ความเที่ยงตรงในงานวิจัยเชิงคุณภาพ
เค้าว่ากันว่าในงานวิจัยเชิงคุณภาพความเที่ยงตรงมาจากการที่นักวิจัย การเลือกตัวอย่าง และการได้ข้อมูล อย่างเหมาะสม ความครอบคลุมและรายละเอียด ความตรงไปตรงมาไม่บิดเบือนในการวิเคราะห์ข้อมูล และการรายงานข้อค้นพบ ซึ่งทั้งหมดนี้มีความเที่ยงตรงที่เกี่ยวข้องกันอยู่ 5 ประการ
1. Witness validity ผู้อ่านที่เห็นข้อมูล วิธีวิจัยและข้อค้นพบของนักวิจัยแล้ว ผู้อ่านดังกล่าว มีความเห็น ความคิด ความรู้สึกที่คล้ายๆกันหรือไม่
2.Touchpoint validity ข้อค้นพบของเรามีการเชื่อมต่อกับทบ. หรืองานวิจัยอื่นหรือไม่ ในลักษณะที่ทำให้ชัดเจนขึ้น ดีขึ้น คือทำให้องค์ความรู้เดิมหนักแน่น ขยาย เชื่อม ปรับ แก้ไข แตกต่าง อย่างไร
3. Efficacy validity ข้อค้นพบมีประโยชน์ ในเชิงวิชาการหรือในทางปฎิบัติ
4. Resonnance validity ข้อมูลและข้อค้นพบเข้ากับความความรู้สึก ความคิดของผู้อ่านหรือไม่ เช่นเราในฐานะที่เป็นคนในกลุ่มนี้เช่นกันของยอมรับข้อมูลและข้อค้นพบนี้
5. Revisionary validity ข้อค้นพบทำให้ผู้อ่านได้ ปรับเปลี่ยน ความเข้าใจในทบ.ความรู้ หรือ เรื่องส่วนตัว บ้างหรือไม่ เมื่อได้อ่านงานวิจัยแล้วก็ทำให้เข้าใจวิธีคิดของชาวสีม่วง สีแดง สีเหลือง มากขึ้นว่าเราเคยมองเขาอย่างไรขณะนี้เรารู้แล้วว่าเราเข้าใจเขาแล้ว
ก็เป็นดังนี้ อาจไม่ชัดเจนในบางเรื่องขออภัย โปรดอ่านต่อได้ใน amazon ชื่อหนังสือ ๆqualitative research methods for psychologist บทนำคะ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ในลักษณะกะบาลความคิดของการวิจัยที่นักวิจัยมี ที่เกี่ยวกับ Ontology คือ มีความเข้าใจในความจริงแบบไหน ความจริงมีอยู่จรง ตรวจสอบได้กับความจริงที่อุปโลก ขึ้น ตามลักษณะของสังคม หรือ ความจริงที่เป็นวาทกรรม ดังนั้น ในลักษระอย่างหลังความจริง ก็สามารถสืบค้นได้ด้วยวิธีวิทยาการวิจัยในรูปแบบที่เหมาะสม ซึ่งทั้ง 3 วิธี ก็อาจจะได้คำตอบที่มีความคล้ายคลึงกัน ขึ้นอยู่กับข้อมูลและการเน้นหนักของการวิเคราะห์ ว่าจะให้เป็นอย่างไร เช่น คำถามของ GT จะเน้นตอบ why แต่ pheno เน้น how แต่ประเด็นการศึกษาก็คาบเกี่ยวกับประสบการร์แบบเดียวกันใช่ไมหครับ
ตอบลบเพิ่งเห็นความเห็นนี้ ก่อนตอบต้องตั้งข้อสันนิฐานก่อน เนื่องจากความเห็นมาอยู่ใต้ บทความ validity แต่ความเห็นเป็นเรื่องของ GT Ethno Pheno ดังนั้นจึงตอบเฉพาะส่วนที่สองนะคะ
ตอบลบความเห็นของ อจ.ก็เห็นด้วยกับที่พูดมาเพราะทั้งหมดนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดังนั้นในเรื่องของ ontology จึงมีจุดที่ร่วมกันว่าเป็นความรู้ความจริงที่มิได้จับต้อง สังเกตเห็นได้ แต่ความต่างของทั้งหมดน่าจะอยู่ที GT มีความเป็น postivist มากกว่าอีก 2 วิธี เพราะยังเชื่อว่าความรู้ความจริงนี้สามารถพิสูจน์ความเป็นสาเหตุไง นักวิชาการบางท่านได้วิจารณ์ว่า GT เป็น postpostivism นอกจากนี้ความต่างจะอยู่ที่ epistemology นั้นคือ ใครเป็นเจ้าของหรือผู้ที่มีความรู้ความจริง อันนี้ชักยาวขอยกไปไว้ในบทความใหม่นะคะ ขอบคุณที่ถาม
thx you
ตอบลบgclub / จีคลับ