วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มาตรฐานการเขียนบทความ

นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก ต้องเขียนบทความทางวิชาการ และบทความวิจัยลงตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่มีมาตรฐานในระดับต่างๆ เช่นระดับประเทศ ระดับนานาชาติจากถ้าใครเคยอ่านบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้ง 2 ระดับจะเห็นว่า วารสารแต่ละฉบับจะกำหนดการจัดเตรียมต้นฉบับ กำหนดรูปแบบของการเขียน หัวข้อที่ต้องเขียน ผู้เขียนต้องรู้ว่าในแต่ละหัวข้อที่ต้องเขียนนั้น ควรเขียนอะไรบ้าง
สมาคมทางวิชาการด้านจิตวิทยา และการศึกษา ได้จัดตั้งกลุ่มทำงานเพื่อกำหนดมาตรฐานการเขียนที่ควรแก่การเรียนรู้และนำไปปฏิบัติ ดังนี้
ที่มาของปัญหาการวิจัย ในวารสารบางที่เรียกชื่อต่างกัน เช่นบทนำ ภูมิหลัง บางวารสารก็ไม่กำหนดชื่อ แต่เป็นส่วนแรกของบทความ ในหัวข้อนี้ส่วนสำคัญคือ ระบุปัญหาที่จะวิจัย หรือประเด็นที่กำลังทำวิจัยในบริบทของปัญหานั้น และความสำคัญที่เราต้องทำวิจัยทั้งในเชิงทบ และการปฏิบัติ เขียนให้ชัดเจนว่าไปต่อความรู้เดิมอย่างไรโดยการเชื่อมโยงงานของเรากับงานวิจัยที่มีความอยู่ หรือระบุว่างานวิจัยจะทำให้เกิดผลดีอย่างไร จะไปช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร และผู้วิจัยจะใช้วิธีการอย่างไรในการตอบโจทย์วิจัย
นักเขียนมือใหม่ มักเขียนหัวข้อนี้โดยขาดการเชื่อมโยงปัญหาการวิจัยกับองค์ความรู้เดิม
วิธีวิจัย ในวารสารอาจเรียกว่า วิธีวิทยา วิธีวิจัย ในหัวข้อนี้ส่วนสำคัญคือ 1) ลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนในการเลือกหน่วยตัวอย่าง เกณฑ์การเลือกเข้า หรือการคัดออก จำนวนหน่วยตัวอย่าง หลักฐานแสดงการยินยอมของผู้ให้ข้อมูล ในงายวิจัยที่ต้องการเปรียบเทียบกลุ่ม ต้องเขียนให้ชัดเจนว่ากลุ่มที่จะเปรียบเทียบมีจำนวนเท่าไร มีลักษณะเช่นใด 2) การรวบรวมข้อมูล เขียนให้ชัดเจนถึงประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเช่น แบบสอบถาม แบบทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ รวมทั้งคุณภาพของเครื่องมือ ช่วงเวลาที่ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล 3) การวัดตัวแปร ในงานวิจัยที่มีตัวแปรเชิงปริมาณ
นักวิจัยมือใหม่ ไม่แยกระหว่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ไม่ระบุรายละเอียดของการได้กลุ่มตัวอย่างหรือผู้ร่วมวิจัย ไม่ระบุจำนวนและลักษณะเฉพาะที่สำคัญของกลุ่ม ไม่อธิบายว่าเครื่องมือเป็น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ในประเด็นใด และมีการตรวจสอบคุณภาพหรือไม่ พบผลเป็นอย่างไร ในกรณีที่มีการวัดตตัวแปรต้องมีการกำหนดนิยามและการวัดตัวแปรด้วย
ผลการวิจัย ในวารสารส่วนมากตั้งชื่อว่า ผลการวิจัยประกอบด้วย การระบุเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของจำนวนตัวอย่าง และลักษณะเฉพาะของตัวอย่างในการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ โดยต้องระบุเกี่ยวกับข้อมูลที่สูญหาย และการจัดการกับข้อมูลที่สูญหาย การกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติก่อนการเก็บข้อมูล ค่าสถิติที่สำคัญของการวิเคราะห์นั้นๆ เช่น ค่าสถิติเชิงพรรณณา และสถิติอ้างอิง ขนาดอิทธิพล การค้นพบที่ทำให้มีผลต่อการตีความค่าสถิติ ได้แก่ ผลการตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้นทางสถิติ เป็นต้น ถ้าผลการวิจัยมีความเชื่อมโยงและซับซ้อนต้องสรุปสรุปผลการวิจัยในภาพรวมด้วย
สำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพ ต้องกล่าวถึงขั้นตอนที่ใช้ในการสร้างข้อค้นพบ พร้อมหลักฐานที่สนับสนุนข้อค้นพบ กล่าวถึงความพยายามที่จะค้นหา ข้อค้นพบอื่นๆ การให้หลักฐานสนับสนุน อธิบาย ยืนยันข้อค้นพบ
การอภิปรายผล ประกอบด้วย1) การให้เหตุผลถึงสมมติฐานที่ได้รับการสนับสนุน และไม่ได้รับการสนับสนุน การกล่าวถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างงานนี้กับงานของผู้อื่น 2) การตีความผล เป็นการเชื่อมโยงผลจากการวิจัยไปสู่ ทบ. โดยคำนึงถึง ความเที่ยงตรงภายในที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการวิจัย 3)การอ้างอิงสู่กลุ่มประชากร โดยคำนึงถึง ประชากรที่เป็นเป้าหมาย และบริบทของการวิจัย 4) ข้อเสนอแนะในการทำวิจัย การนำไปปฏิบัติ เป็นต้น