วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

phenomenological inquiry in Psychology

Existential-phenomenology in psychology
Phenomenology และ Existentialism ปรากฏเป็นรากฐานของการทำวิจัยที่เก็บข้อมูลจริง มิใช่เชิงปรัชญา ในสาขาจิตวิทยาประมาณกว่า 20 ปีมาแล้ว เริ่มมาจากการให้ความหมาย Phenomenological Psychology ว่า เป็นการศึกษารากฐาน(fundamental)ของปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา โดยใช้ความคิด ความเห็นของผู้เป็นเจ้าของปรากฏการณ์นั้น (1960) และให้ความหมายของ Existential-phenomenology in psychology ว่าเป็นการศึกษาที่ประยุกต์วิธีการของ Phenomenology ในการศึกษาเกี่ยวกับการมีอยู่ ชีวิต ของบุคคล
ความแตกต่างของวิธีการนี้จากวิธีการของนักปรัชญา คือมีการบ่งบอกข้อมูลและขั้นตอนของการวิเคราะห์ให้เห็นในเชิงประจักษ์ ซึ่งแนวปรัชญาไม่ทำ อันนี้ อจ.ก็พบเห็นในเรื่อง Sickness unto death

คำถามวิจัย
1. แก่น(ส่วนที่สำคัญและจำเป็น)ของการมีจิตวิญญาณองความเป็นครูคืออะไร
2. มีเงื่อนไขใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการที่ครูให้ความหมายของจิตวิญญาณครู
ขั้นตอน
1. กำหนดปรากฏการณ์ที่จะศึกษาและตั้งปัญหาและคำถามวิจัยในขั้นแรกผู้วิจัยอาจเก็บข้อมูลเพื่อตรวจสอบว่าจะมีข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์หรือไม่ โดยการคัดเลือกผู้ร่วมวิจัยแล้วลองถามคำถาม
1)ท่านรู้สึกอย่างไรเมื่อมีคนกล่าวว่าท่านมีจิตวิญญาณครู
2)คิดถึงสถานการณ์ที่ท่านรู้สึกว่าท่านมีจิตวิญญาณให้อธิบายสถานการณ์นั้นๆ
2 . รวบรวมข้อมูล ที่เป็นการพรรณนาของผู้ร่วมวิจัย(ตัวอย่าง) และจากประสบการณ์ของผู้วิจัย เช่นให้ผู้ร่วมวิจัยเขียนพรรณนาในประเด็นก่อน แล้วผู้วิจัยใช้การสนทนาเพื่อขยายความ
3. วิเคราะห์ข้อมูลและตีความในประเด็น โครงสร้าง ความหมาย ความเข้ากัน การเกาะกลุ่มกันในบริบทต่างๆ การวิเคราะห์ตอบคำถามต่อไปนี้
1)ข้อมูลนี้แสดงถึงการมีจิตวิญญาณในลักษณะใด
2)ตัวอย่างที่เห็นนี้เป็นปรากฏการณ์ทั่วไป และแก่นของข้อมูลคืออะไร
เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลก็ประกอบด้วย bracketing imaginary variation เป็นต้น
4. นำเสนอผลการวิจัยให้กับผู้ร่วมวิจัย และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ
ลองไปหาหนังสือ phenomenological inquiry in psychology
Edit by Ron Valleประมาณปี 1997
สำหรับหัวข้อวิจัยที่น่าสนใจมีดังนี้
1.เอกลักษณ์แห่งตนของนักศึกษาครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อน ระหว่างการและหลังการฝึกปฎิบัติการสอน
2. ความรู้สึกได้รับความรักอย่างไม่มีเงื่อนไขของเด็กที่ประสบความสำเร็จในการเลิกใช้ยาเสพติด
3. จิตวิญญาณของอาสาสมัครงานบำบัดยาเสพติดในชุมชน
4. การเพิ้่มพลังการทำงานในองค์กรการกุศล หรือองค์กรอื่นๆก็เป็นไปได้

1 ความคิดเห็น: