วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556

critical theory กับ งานวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์

Critical theory กับงานวิจัยเชิงพฤติกรรมศาสตร์

                  ทฤษฎีทั่วไปกับ ทฤษฎีวิพากษ์ (critical theory)อันดับแรกคงต้องทบทวนความหมายโดยทั่งไปของทฤษฎี ที่หมายถึง การอธิบายปรากฎการณ์ด้วยชุดของตัวแปรหรือความสัมพันธ์ของตัวแปร(ในใจของเราคงนึกถึง ทบ ต้นไม้จริยธรรม) แล้วใครเป็นคนสร้าง ทบ. ก็เป็นนักวิชาการหรือผู้รู้ แต่ critical theory นั้น ทุกคนเป็นผู้สร้างทฤษฎีเป็นได้ทุกคน “All Man Are Intellectual” นึกถึงตัวเรา ที่เราตีความ ทำนาย อธิบาย อยู่ทุกวัน เราสร้างทฤษฎี ล้มเลิก ปรับ และสร้างใหม่ ในชีวิตของเรา
                  ความหมายของ criticality ในคำ critical theory หมายถึงการที่เรา ท้าทาย ขัดแย้ง เห็นต่าง มองมุมต่าง จากสิ่งที่เคยเชื่อหรือกำกับการกระทำของเรา หรืออาจหมายถึง กระบวนการที่เราตระหนักว่า เราเคยยอมรับ ปฎิบัติ อย่างยินยอมโดยไม่คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับอิทธิพลของ คตินิยมที่กำกับอยู่ เช่นในบริษัทเราอาจทำงานหนัก ภายใต้ความเชื่อเพื่อกำไรของผู้ถือหุ้น แต่ไม่เคยถกเถียง ว่าจริงๆแล้วเราควรให้ความสำคัญกับ การร่วมมืออย่างเสอมภาคของคนในที่ทำงาน และผู้ทำงาน ควรมีอำนาจในการควบคุมมากกว่า ที่ทุกคนอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ถือหุ้น เป็นต้น การอ่าน critical theory ในประเด็นต่างๆ จึงเปลี่ยนมุมมองของผู้อ่าน และอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการกระทำในอนาคต
                   Critical theory ต่างจาก ทฤษฎีอื่นอย่างไร มีการวิเคราะห์ไว้ว่าแตกต่างใน 5 ประการคือ (1)ใน critical theory จะมีการวิเคราะห์ทางการเมือง เช่น การที่คนเราแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของตน ในลักษณะฉันให้สิ่งนี้ เธอให้สิ่งนั้นเป็นการตอบแทน เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกัน ที่เรียกว่าคุณค่าจากการแลกเปลี่ยน ที่ถูกให้ความสำคัญ มากกว่าคุณค่าจากประโยชน์การนำไปใช้ ทฤษฎีจะวิเคราะห์ให้เห็นว่าในสังคมแบบหนึ่งๆนั้น การสร้างความสัมพันธ์นั้นเกิดมาจากอะไร นอกจากนี้ (2) critical theory จะเกี่ยวข้องกับการให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อให้คนปลดปล่อยจากภาวะการบีบบังคับ (oppression) ปลดปล่อยให้เกิดเสรีภาพ เกิดความรู้ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมิใช่เพียงแค่รู้ สร้างความรู้ที่มีความเที่ยงตรงในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า consequential validity( ใครได้ประโยชน์ ใครเสียหาย จากการวิจัย) (3) critical theory มิได้แยกวัตถุออกจากจิตใจ แต่ผสานไว้ด้วยกัน เช่น ในการวิจัยเกี่ยวกับคนงานในระบบทุนนิยม( capitalism) ผู้ถูกศึกษา จะสะท้อนความตระหนักรู้ ที่ถูกต้องของตน และความปรารถนา ที่จะมีชีวิตการทำงานที่ดีขึ้นกว่าเดิม ประการที่ (4) critical theory เป็นการผสานระหว่าง สังคมศาสตร์กับปรัชญาแนวปฏิบัตินิยม หรือการแสวงหาความรู้ความจริง ที่นำไปสู่สังคมที่ดีขึ้น สังคมในความฝัน สังคมที่ควรเป็น(utopian) ประการที่(5) การ verify(การระบุว่า ทบ. เป็นจริง หรือ เท็จ) ทฤษฎีเป็นสิ่งที่ทำได้ยากต้องรอจนกว่า สิ่งที่คาดหวังใน critical theory เกิดขึ้นจริงในสังคม
                 นักทฤษฎี critical theorists ต้องทำอะไรบ้าง งานที่นักทฤษฎีต้องทำประกอบด้วย การท้าทายคตินิยม การต่อต้านการยอมรับความอยุติธรรม การเปิดเผยอำนาจและอิทธิพล การก้าวข้ามความแปลกแยก การเกิดเสรีภาพของการเรียนรู้ และการมีประชาธิปไตย
โดยที่กล่าวมานี้เป็นการวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการศึกษา การเมืองการปกครอง การให้การรักษาพยาบาล การจัดการองค์กร ซึ่งเป็นประเด็นที่นักวิจัยสนใจจะทำวิจัยตามแนว critical theory ได้ทั้งสิ้น
                 นักวิจัยเชิงพฤติกรรมศาสตร์อาจทำวิจัยตามแนว critical theory ได้ในหลายประเด็น เช่น ครอบครัวกับการเปลี่ยนแปลงสู่ความทันสมัย การสื่อสารในครอบครัวและการให้คำปรึกษา รูปแบบโครงสร้างของครอบครัว
หรือ การจัดการศึกษาเพื่อคนชายขอบ การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย การจัดการศึกษาเพื่อพหุวัฒนธรรม
                   ตอนต่อไป อาจเป็น วิธิวิทยาสำหรับ critical theory