คำถามแรก
การทำวิจัยโดยปรัชญาและวิธีวิทยาของ Phenomenology นั้น เป็นการศึกษา เกี่ยวกับ consciousness of it object= ปรากฏการณ์ หมายความว่า เป็นการศึกษาความตระหนักรู้ตัวของผู้ที่มีประสบการณ์นั้น เช่น ถ้าศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของการเผชิญกับภูเขาไฟระเบิด ก็ต้องเป็นการศึกษาจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น
ที่นี้เรามาดูว่า ผู้วิจัยเป็นผู้ศึกษาปรากฏการณ์นี้จากความตระหนักรู้ของผู้วิจัย หรือถ่ายทอดจากความตระหนักรู้ของผู้อื่น ถ้าเรามองกลับไปที่อดีตของแนวคิด นักปรัชญาได้แก่ Hegel ศึกษาเกี่ยวกับจิตวิญญาณ ตัวเขาเองเป็นผู้ที่ศึกษาและตีความปรากฏการณ์นี้เอง Husserl เขียน logical Investigation ที่เล่มหนึ่งเป็น การศึกษา the nature of act and expression เล่มหก phenomenology and the theory of knowledge ซึ่งได้รับการพูดถึงว่า การศึกษาทั้งหมดนี้เป็นการวิเคราะห์สังกัปที่สำคัญ ในยุคของ Heidegger ที่เขียน Being in Time ก็เป็นการศึกษา ที่อธิบายสังกัปที่เกี่ยวข้องกับ แก่นของการมีอยู่ของมนุษย์( existence) ก็เป็นการอธิบายเชิงวิเคราะห์สังกัปหรือแก่นที่สำคัญ
ข้อสังเกตคือการวิจัยไม่มีการแสดงวิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของ empirical research
ดังนั้นการศึกษาของพฤติกรรมศาสตร์ ณ มศว. ที่ต้องเน้นการแสดงความชัดเจนของ methodology ได้แก่ตัวอย่าง การเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้นเราจะเรียกการศึกษาของเราว่าเป็น วิธีวิทยาแบบใดจึงจะเหมาะสม empirical phenomenology หรือไร แล้วความเป็น Phenomenology ของเราอยู่ตรงไหนของ Heidegger ที่ ontology ที่ epistemology หรือ methodology
ประเด็น ontology: เราศึกษาเกี่ยวกับ dying ซึ่งเราเชื่อว่า ความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีทั้งที่เป็นวิทยาศาสตร์ เช่น การหายใจที่ชีพจรช้าลง ความดันเลือดต่ำ และอื่นๆ และในทางที่มิใช่สิ่งที่จับต้องได้ ได้แก่ ความคิด ความรู้สึก และการตระหนักรู้ของร่างกาย(body awareness) ที่เป็นความรู้ที่สำคัญ ของ dying ที่จำต้องศึกษาตามแนวของ Phenomenology เพราะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ consciousness of dying
ประเด็น epistemology ความจริงของเรื่องนี้อยู่ที่ใดบ้าง สำคัญที่สุดคือผู้ที่กำลังจะตาย เพราะเขามี self awareness of dying คนเฝ้าไข้ หมอ พยาบาล มีความจริง เกี่ยวกับ self awareness of being with the dying ถามว่าทั้งสองนี้เป็นคนละปรากฏการณ์ใช่หรือไม่ จะเป็น concept ของ phenomenology ในเรื่อง one in many ใช่หรือไม่ อันนี้ยังไม่แน่ใจ เพราะ 0ne in many น่าจะเป็นการมองของคนเดียวกัน แต่มองในมุมที่ต่างกัน เช่นมองในมุมที่ตัวเองเป็นแม่ นองในมุมที่ตัวเองเป็นภรรยา มองในมุมที่ตัวเองเป็น พุทธศาสนิกชน เป็นต้น ดังนั้นการเก็บข้อมูลจากหลายฝ่ายประเด็นนี้เราต้องการเก็บข้อมูลจากใครในประเด็นใดเพื่ออะไรควรต้องจำแนกในใจของผู้วิจัยให้ชัดเจน
ประเด็น methodology แล้วเราจะทำการศึกษาอย่างไร จึงจะสอดคล้องกับความจริงข้างต้น การเริ่มจากการให้ผู้ตายได้พูด ความคิด ความรู้สึก ความตระหนักรู้ด้านร่างกายของตน(co-researchers)และผู้วิจัย(research) เป็นผู้จดบันทึกและตีความด้วยวิธีของ Phenomenology ได้แก่ เทคนิค bracketing ที่มี 3 ระดับ imaginative variations หรือ horizontalization นั้นนำมาใช้อย่างไร
เมื่อผู้วิจัยมีความเข้าใจอย่างชัดเจนและอธิบายได้ว่าความเป็น phenomenology อยู่ที่ใดก็คงเป็นสิ่งที่นักวิจัยได้ทำหน้าที่ในเชิงจรรยาบรรณของตัวเองแล้ว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น