถามของการวิจัยจึงต้องการทำความเข้าใจว่าบุคคลมีการตีความประสบการณ์ของตนเองอย่างไร
สำหรับ Ethnography ก็น่าจะเป็นแบบเดี่ยวกับ Pheno คือ ความเป็นจริงนั้น เป็นการตีความของผู้วิจัย คำถามของการวิจัยจึงเป็นการถามว่า จากประสบการณ์ของการเข้าไปสังเกต นักวิจัยคิดว่า ความเชื่อ วัฒนธรรม สังคมมีผลต่อคนในสังคมอย่างไร
ตอนต่อไปจะเป็นการดูที่ epistemology และ methodology
วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
สามเกลอใน phenomenology
ใน Pheno (เขียนย่อนะมันขี้เกียจ) เค้าว่าในการวิเคราะห์จะพบโครงสร้างของ ปรากฎการณ์ 3 แบบคือ( ไอ้สามแบบนี้ถ้าเราเข้าใจมันจะช่วยเข้าใจเวลาอ่านข้อมูล และในการสร้าง theme
1. แบบpart and whole (องค์รวมและส่วนประกอบ) หมายถึงโครงสร้างของปรากฎการณ์ที่ประกอบด้วย whole และ part คือน่าจะเรียกว่า องค์รวม และ ส่วนประกอบ ซึ่งในส่วนประกอบนี้ยังแบ่งเป็น piece and moment หรือ เป็น ส่วนประกอบที่เป็นอิสระ และ ส่วนประกอบที่ไม่เป็นอิสระ อุ้ย! อารายเนี่ย ดูตัวอย่างนะ เช่นถ้าเรา ดูต้นไม้ เป็นองค์รวม ต้นไม้ย่อมมีส่วนประกอบมากมาย หนึ่งในนั้นคือกิ่งไม้ จะเห็นว่ากิ่งไม้ เป็นส่วนประกอบที่เรียกว่า piece ที่สามารถแยกส่วนประกอบนี้ออกเป็นอิสระ ที่เมื่อแยกเป็นอิสระ แล้วก็เป็น ท่อนไม้ ไม่่ใช่สิ่งมีชีวิตอีกต่อไป แต่ก็เป็นส่วนที่มีอยู่ได้ด้วยตัวเอง และเป็นองค์รวมที่มีส่วนประกอบของมันเองและมิใช่ส่วนประกอบของต้นไม้อีกต่อไป
แต่ส่วนประกอบอีกตัวหนึ่งเรียกว่า moment เป็นส่วนประกอบที่ไม่สามารถแยกออกจากองค์รวมได้ ในตัวอย่างเดียวกันการเป็นไม้ยืนต้นไม่สามารถแยกออกจากต้นไม้ได้ หรือ ความทุ้มไม่สามารถแยกส่วนออกมาจากเสียงได้ ในการวิเคราะห์สิ่งใดสิ่งหนึ่งนักวิจัยต้องวิเคราะห์โดยตลอดว่าเรากำลังวิเคราะห์อะไร องค์รวมคืออะไร ส่วนประกอบที่เป็นอิสระ และส่วนประกอบที่ไม่เป็นอิสระคืออะไร ถ้าเราไม่คิดเช่นนี้ แล้วเราไปวิเคราะห์moment เหมือนเป็นส่วนที่เป็นอิสระ เราอาจวิเคราะห์ผิดพลาดไป ดังนั้นเวลาที่เราคิดหรือมองสิ่งใด ต้องคิดว่า มี องค์รววมอะไร ในนั้นมีองค์ประกอบอะไร ส่วนประกอบใดเป็น part ส่วนใดเป็น moment
ความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นคือเราพูดถึงส่วนประกอบ ส่วนเดียว โดยไม่พูดถึงส่วนประกอบอื่นๆขององค์รวม หรือเราแยก moment ออกมาเหมือนมันเป็นอิสระ
ตัวที่สองของสามเกลอ คือ identity in manifolds (เอกลักษณ์ในความหลากหลาย หรือ one in many) หมายความว่าในเหตุการณ์ หรือข้อเท็จจริงหนึ่ง มีความหลากหลายของมุมมอง ความเห็น เช่น เหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 2553 ณ ราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร เป็นเหตุการณ์เดี่ยวกัน แต่การเล่าของเสื้อแดง ทหาร รัฐบาล คนที่เห็น คนที่อยู่ในเหตุการณ์มีความแตกต่างกัน หรือ การที่เราพูดว่า ฉันรักเธอ ด้วยน้ำเสียงที่แตกต่างกัน ตะโกน กระซิบ ก็เป็นความหลากหลาย ภาพโมนาลิซาถูกตีความโดยหลายคนที่ไม่เหมือนกัน การวิเคราะห์ของ pheno เป็นการพรรณา ความหลากหลายของสิ่งเดียวกันจากการให้ความหมายของสิ่งนั้น ในการเก็บข้อมูลที่จะทำให้การวิเคราะห์มีความลุ่มลึก จึงต้องใส่ความหลากหลายมิติของสิ่งที่จะวิเคราะห์และความหลากหลายของผู้ให้ความหมาย
ตัวที่สามในเกลอ คือ the presence and the absence อันนี้น่าจะอธิบายได้ว่าให้การให้ความหมายกับประสบการณ์หนึ่งๆเราต้องตระหนักว่า มันมีลักษณะของการให้ความหมายในขณะที่เราเผชิญหน้าหรืออยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ( อันนี้เรียกว่า presence) และการให้ความหมายก่อนที่เราจะประสบเหตุการณ์ หรือ การให้ความหมายเมื่อเหตุการณ์นั้นได้ผ่านไปแล้ว(อันนี้เรยกว่า absence) ทั้งสามนี้มีความแตกต่างกัน และมีรายละเอียดอีกมากมาย
อย่างไรก็ตามบทสรุปก็คือนักวิจัยที่สนใจศึกษาปรากฎการณ์ต้องคำนึงถึงคำถามวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน 3 เรื่องนี้
1. แบบpart and whole (องค์รวมและส่วนประกอบ) หมายถึงโครงสร้างของปรากฎการณ์ที่ประกอบด้วย whole และ part คือน่าจะเรียกว่า องค์รวม และ ส่วนประกอบ ซึ่งในส่วนประกอบนี้ยังแบ่งเป็น piece and moment หรือ เป็น ส่วนประกอบที่เป็นอิสระ และ ส่วนประกอบที่ไม่เป็นอิสระ อุ้ย! อารายเนี่ย ดูตัวอย่างนะ เช่นถ้าเรา ดูต้นไม้ เป็นองค์รวม ต้นไม้ย่อมมีส่วนประกอบมากมาย หนึ่งในนั้นคือกิ่งไม้ จะเห็นว่ากิ่งไม้ เป็นส่วนประกอบที่เรียกว่า piece ที่สามารถแยกส่วนประกอบนี้ออกเป็นอิสระ ที่เมื่อแยกเป็นอิสระ แล้วก็เป็น ท่อนไม้ ไม่่ใช่สิ่งมีชีวิตอีกต่อไป แต่ก็เป็นส่วนที่มีอยู่ได้ด้วยตัวเอง และเป็นองค์รวมที่มีส่วนประกอบของมันเองและมิใช่ส่วนประกอบของต้นไม้อีกต่อไป
แต่ส่วนประกอบอีกตัวหนึ่งเรียกว่า moment เป็นส่วนประกอบที่ไม่สามารถแยกออกจากองค์รวมได้ ในตัวอย่างเดียวกันการเป็นไม้ยืนต้นไม่สามารถแยกออกจากต้นไม้ได้ หรือ ความทุ้มไม่สามารถแยกส่วนออกมาจากเสียงได้ ในการวิเคราะห์สิ่งใดสิ่งหนึ่งนักวิจัยต้องวิเคราะห์โดยตลอดว่าเรากำลังวิเคราะห์อะไร องค์รวมคืออะไร ส่วนประกอบที่เป็นอิสระ และส่วนประกอบที่ไม่เป็นอิสระคืออะไร ถ้าเราไม่คิดเช่นนี้ แล้วเราไปวิเคราะห์moment เหมือนเป็นส่วนที่เป็นอิสระ เราอาจวิเคราะห์ผิดพลาดไป ดังนั้นเวลาที่เราคิดหรือมองสิ่งใด ต้องคิดว่า มี องค์รววมอะไร ในนั้นมีองค์ประกอบอะไร ส่วนประกอบใดเป็น part ส่วนใดเป็น moment
ความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นคือเราพูดถึงส่วนประกอบ ส่วนเดียว โดยไม่พูดถึงส่วนประกอบอื่นๆขององค์รวม หรือเราแยก moment ออกมาเหมือนมันเป็นอิสระ
ตัวที่สองของสามเกลอ คือ identity in manifolds (เอกลักษณ์ในความหลากหลาย หรือ one in many) หมายความว่าในเหตุการณ์ หรือข้อเท็จจริงหนึ่ง มีความหลากหลายของมุมมอง ความเห็น เช่น เหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 2553 ณ ราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร เป็นเหตุการณ์เดี่ยวกัน แต่การเล่าของเสื้อแดง ทหาร รัฐบาล คนที่เห็น คนที่อยู่ในเหตุการณ์มีความแตกต่างกัน หรือ การที่เราพูดว่า ฉันรักเธอ ด้วยน้ำเสียงที่แตกต่างกัน ตะโกน กระซิบ ก็เป็นความหลากหลาย ภาพโมนาลิซาถูกตีความโดยหลายคนที่ไม่เหมือนกัน การวิเคราะห์ของ pheno เป็นการพรรณา ความหลากหลายของสิ่งเดียวกันจากการให้ความหมายของสิ่งนั้น ในการเก็บข้อมูลที่จะทำให้การวิเคราะห์มีความลุ่มลึก จึงต้องใส่ความหลากหลายมิติของสิ่งที่จะวิเคราะห์และความหลากหลายของผู้ให้ความหมาย
ตัวที่สามในเกลอ คือ the presence and the absence อันนี้น่าจะอธิบายได้ว่าให้การให้ความหมายกับประสบการณ์หนึ่งๆเราต้องตระหนักว่า มันมีลักษณะของการให้ความหมายในขณะที่เราเผชิญหน้าหรืออยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ( อันนี้เรียกว่า presence) และการให้ความหมายก่อนที่เราจะประสบเหตุการณ์ หรือ การให้ความหมายเมื่อเหตุการณ์นั้นได้ผ่านไปแล้ว(อันนี้เรยกว่า absence) ทั้งสามนี้มีความแตกต่างกัน และมีรายละเอียดอีกมากมาย
อย่างไรก็ตามบทสรุปก็คือนักวิจัยที่สนใจศึกษาปรากฎการณ์ต้องคำนึงถึงคำถามวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน 3 เรื่องนี้
สามเกลอใน grounded theory
ความแข็งแกร่งของ GT ขึ้นอยู่กับผู้ใช้มีความเข้าใจในเทคนิคต่อไปนี้คือ micro analysis คงจะใช้ว่าการวิเคราะห์เนื้อหาอย่างละเอียด เรื่องนี้ Corbin &Strauss ได้กล่าวไว้ว่า ก็อยู่ในเรื่องของการทำ open coding นั่นแหละ กล่าวคือขณะที่เราทำ การลงรหัส เราก็หยิบเอาข้อมูลมา 1 ท่อน(อันนี้เรียกเป็นท่อนๆดูเป็นไทยๆดี)แล้วเราต้องวิเคราะห์ความหมายของข้อมูลท่อนนั้นว่าใครพูด ที่เค้าพูดเค้าหมายถึงอะไร แล้วผู้วิจัยจึงหาคำมาแทนเนื้อหาที่กล่าวถึงในข้อมูลท่อนนั้น การทำ micro analysis ถ้าสามารถทำกันได้อย่างลึกซึ้งเท่าไร ก็เป็นผลดีต่อ การตีความผลของการวิจัยในภายหลัง ตัวต่อไปคือ constant comparison อันนี้หมายถึงการเปรียบเทียบเพื่อหาความคล้าย และความต่าง เทคนิคที่น่าจะใช้ตลอดในการวิเคราะห์ข้อมูลนับแต่ open ans axial coding เพราะนักวิจัยเมื่ออ่านข้อมูลแต่ละบรรทัด (line by line analysis) จะถามตัวเองว่าบรรทัดนี้ให้อะไร ที่แตกต่างจากบรรทัดที่ผ่านมาหรือไม่ หรือถามว่า การกำหนด รหัสนี้เหมือนหรือแตกต่างจาก รหัสที่กำหนดมาแล้วหรือไม่อย่างไร ถ้าผู้วิจัยใช้เทคนิคนี้ก็จะสามารถกำหนด Theme หรือ categories ได้ชัดเจนขึ้น ดังนั้นในระหว่างการวิเคราะห์ก็ต้องมีสมุดโน้ตไว้ข้างๆตัว ตัวที่สามในสามเกลอนี้คือ theoretical sampling ซึ่งหมายถึงการเลือกตัวอย่างจากข้อค้นพบ(ในGT) ซึ่งอันนี้แตกต่างจากการวิจัยแบบอื่นๆที่ผู้วิจัยกำหนดจำนวนตัวอย่างและลักษณะของตัวอย่างไว้ล่างหน้า แต่ใน GT เมื่อเริ่มวิเคราะห์ข้อมูลจะพบ theme แล้วผู้วิจัยก็จะตั้งคำถามว่า ถ้าจะมี ความชัดเจนมากขึ้นจะต้องไปเก็บข้อมูลกับใครต่อไป โดยทั้วไปนักวิจัยก็จะคิดว่าโอ้แม่เจ้าแล้วจะต้องเก็บข้อมูลกันใหม่เรื่อยๆหรืออย่างไร ก็มีความจริงอยู่ว่า การกลับไปวิเคราะห์ข้อมูลเดิมใหม่ก็เป็นส่วนหนึ่งของ เกลอตัวที่สามนี้ได้เหมือนกัลย์
สามเกลอนี้เป็นจุกแข็งของ GT ที่ผู้ใช้ ต้องฝึกฝนจนถึงขั้นที่ "สามารถชักกระบี่ออกมาอย่างรวดเร็วจนมองไม่ทัน เลยทีเดียว"
สามเกลอนี้เป็นจุกแข็งของ GT ที่ผู้ใช้ ต้องฝึกฝนจนถึงขั้นที่ "สามารถชักกระบี่ออกมาอย่างรวดเร็วจนมองไม่ทัน เลยทีเดียว"
วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยตามแนวทาง grounded theoryมีลักษณะที่เป็นทั้งlinear และnon linear คือเดินไปตามขั้น1,2,3และบางครั้งก็วกกลับมาที่ขั้น1ใหม่ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ขั้น 1 ลงระหัสเน้นเนื้อหาของข้อมูล(substantive coding หรือ open coding) อันนี้บางครั้งระหัสที่ให้มาการสิ่งที่ปรากฏในเนิ้อหา
ขั้น 2 ประกอบด้วยขั้นย่อย A,B,C ดังนี้
A: ทำการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูล กรณีตัวอย่าง การจัดประเภทเพื่อมองหาความคล้ายคลึงหรือความแตกต่าง (constant comparison:เปรียบเทียบความคงที่)
B: สุ่มตัวอย่างใหม่เพื่อการความครอบคลุมและลุ่มลึกของทบ
C: เขียนบันทึกเกี่ยวกับการเกิดของ ความหมายใหม่ สังกัปใหม่ โดยเชื่อมกับทบ.เดิม
ขั้น3 ประกอบด้วยขั้นย่อย A, B ดังนี้
A.เกิดสังกัปใหม่ที่เป็น สังกัปแก่น(axial code) และที่เป็น สังกัปของการอธิบายทบ.(Selective code)
B. ทำการลงระหัส เก็บข้อมูลเพิ่ม เปรียบเที่ยบความคงที่จนกระทั้งไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติมใหม่ๆ(theoretical saturation) ก็หยุด
ขั้น4 การวิเคราะห์เพื่อการสรุปทฤษฎี ที่ต้องเริ่มตั้งแต่การพรรณา จากรหัสพื้นฐาน รวมกลุ่มรหัส จัดประเภท เขียนคำนิยามสังกัปแก่น สร้างกรอบการอธิบาย เชื่อมต่อกับผลการวิจัยและทฤษฎีอื่นๆ เขียบบันทึกขยายความข้อค้นพบของทฤษฎี
การวิเคราะห์ใน 3 ขั้นแรกนี้จะย้อนกลับไปทำซ้ำในขั้นตอนก่อนหน้าได้
ขั้น 1 ลงระหัสเน้นเนื้อหาของข้อมูล(substantive coding หรือ open coding) อันนี้บางครั้งระหัสที่ให้มาการสิ่งที่ปรากฏในเนิ้อหา
ขั้น 2 ประกอบด้วยขั้นย่อย A,B,C ดังนี้
A: ทำการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูล กรณีตัวอย่าง การจัดประเภทเพื่อมองหาความคล้ายคลึงหรือความแตกต่าง (constant comparison:เปรียบเทียบความคงที่)
B: สุ่มตัวอย่างใหม่เพื่อการความครอบคลุมและลุ่มลึกของทบ
C: เขียนบันทึกเกี่ยวกับการเกิดของ ความหมายใหม่ สังกัปใหม่ โดยเชื่อมกับทบ.เดิม
ขั้น3 ประกอบด้วยขั้นย่อย A, B ดังนี้
A.เกิดสังกัปใหม่ที่เป็น สังกัปแก่น(axial code) และที่เป็น สังกัปของการอธิบายทบ.(Selective code)
B. ทำการลงระหัส เก็บข้อมูลเพิ่ม เปรียบเที่ยบความคงที่จนกระทั้งไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติมใหม่ๆ(theoretical saturation) ก็หยุด
ขั้น4 การวิเคราะห์เพื่อการสรุปทฤษฎี ที่ต้องเริ่มตั้งแต่การพรรณา จากรหัสพื้นฐาน รวมกลุ่มรหัส จัดประเภท เขียนคำนิยามสังกัปแก่น สร้างกรอบการอธิบาย เชื่อมต่อกับผลการวิจัยและทฤษฎีอื่นๆ เขียบบันทึกขยายความข้อค้นพบของทฤษฎี
การวิเคราะห์ใน 3 ขั้นแรกนี้จะย้อนกลับไปทำซ้ำในขั้นตอนก่อนหน้าได้
วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553
ประเภทของสาระความรู้(information)ที่ต้องการในการทำกรณีศึกษา
1.สาระความรู้เกี่ยวกับบริบทและที่มา(context and background) หมายถึง สาระความรู้ด้านประวัติความเป็นมา โครงสร้างและหน้าที่ทางสังคมของกรณีศึกษา สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของกรณีศึกษา เช่นในกรณีที่ศึกษานักการเมือง ก็ต้องการสาระความรู้เกี่ยวกับ บทบาทหน้าที่ในพรรคการเมือง วัฒนธรรมความเชื่อของพรรคการเมืองที่เป็นสมาชิก หัวหน้าพรรคการเมืองที่สังกัด ปรัชญาของพรรคการเมือง การเก็บข้อมูลทำได้จากการดูเอกสารของพรรค ร่วมกับเอกสารของหนังสือพิมพ์(อันนี้เป็นแหล่งข้อมูลภายนอก)เป็นต้น อันนี้เน้นให้เห็นการเก็บข้อมูลจากหลายแหล่งประกอบการตรวจสอบสามเส้า
2. สาระความรู้ด้านประชากร(demographic) หมายถึง สาระความรู้เกี่ยวกับกรณีศึกษาโดยตรง ด้านการศึกษา อายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ทั้งนี้ข้อมูลส่วนนี้จะช่วยอธิบายการรับรู้ การคิด เจตคติของกรณีศึกษาได้เหมือนกัน การเก็บข้อมูลโดยส่วนใหญ่เป็นการสัมภาษณ์กรณีศึกษาหรือการให้ตอบในแบบบันทึกข้อมูล
3. สาระความรู้ด้านการรับรู้(perceptual information) หมายถึง การรับรู้ของกรณีศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำถามการวิจัยของนักวิจัย ข้อมูลส่วนนี้นักวิจัยควรต้องตระหนักว่าการรับรู้ที่มักได้จากการไปสัมภาษณ์นั้นมิใช่ fact แต่เป็นการรับรู้ fact เป็นการรับรู้ที่ใช้กรอบของตัวกรณีศึกษาเองเป็นหลัก ไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกหรือผิด แต่เป็นการบอกเล่าของกรณีศึกษาในเรื่องราวที่เค้าเชื่อว่าเป็นจริง ดังนั้นการรวบรวมสาระด้านการรับรู้ นักวิจัยจึงต้องมีความลึกซึ้งของการสัมภาษณ์ที่ต้องครอบคลุม การพรรณนาประสบการณ์นั้น การที่ประสบการณ์นั้นมีผลต่อเขา ความรู้สึก การตัดสินใจ การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ
4. สาระความรู้ด้านทฤษฏี(theoretical information) หมายถึงสาระที่ได้จากการทบทวนทบ. งานวิจัยที่นำมาใช้เพื่อการกำหนดวิธีวิทยาของงานวิจัย การตั้งคำถามการวิจัย การตีความ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การสรุปผลการวิจัย
จาก completing your qualitative dissertation, Linda Dale Bloomberg, and Marie Volpe,(2008). sage pub.
1.สาระความรู้เกี่ยวกับบริบทและที่มา(context and background) หมายถึง สาระความรู้ด้านประวัติความเป็นมา โครงสร้างและหน้าที่ทางสังคมของกรณีศึกษา สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของกรณีศึกษา เช่นในกรณีที่ศึกษานักการเมือง ก็ต้องการสาระความรู้เกี่ยวกับ บทบาทหน้าที่ในพรรคการเมือง วัฒนธรรมความเชื่อของพรรคการเมืองที่เป็นสมาชิก หัวหน้าพรรคการเมืองที่สังกัด ปรัชญาของพรรคการเมือง การเก็บข้อมูลทำได้จากการดูเอกสารของพรรค ร่วมกับเอกสารของหนังสือพิมพ์(อันนี้เป็นแหล่งข้อมูลภายนอก)เป็นต้น อันนี้เน้นให้เห็นการเก็บข้อมูลจากหลายแหล่งประกอบการตรวจสอบสามเส้า
2. สาระความรู้ด้านประชากร(demographic) หมายถึง สาระความรู้เกี่ยวกับกรณีศึกษาโดยตรง ด้านการศึกษา อายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ทั้งนี้ข้อมูลส่วนนี้จะช่วยอธิบายการรับรู้ การคิด เจตคติของกรณีศึกษาได้เหมือนกัน การเก็บข้อมูลโดยส่วนใหญ่เป็นการสัมภาษณ์กรณีศึกษาหรือการให้ตอบในแบบบันทึกข้อมูล
3. สาระความรู้ด้านการรับรู้(perceptual information) หมายถึง การรับรู้ของกรณีศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำถามการวิจัยของนักวิจัย ข้อมูลส่วนนี้นักวิจัยควรต้องตระหนักว่าการรับรู้ที่มักได้จากการไปสัมภาษณ์นั้นมิใช่ fact แต่เป็นการรับรู้ fact เป็นการรับรู้ที่ใช้กรอบของตัวกรณีศึกษาเองเป็นหลัก ไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกหรือผิด แต่เป็นการบอกเล่าของกรณีศึกษาในเรื่องราวที่เค้าเชื่อว่าเป็นจริง ดังนั้นการรวบรวมสาระด้านการรับรู้ นักวิจัยจึงต้องมีความลึกซึ้งของการสัมภาษณ์ที่ต้องครอบคลุม การพรรณนาประสบการณ์นั้น การที่ประสบการณ์นั้นมีผลต่อเขา ความรู้สึก การตัดสินใจ การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ
4. สาระความรู้ด้านทฤษฏี(theoretical information) หมายถึงสาระที่ได้จากการทบทวนทบ. งานวิจัยที่นำมาใช้เพื่อการกำหนดวิธีวิทยาของงานวิจัย การตั้งคำถามการวิจัย การตีความ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การสรุปผลการวิจัย
จาก completing your qualitative dissertation, Linda Dale Bloomberg, and Marie Volpe,(2008). sage pub.
วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553
ความเที่ยงตรงในงานวิจัยเชิงคุณภาพ
เค้าว่ากันว่าในงานวิจัยเชิงคุณภาพความเที่ยงตรงมาจากการที่นักวิจัย การเลือกตัวอย่าง และการได้ข้อมูล อย่างเหมาะสม ความครอบคลุมและรายละเอียด ความตรงไปตรงมาไม่บิดเบือนในการวิเคราะห์ข้อมูล และการรายงานข้อค้นพบ ซึ่งทั้งหมดนี้มีความเที่ยงตรงที่เกี่ยวข้องกันอยู่ 5 ประการ
1. Witness validity ผู้อ่านที่เห็นข้อมูล วิธีวิจัยและข้อค้นพบของนักวิจัยแล้ว ผู้อ่านดังกล่าว มีความเห็น ความคิด ความรู้สึกที่คล้ายๆกันหรือไม่
2.Touchpoint validity ข้อค้นพบของเรามีการเชื่อมต่อกับทบ. หรืองานวิจัยอื่นหรือไม่ ในลักษณะที่ทำให้ชัดเจนขึ้น ดีขึ้น คือทำให้องค์ความรู้เดิมหนักแน่น ขยาย เชื่อม ปรับ แก้ไข แตกต่าง อย่างไร
3. Efficacy validity ข้อค้นพบมีประโยชน์ ในเชิงวิชาการหรือในทางปฎิบัติ
4. Resonnance validity ข้อมูลและข้อค้นพบเข้ากับความความรู้สึก ความคิดของผู้อ่านหรือไม่ เช่นเราในฐานะที่เป็นคนในกลุ่มนี้เช่นกันของยอมรับข้อมูลและข้อค้นพบนี้
5. Revisionary validity ข้อค้นพบทำให้ผู้อ่านได้ ปรับเปลี่ยน ความเข้าใจในทบ.ความรู้ หรือ เรื่องส่วนตัว บ้างหรือไม่ เมื่อได้อ่านงานวิจัยแล้วก็ทำให้เข้าใจวิธีคิดของชาวสีม่วง สีแดง สีเหลือง มากขึ้นว่าเราเคยมองเขาอย่างไรขณะนี้เรารู้แล้วว่าเราเข้าใจเขาแล้ว
ก็เป็นดังนี้ อาจไม่ชัดเจนในบางเรื่องขออภัย โปรดอ่านต่อได้ใน amazon ชื่อหนังสือ ๆqualitative research methods for psychologist บทนำคะ
เค้าว่ากันว่าในงานวิจัยเชิงคุณภาพความเที่ยงตรงมาจากการที่นักวิจัย การเลือกตัวอย่าง และการได้ข้อมูล อย่างเหมาะสม ความครอบคลุมและรายละเอียด ความตรงไปตรงมาไม่บิดเบือนในการวิเคราะห์ข้อมูล และการรายงานข้อค้นพบ ซึ่งทั้งหมดนี้มีความเที่ยงตรงที่เกี่ยวข้องกันอยู่ 5 ประการ
1. Witness validity ผู้อ่านที่เห็นข้อมูล วิธีวิจัยและข้อค้นพบของนักวิจัยแล้ว ผู้อ่านดังกล่าว มีความเห็น ความคิด ความรู้สึกที่คล้ายๆกันหรือไม่
2.Touchpoint validity ข้อค้นพบของเรามีการเชื่อมต่อกับทบ. หรืองานวิจัยอื่นหรือไม่ ในลักษณะที่ทำให้ชัดเจนขึ้น ดีขึ้น คือทำให้องค์ความรู้เดิมหนักแน่น ขยาย เชื่อม ปรับ แก้ไข แตกต่าง อย่างไร
3. Efficacy validity ข้อค้นพบมีประโยชน์ ในเชิงวิชาการหรือในทางปฎิบัติ
4. Resonnance validity ข้อมูลและข้อค้นพบเข้ากับความความรู้สึก ความคิดของผู้อ่านหรือไม่ เช่นเราในฐานะที่เป็นคนในกลุ่มนี้เช่นกันของยอมรับข้อมูลและข้อค้นพบนี้
5. Revisionary validity ข้อค้นพบทำให้ผู้อ่านได้ ปรับเปลี่ยน ความเข้าใจในทบ.ความรู้ หรือ เรื่องส่วนตัว บ้างหรือไม่ เมื่อได้อ่านงานวิจัยแล้วก็ทำให้เข้าใจวิธีคิดของชาวสีม่วง สีแดง สีเหลือง มากขึ้นว่าเราเคยมองเขาอย่างไรขณะนี้เรารู้แล้วว่าเราเข้าใจเขาแล้ว
ก็เป็นดังนี้ อาจไม่ชัดเจนในบางเรื่องขออภัย โปรดอ่านต่อได้ใน amazon ชื่อหนังสือ ๆqualitative research methods for psychologist บทนำคะ
วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553
วิธีประวัติชีวิต(life history approach)
ลักษณะของวิธีประวัติชีวิต
เป็นการเก็บข้อมูลประวัติชีวิต โดยการนึกย้อนหลังกลับไปในอดีตของผู้ให้ข้อมูล ลักษณะของข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลที่ให้ความสำคัญกับบริบททางสังคม ร่วมกับบุคคลมีผลต่อการทำพฤติกรรมต่างๆ อีกทั้งเป็นข้อมูลที่เป็นพลวัต มากกว่าเป็นข้อมูล ณ.จุดใดจุดหนึ่งของชีวิต การใช้วิธีการนี่น่าจะเหมาะสมกับการเก็บข้อมูลตามโครงสร้างของ จิตวิญญาณ ที่เป็นนิยามของงานวิจัยนี้ที่มีตัวบ่งชี้จิตวิญญาณหลายตัวและอาจเป็นสาเหตุ และผลซึ่งกันและกัน
บทบาทของผู้เก็บและผู้ให้ข้อมูล
ผู้เก็บข้อมูลและผู้ให้ข้อมูลร่วมมือในกระบวนการเก็บข้อมูลโดยผู้เก็บข้อมูลเป็นผู้สัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และการสัมภาษณ์เจาะลึกตามประเด็นที่กำหนดไว้ โดยผู้ให้ข้อมูลร่วมมือในการย้อนความจำ สร้างภาพของอดีตให้ชัดเจน จากการที่ผู้เก็บข้อมูลกระตุ้นให้คิดทบทวน สะท้อนความเห็น ความรู้สึก เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับตนเองในบริบทที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
ลักษณะของผู้ให้ข้อมูลที่เหมาะสม
เป็นผู้ใหญ่ในวัยทำงาน ที่มีประสบการณ์ในการทำงานที่มากพอที่ทำให้ข้อมูลมีความเข้มข้น กล่าวคือเครื่องมือนี้น่าจะใช้เป็นการเสริมเมื่อมีการเก็บข้อมูลเบื้องต้นแล้วสามารถระบุได้ว่าบุคคลนั้นมีระดับของประสบการณ์ทางจิตวิญญาณที่ชัดเจน
การสัมภาษณ์ประวัติชีวิต มี องค์ประกอบที่สำคัญคือ
1.แนวการสัมภาษณ์ เริ่มการสัมภาษณ์ตั้งแต่วัยเยาว์และสัมภาษณ์ตามลำดับอายุต้องสัมภาษณ์บริบทร่วมด้วย ใช้คำถามตาม(probing) ใช้คำถามปลายเปิด และพร้อมที่จะปรับและเพิ่มเติมคำถาม ตัวอย่าง
เล่าถึงครอบครัวของคุณให้ฟังหน่อยนะคะ ในช่วงคุณเป็นเด็กก่อนเข้าโรงเรียน เข้าเรียนประถม มัธยม ครอบครัวคุณเป็นอย่างไรบ้างคะ
Probe:ขยายความหน่อยได้ไหมคะ ให้ตัวอย่างในเรื่องนี้หน่อยได้ไหมคะ
ที่บ้านอยู่กับใครบ้าง เขาเป็นอย่างไรกันบ้าง
คุณมีแผนในอนาคตอย่างไร ความฝันของคุณเป็นอย่างไร
2.การกำหนดเวลาและสถานที่
การสัมภาษณ์ครั้งหนึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงนัดก่อนล่วงหน้า
ยืนยันเวลาและสถานที่ก่อนวันสัมภาษณ์ 1 วัน
การสัมภาษณ์เริ่มจากคำถามที่เป็นพื้นฐานและถ้ามีคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เป็นส่วนตัวมากๆให้เก็บไว้ถามเมื่อผู้ตอบรู้สึกคุ้นเคยกับผู้ถามมากขึ้น
จัดหาสถานที่และการเดินทางแก่ผู้ถูกสัมภาษณ์
3.การสร้างตารางแสดงผลจากการสัมภาษณ์
คอลัม: พ่อแม่ พี่น้อง ชุมชน โรงเรียน เพื่อน ศาสนา เป้าหมายของชีวิต ความเชื่อหลัก ความสัมพันธ์กับผู้อื่น/สิ่งแวดล้อม
แถว: ก่อนเข้าเรียน ระดับประถม ระดับมัธยม มหาวิทยาลัย
ผู้สัมภาษณ์ใช้ในการเตรียมข้อมูลและบันทึกข้อมูลสำหรับการสื่อสารกับผู้ถูกสัมภาษณ์ในแต่ละครั้ง
4.การวิเคราะห์และการให้คะแนนใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามตัวบ่งชี้ตามนิยาม
ลักษณะของวิธีประวัติชีวิต
เป็นการเก็บข้อมูลประวัติชีวิต โดยการนึกย้อนหลังกลับไปในอดีตของผู้ให้ข้อมูล ลักษณะของข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลที่ให้ความสำคัญกับบริบททางสังคม ร่วมกับบุคคลมีผลต่อการทำพฤติกรรมต่างๆ อีกทั้งเป็นข้อมูลที่เป็นพลวัต มากกว่าเป็นข้อมูล ณ.จุดใดจุดหนึ่งของชีวิต การใช้วิธีการนี่น่าจะเหมาะสมกับการเก็บข้อมูลตามโครงสร้างของ จิตวิญญาณ ที่เป็นนิยามของงานวิจัยนี้ที่มีตัวบ่งชี้จิตวิญญาณหลายตัวและอาจเป็นสาเหตุ และผลซึ่งกันและกัน
บทบาทของผู้เก็บและผู้ให้ข้อมูล
ผู้เก็บข้อมูลและผู้ให้ข้อมูลร่วมมือในกระบวนการเก็บข้อมูลโดยผู้เก็บข้อมูลเป็นผู้สัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และการสัมภาษณ์เจาะลึกตามประเด็นที่กำหนดไว้ โดยผู้ให้ข้อมูลร่วมมือในการย้อนความจำ สร้างภาพของอดีตให้ชัดเจน จากการที่ผู้เก็บข้อมูลกระตุ้นให้คิดทบทวน สะท้อนความเห็น ความรู้สึก เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับตนเองในบริบทที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
ลักษณะของผู้ให้ข้อมูลที่เหมาะสม
เป็นผู้ใหญ่ในวัยทำงาน ที่มีประสบการณ์ในการทำงานที่มากพอที่ทำให้ข้อมูลมีความเข้มข้น กล่าวคือเครื่องมือนี้น่าจะใช้เป็นการเสริมเมื่อมีการเก็บข้อมูลเบื้องต้นแล้วสามารถระบุได้ว่าบุคคลนั้นมีระดับของประสบการณ์ทางจิตวิญญาณที่ชัดเจน
การสัมภาษณ์ประวัติชีวิต มี องค์ประกอบที่สำคัญคือ
1.แนวการสัมภาษณ์ เริ่มการสัมภาษณ์ตั้งแต่วัยเยาว์และสัมภาษณ์ตามลำดับอายุต้องสัมภาษณ์บริบทร่วมด้วย ใช้คำถามตาม(probing) ใช้คำถามปลายเปิด และพร้อมที่จะปรับและเพิ่มเติมคำถาม ตัวอย่าง
เล่าถึงครอบครัวของคุณให้ฟังหน่อยนะคะ ในช่วงคุณเป็นเด็กก่อนเข้าโรงเรียน เข้าเรียนประถม มัธยม ครอบครัวคุณเป็นอย่างไรบ้างคะ
Probe:ขยายความหน่อยได้ไหมคะ ให้ตัวอย่างในเรื่องนี้หน่อยได้ไหมคะ
ที่บ้านอยู่กับใครบ้าง เขาเป็นอย่างไรกันบ้าง
คุณมีแผนในอนาคตอย่างไร ความฝันของคุณเป็นอย่างไร
2.การกำหนดเวลาและสถานที่
การสัมภาษณ์ครั้งหนึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงนัดก่อนล่วงหน้า
ยืนยันเวลาและสถานที่ก่อนวันสัมภาษณ์ 1 วัน
การสัมภาษณ์เริ่มจากคำถามที่เป็นพื้นฐานและถ้ามีคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เป็นส่วนตัวมากๆให้เก็บไว้ถามเมื่อผู้ตอบรู้สึกคุ้นเคยกับผู้ถามมากขึ้น
จัดหาสถานที่และการเดินทางแก่ผู้ถูกสัมภาษณ์
3.การสร้างตารางแสดงผลจากการสัมภาษณ์
คอลัม: พ่อแม่ พี่น้อง ชุมชน โรงเรียน เพื่อน ศาสนา เป้าหมายของชีวิต ความเชื่อหลัก ความสัมพันธ์กับผู้อื่น/สิ่งแวดล้อม
แถว: ก่อนเข้าเรียน ระดับประถม ระดับมัธยม มหาวิทยาลัย
ผู้สัมภาษณ์ใช้ในการเตรียมข้อมูลและบันทึกข้อมูลสำหรับการสื่อสารกับผู้ถูกสัมภาษณ์ในแต่ละครั้ง
4.การวิเคราะห์และการให้คะแนนใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามตัวบ่งชี้ตามนิยาม
critical incident technique
เทคนิคเหตุการณ์สำคัญ(critical incident technique)
ลักษณะของเทคนิค
เป็นเครื่องมือวิจัย(research method)ที่ พัฒนาขึ้นโดย Flanagen, John(1954)ใช้เพื่อระบุพฤติกรรมในสถานการณ์เจาะจงที่เป็นเหมือน เหตุการณ์สำคัญ(เข้าใจว่าเหตุการณ์สำคัญน่าจะหมายถึงพฤติกรรมในสถานการณ์หนึ่งๆ ที่มีผลหรือคาดว่าจะมีผลต่อเป้าหมายของกิจกรรมบางอย่าง) ผลจากการใช้เทคนิคจะทำให้ได้ข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ได้แก่ การคัดเลือกพนักงานที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของงาน
เทคนิคนี้มีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นคือ
1) กำหนดเป้าหมายและวางแผน ในขั้นตอนนี้ ต้องทำความเข้าใจกับกิจกรรมโดยกำหนดจุดประสงค์
เป้าหมายของกิจกรรม ระบุว่าบุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรมจะได้อะไร เกิดการเปลี่ยนแปลอะไรโดยการไปถามจากผู้ที่เกี่ยวข้อง หลายฝ่าย และตัดสินโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาเพื่อเลือกจุดประสงค์ที่ได้รับความเห็นชอบร่วม
2) กำหนดลักษณะเฉพาะสำหรับผู้สังเกตประกอบด้วยการกำหนดลักษณะและประเภทของสถานการณ์ ระบุสถานการณ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย ทำความเข้าใจกับผลของ incidentที่มีต่อเป้าหมาย และกำหนดคนที่จะทำการสังเกต
3)เก็บข้อ โดยมีการสังเกตหรือให้ตัวเองรายงานหรือบอกเล่าเกี่ยวกับincidentที่สุดขั้วที่เกิดขึ้นในอดีต โดยที่ Flanagen ระบุว่าการสังเกตเป็นวิธีการที่ควรใช้มากที่สุด อย่างไรก็ตามได้กล่าวว่าเมื่อมาสามารถทำได้ มีทางเลือกอื่นคือการสัมภาษณ์กลุ่มและเดี่ยว การใช้แบบสอบถาม การแบบบันทึก
4) วิเคราะห์ข้อมูล ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อจัดกลุ่มพฤติกรรม กำหนดcategories
5) ตีความและรายงานผล
หลักจากบทความวิจัยของ Flanagen วิธีการนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนไปหลายรูปแบบมากแต่ยังเป็นวิธีการที่นิยมใช้กับมากในทางการวิจัยสุขภาพ จิตวิทยาองค์กร พฤติกรรมศาสตร์
ลักษณะของเทคนิค
เป็นเครื่องมือวิจัย(research method)ที่ พัฒนาขึ้นโดย Flanagen, John(1954)ใช้เพื่อระบุพฤติกรรมในสถานการณ์เจาะจงที่เป็นเหมือน เหตุการณ์สำคัญ(เข้าใจว่าเหตุการณ์สำคัญน่าจะหมายถึงพฤติกรรมในสถานการณ์หนึ่งๆ ที่มีผลหรือคาดว่าจะมีผลต่อเป้าหมายของกิจกรรมบางอย่าง) ผลจากการใช้เทคนิคจะทำให้ได้ข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ได้แก่ การคัดเลือกพนักงานที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของงาน
เทคนิคนี้มีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นคือ
1) กำหนดเป้าหมายและวางแผน ในขั้นตอนนี้ ต้องทำความเข้าใจกับกิจกรรมโดยกำหนดจุดประสงค์
เป้าหมายของกิจกรรม ระบุว่าบุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรมจะได้อะไร เกิดการเปลี่ยนแปลอะไรโดยการไปถามจากผู้ที่เกี่ยวข้อง หลายฝ่าย และตัดสินโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาเพื่อเลือกจุดประสงค์ที่ได้รับความเห็นชอบร่วม
2) กำหนดลักษณะเฉพาะสำหรับผู้สังเกตประกอบด้วยการกำหนดลักษณะและประเภทของสถานการณ์ ระบุสถานการณ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย ทำความเข้าใจกับผลของ incidentที่มีต่อเป้าหมาย และกำหนดคนที่จะทำการสังเกต
3)เก็บข้อ โดยมีการสังเกตหรือให้ตัวเองรายงานหรือบอกเล่าเกี่ยวกับincidentที่สุดขั้วที่เกิดขึ้นในอดีต โดยที่ Flanagen ระบุว่าการสังเกตเป็นวิธีการที่ควรใช้มากที่สุด อย่างไรก็ตามได้กล่าวว่าเมื่อมาสามารถทำได้ มีทางเลือกอื่นคือการสัมภาษณ์กลุ่มและเดี่ยว การใช้แบบสอบถาม การแบบบันทึก
4) วิเคราะห์ข้อมูล ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อจัดกลุ่มพฤติกรรม กำหนดcategories
5) ตีความและรายงานผล
หลักจากบทความวิจัยของ Flanagen วิธีการนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนไปหลายรูปแบบมากแต่ยังเป็นวิธีการที่นิยมใช้กับมากในทางการวิจัยสุขภาพ จิตวิทยาองค์กร พฤติกรรมศาสตร์
วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553
ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
1)การลงระหัส(coding) จากเอกสารที่ถอดเทป ผู้วิจัยอ่านแล้ากำหนดส่วนของข้อมูลในเอกสารที่ผู้วิจัยเห็นว่าสำคัญ เรียกว่าหน่วยของการวิเตราะห์ อาจเป็น ประโยค ย่อหน้า แล้วนักวิจัยให้ระหัสกับหน่วยของการวิเคราะนั้นๆ
2)การจัดหมวดหมู่ระหัส (categorizing group)และ การลดความซ้ำซ้อน(reducing codes) เป็นการทบทวนระหัสเพื่อดูความเชื่อมโยงระหว่างระหัส และบางครั้งอาจรวมระหัสบางตัวเข้าด้วยกันได้
3)การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างหมวดหมู่(relationship and pattern among categories)
4)การตั้งหัวข้อ(theme and subtheme)
ผลสรุปของการวิเคราะห์จะมีความน่าไว้วางใจได้โดยการแสดงคุณลักษณะดังนี้
1. ความน่าเชื่อถือของข้อมูลมCredibility แสดงได้จากการอยู่ในพื้นที่อย่างยาวนานและสม่ำเสมอหรือมีคนสัมภาษณ์หลายครั้ง
2. ผลสรุปที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในมุมมองของผู้ริโภคงานวิจัย
3. มีการตรวจสอบร่องรอยของผลสรุปได้
4. ผลสรุปได้รับการยืนยันโดยผู้ร่วมวิจัยหรือตัวอย่าง
1)การลงระหัส(coding) จากเอกสารที่ถอดเทป ผู้วิจัยอ่านแล้ากำหนดส่วนของข้อมูลในเอกสารที่ผู้วิจัยเห็นว่าสำคัญ เรียกว่าหน่วยของการวิเตราะห์ อาจเป็น ประโยค ย่อหน้า แล้วนักวิจัยให้ระหัสกับหน่วยของการวิเคราะนั้นๆ
2)การจัดหมวดหมู่ระหัส (categorizing group)และ การลดความซ้ำซ้อน(reducing codes) เป็นการทบทวนระหัสเพื่อดูความเชื่อมโยงระหว่างระหัส และบางครั้งอาจรวมระหัสบางตัวเข้าด้วยกันได้
3)การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างหมวดหมู่(relationship and pattern among categories)
4)การตั้งหัวข้อ(theme and subtheme)
ผลสรุปของการวิเคราะห์จะมีความน่าไว้วางใจได้โดยการแสดงคุณลักษณะดังนี้
1. ความน่าเชื่อถือของข้อมูลมCredibility แสดงได้จากการอยู่ในพื้นที่อย่างยาวนานและสม่ำเสมอหรือมีคนสัมภาษณ์หลายครั้ง
2. ผลสรุปที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในมุมมองของผู้ริโภคงานวิจัย
3. มีการตรวจสอบร่องรอยของผลสรุปได้
4. ผลสรุปได้รับการยืนยันโดยผู้ร่วมวิจัยหรือตัวอย่าง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)