วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Grounded theory-Ethno-Pheno ตอน 2

ตอนที่ 1 ของเรื่องนี้ได้กล่าวถึง ontology ของวิธีวิทยาทั้งสามวิธีไปแล้ว กล่าวสรุปได้ว่า เมื่อนักวิจัยคิดถึงคำถามการวิจัยของตัวเอง แล้วตอบได้ว่า สิ่งที่กำลังจะศึกษาเป็นความเป็นจริง(reality)ในแบบใด เป็นแบบถูก-ผิด เป็นแบบที่เป็นจริงในบริบทหนึ่งๆหรือ เป็นแบบที่เกิดจากการตีความของคนที่เป็นเจ้าของความเป็นจริงในเรื่องนั้น
ดังนั้นในแง่ของ ontology งานที่ศึกษาโดย GT จะมีความเป็น positivism มากกว่าอีก 2 วิธี คือเหมาะสำหรับการวิจัยที่ต้องการแสวงหาความจริง(truth) ต้องการจะสร้างคำอธิบายให้กับความจริงนั้น ในขณะที่ ethnography ก็เป็นการเข้าใจปรากฏการณ์ ในขณะที่ Phenomenology พรรณนาสิ่งที่เป็นแก่นของประสบการณ์ โดย ที่ความเป็นจริงในความเชื่อของ Phenomenology นี้ ต่างจากความเป็นจริงของ GT มากที่สุด ทีนี้ก็ต้องมาถามว่าผู้วิจัยตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อกลุ่มใด

ในบทความตอน 2 จะกล่าวถึง epistemology ซึ่งหมายถึง ตัวความรู้(knowledge) ผู้ที่เป็นเจ้าของความรู้ และความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับความรู้ เนื่องจากบทความนี้เขียนมาจาก การถกเถียงที่ไม่เข้าใจตรงกันของผู้นิยม ethnology กับผู้นิยม GT ดังนั้นจึงต้องกล่าวถึงนิยามของ ethnography สักเล็กน้อยเนื่องจากอาจมีความเข้าใจไม่ตรงกัน การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา(ไม่รู้ว่าสะกดถูกไหม) เดิม คำ ethnography แปลว่า งานเขียนพรรณนาที่เกี่ยวกับวิถีชีวิของกลุ่มคน ในงานที่เป็น classic ของ ethnography มักถูกวิจารณ์เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของงานเสมอ และไม่จนกระทั่งเกือบต้น ค.ศ.ที่ 20 ที่มีการบัญญัติ รูปแบบของการวิจัยแบบนี้ที่ร่วมสมัยคือเป็นวิธีวิทยาที่มีปรัชญาและระเบียบวิธีของตนเอง ethnography research ตอบคำถามเกี่ยวกับ สังคมหนึ่ง รวบรวมข้อมูลที่ไม่กำหนดโครงสร้างไว้ล่วงหน้า ใช้กลุ่มตัวอย่างเล็กและ ตีความจากพฤติกรรมของคน การรวบรวมข้อมูลใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ในเวลาขั้นต่ำประมาณ 6 เดือนสำหรับการใช้ ethnography research ในสาขาจิตวิทยา( แต่สาขามานุษยวิทยาใช้เวลาเป็นปี) ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัย และผู้ให้ข้อมูลหลักมีลักษณะที่สรุปได้ว่า ต้อง polite not friendship , ต้องcompassion not sympathy, ต้อง respect no belief , ต้อง understand not identification , ต้อง admiring not love นักวิชาการในยุคclassicอาจกล่าวถึง ethnography เป็นวิธีการลงชุมชน ประเภทของ Ethnography life history, memoir, narrative ethnography, auto ethno, fiction, applied ethno, ethno decision modeling

การเลือกหัวข้อวิจัยที่เหมาะกับ ethnography ผู้วิจัยต้องตอบให้ได้ว่า อะไรเป็นแรงจูงใจให้ทำเรื่องนี้ ทำไมต้องเป็นสถานที่แห่งนี้ ชุมชนแห่งนี้ ทำไมต้องเป็นกลุ่มนี้ ข้อมูลที่เก็บ ประกอบด้วย สาระเกี่ยวกับวัฒนธรรมทั้งที่เป็น ความคิด คุณค่า พฤติกรรม
ในแง่ของ epistemology นั้น นักวิจัยต้องคิดว่าความรู้(knowledge)ในเรื่องนี้เป็นอะไร เป็นความเห็นความเชื่อของคนและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกับคนอื่น การทำงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ หรืออะไรอื่น แล้วเราจะรู้เรื่องนี้ได้อย่างไร GT ใช้อภิทฤษฏี หลักคือ symbolic interactonismขณะที Ethnographyใช้ symbolic interactionism ได้เช่นเดียวกับ และ Phenomenology ใช้ปรัชญาของด้านPhenomenology เป็นหลัก

ในการเลือกระหว่าง 3 วิธีนี้ความแตกต่างอยู่ที่ ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับ ผู้ที่มีความรู้ เช่นกรณีนี้ นักวิจัยต้องหาความจริงจากคนที่อยู่ในกลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลหลัก เช่น ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการใช้แนวคิดการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน หรือ การท่องเที่ยวบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง ผู้วิจัยมีระดับของความเป็นคนใน หรือนอก มากน้อยเพียงใด ใน ethnography นักวิจัยต้องเป็นส่วนร่วมในกระบวนการทางสังคมของกลุ่มชนที่ต้องการเก็บข้อมูล ในPhenomenology ผู้วิจัย ยิ่งต้องเป็นผู้เป็นเจ้าของประสบการณ์( First person experience )แต่ใน GT มี2แนว แนวดั่งเดิม Glaser เน้นให้นักวิจัยเป็นอิสระจากความรู้ความจริงขณะที่ในยุคต่อมา Strauss ให้ผู้วิจัยตีความจากประสบการณ์
ดังนั้นผู้วิจัยต้องแสดงจุดยืนว่าความรู้ในการวิจัยนั้นคืออะไร และนักวิจัยจะมีระดับความสัมพันธ์กับสิ่งนั้นมากน้อยแค่ใด

ในแง่ของ methodology จะเห็นว่าใน GTใช้ข้อมูลจาก การสัมภาษณ์ การfocus group การสังเกต และวิธีการอื่นๆ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ constant comparison, theoretical sampling, และอาจมีconditional matrix ในขณะที่ phenomenology ใช้ dialogue การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์โดย bracketing, imagination variation และ ethnography ใช้การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ theme analysis การยืนยันความน่าเชื่อถือ และreliability ก็มีลักษณะเฉพาะที่สอดคล้องกับวิธีการที่ใช้

ดังนั้นการผสมผสานวิธีวิทยาก็ทำได้ แต่ต้องอธิบายว่าคำถามการวิจัยแต่ละคำถามคืออะไร และ Ontology epistemology Methodology มีความสอดคล้องกลมกลืนกันอย่างไร แล้วเมื่อเรามีความเข้าใจ มีที่มา มีหลักฐาน แล้วท่านอื่นจะว่าอย่างไร ก็ต่อมาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้เข้าใจตรงกัน


วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ถามเองตอบเอง ในเรื่อง phenomenology

คำถามแรก
การทำวิจัยโดยปรัชญาและวิธีวิทยาของ Phenomenology นั้น เป็นการศึกษา เกี่ยวกับ consciousness of it object= ปรากฏการณ์ หมายความว่า เป็นการศึกษาความตระหนักรู้ตัวของผู้ที่มีประสบการณ์นั้น เช่น ถ้าศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของการเผชิญกับภูเขาไฟระเบิด ก็ต้องเป็นการศึกษาจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น
ที่นี้เรามาดูว่า ผู้วิจัยเป็นผู้ศึกษาปรากฏการณ์นี้จากความตระหนักรู้ของผู้วิจัย หรือถ่ายทอดจากความตระหนักรู้ของผู้อื่น ถ้าเรามองกลับไปที่อดีตของแนวคิด นักปรัชญาได้แก่ Hegel ศึกษาเกี่ยวกับจิตวิญญาณ ตัวเขาเองเป็นผู้ที่ศึกษาและตีความปรากฏการณ์นี้เอง Husserl เขียน logical Investigation ที่เล่มหนึ่งเป็น การศึกษา the nature of act and expression เล่มหก phenomenology and the theory of knowledge ซึ่งได้รับการพูดถึงว่า การศึกษาทั้งหมดนี้เป็นการวิเคราะห์สังกัปที่สำคัญ ในยุคของ Heidegger ที่เขียน Being in Time ก็เป็นการศึกษา ที่อธิบายสังกัปที่เกี่ยวข้องกับ แก่นของการมีอยู่ของมนุษย์( existence) ก็เป็นการอธิบายเชิงวิเคราะห์สังกัปหรือแก่นที่สำคัญ
ข้อสังเกตคือการวิจัยไม่มีการแสดงวิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของ empirical research
ดังนั้นการศึกษาของพฤติกรรมศาสตร์ ณ มศว. ที่ต้องเน้นการแสดงความชัดเจนของ methodology ได้แก่ตัวอย่าง การเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้นเราจะเรียกการศึกษาของเราว่าเป็น วิธีวิทยาแบบใดจึงจะเหมาะสม empirical phenomenology หรือไร แล้วความเป็น Phenomenology ของเราอยู่ตรงไหนของ Heidegger ที่ ontology ที่ epistemology หรือ methodology
ประเด็น ontology: เราศึกษาเกี่ยวกับ dying ซึ่งเราเชื่อว่า ความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีทั้งที่เป็นวิทยาศาสตร์ เช่น การหายใจที่ชีพจรช้าลง ความดันเลือดต่ำ และอื่นๆ และในทางที่มิใช่สิ่งที่จับต้องได้ ได้แก่ ความคิด ความรู้สึก และการตระหนักรู้ของร่างกาย(body awareness) ที่เป็นความรู้ที่สำคัญ ของ dying ที่จำต้องศึกษาตามแนวของ Phenomenology เพราะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ consciousness of dying
ประเด็น epistemology ความจริงของเรื่องนี้อยู่ที่ใดบ้าง สำคัญที่สุดคือผู้ที่กำลังจะตาย เพราะเขามี self awareness of dying คนเฝ้าไข้ หมอ พยาบาล มีความจริง เกี่ยวกับ self awareness of being with the dying ถามว่าทั้งสองนี้เป็นคนละปรากฏการณ์ใช่หรือไม่ จะเป็น concept ของ phenomenology ในเรื่อง one in many ใช่หรือไม่ อันนี้ยังไม่แน่ใจ เพราะ 0ne in many น่าจะเป็นการมองของคนเดียวกัน แต่มองในมุมที่ต่างกัน เช่นมองในมุมที่ตัวเองเป็นแม่ นองในมุมที่ตัวเองเป็นภรรยา มองในมุมที่ตัวเองเป็น พุทธศาสนิกชน เป็นต้น ดังนั้นการเก็บข้อมูลจากหลายฝ่ายประเด็นนี้เราต้องการเก็บข้อมูลจากใครในประเด็นใดเพื่ออะไรควรต้องจำแนกในใจของผู้วิจัยให้ชัดเจน
ประเด็น methodology แล้วเราจะทำการศึกษาอย่างไร จึงจะสอดคล้องกับความจริงข้างต้น การเริ่มจากการให้ผู้ตายได้พูด ความคิด ความรู้สึก ความตระหนักรู้ด้านร่างกายของตน(co-researchers)และผู้วิจัย(research) เป็นผู้จดบันทึกและตีความด้วยวิธีของ Phenomenology ได้แก่ เทคนิค bracketing ที่มี 3 ระดับ imaginative variations หรือ horizontalization นั้นนำมาใช้อย่างไร
เมื่อผู้วิจัยมีความเข้าใจอย่างชัดเจนและอธิบายได้ว่าความเป็น phenomenology อยู่ที่ใดก็คงเป็นสิ่งที่นักวิจัยได้ทำหน้าที่ในเชิงจรรยาบรรณของตัวเองแล้ว

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

phenomenological inquiry in Psychology

Existential-phenomenology in psychology
Phenomenology และ Existentialism ปรากฏเป็นรากฐานของการทำวิจัยที่เก็บข้อมูลจริง มิใช่เชิงปรัชญา ในสาขาจิตวิทยาประมาณกว่า 20 ปีมาแล้ว เริ่มมาจากการให้ความหมาย Phenomenological Psychology ว่า เป็นการศึกษารากฐาน(fundamental)ของปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา โดยใช้ความคิด ความเห็นของผู้เป็นเจ้าของปรากฏการณ์นั้น (1960) และให้ความหมายของ Existential-phenomenology in psychology ว่าเป็นการศึกษาที่ประยุกต์วิธีการของ Phenomenology ในการศึกษาเกี่ยวกับการมีอยู่ ชีวิต ของบุคคล
ความแตกต่างของวิธีการนี้จากวิธีการของนักปรัชญา คือมีการบ่งบอกข้อมูลและขั้นตอนของการวิเคราะห์ให้เห็นในเชิงประจักษ์ ซึ่งแนวปรัชญาไม่ทำ อันนี้ อจ.ก็พบเห็นในเรื่อง Sickness unto death

คำถามวิจัย
1. แก่น(ส่วนที่สำคัญและจำเป็น)ของการมีจิตวิญญาณองความเป็นครูคืออะไร
2. มีเงื่อนไขใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการที่ครูให้ความหมายของจิตวิญญาณครู
ขั้นตอน
1. กำหนดปรากฏการณ์ที่จะศึกษาและตั้งปัญหาและคำถามวิจัยในขั้นแรกผู้วิจัยอาจเก็บข้อมูลเพื่อตรวจสอบว่าจะมีข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์หรือไม่ โดยการคัดเลือกผู้ร่วมวิจัยแล้วลองถามคำถาม
1)ท่านรู้สึกอย่างไรเมื่อมีคนกล่าวว่าท่านมีจิตวิญญาณครู
2)คิดถึงสถานการณ์ที่ท่านรู้สึกว่าท่านมีจิตวิญญาณให้อธิบายสถานการณ์นั้นๆ
2 . รวบรวมข้อมูล ที่เป็นการพรรณนาของผู้ร่วมวิจัย(ตัวอย่าง) และจากประสบการณ์ของผู้วิจัย เช่นให้ผู้ร่วมวิจัยเขียนพรรณนาในประเด็นก่อน แล้วผู้วิจัยใช้การสนทนาเพื่อขยายความ
3. วิเคราะห์ข้อมูลและตีความในประเด็น โครงสร้าง ความหมาย ความเข้ากัน การเกาะกลุ่มกันในบริบทต่างๆ การวิเคราะห์ตอบคำถามต่อไปนี้
1)ข้อมูลนี้แสดงถึงการมีจิตวิญญาณในลักษณะใด
2)ตัวอย่างที่เห็นนี้เป็นปรากฏการณ์ทั่วไป และแก่นของข้อมูลคืออะไร
เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลก็ประกอบด้วย bracketing imaginary variation เป็นต้น
4. นำเสนอผลการวิจัยให้กับผู้ร่วมวิจัย และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ
ลองไปหาหนังสือ phenomenological inquiry in psychology
Edit by Ron Valleประมาณปี 1997
สำหรับหัวข้อวิจัยที่น่าสนใจมีดังนี้
1.เอกลักษณ์แห่งตนของนักศึกษาครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อน ระหว่างการและหลังการฝึกปฎิบัติการสอน
2. ความรู้สึกได้รับความรักอย่างไม่มีเงื่อนไขของเด็กที่ประสบความสำเร็จในการเลิกใช้ยาเสพติด
3. จิตวิญญาณของอาสาสมัครงานบำบัดยาเสพติดในชุมชน
4. การเพิ้่มพลังการทำงานในองค์กรการกุศล หรือองค์กรอื่นๆก็เป็นไปได้