วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Grounded theory-Ethno-Pheno ตอน 2

ตอนที่ 1 ของเรื่องนี้ได้กล่าวถึง ontology ของวิธีวิทยาทั้งสามวิธีไปแล้ว กล่าวสรุปได้ว่า เมื่อนักวิจัยคิดถึงคำถามการวิจัยของตัวเอง แล้วตอบได้ว่า สิ่งที่กำลังจะศึกษาเป็นความเป็นจริง(reality)ในแบบใด เป็นแบบถูก-ผิด เป็นแบบที่เป็นจริงในบริบทหนึ่งๆหรือ เป็นแบบที่เกิดจากการตีความของคนที่เป็นเจ้าของความเป็นจริงในเรื่องนั้น
ดังนั้นในแง่ของ ontology งานที่ศึกษาโดย GT จะมีความเป็น positivism มากกว่าอีก 2 วิธี คือเหมาะสำหรับการวิจัยที่ต้องการแสวงหาความจริง(truth) ต้องการจะสร้างคำอธิบายให้กับความจริงนั้น ในขณะที่ ethnography ก็เป็นการเข้าใจปรากฏการณ์ ในขณะที่ Phenomenology พรรณนาสิ่งที่เป็นแก่นของประสบการณ์ โดย ที่ความเป็นจริงในความเชื่อของ Phenomenology นี้ ต่างจากความเป็นจริงของ GT มากที่สุด ทีนี้ก็ต้องมาถามว่าผู้วิจัยตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อกลุ่มใด

ในบทความตอน 2 จะกล่าวถึง epistemology ซึ่งหมายถึง ตัวความรู้(knowledge) ผู้ที่เป็นเจ้าของความรู้ และความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับความรู้ เนื่องจากบทความนี้เขียนมาจาก การถกเถียงที่ไม่เข้าใจตรงกันของผู้นิยม ethnology กับผู้นิยม GT ดังนั้นจึงต้องกล่าวถึงนิยามของ ethnography สักเล็กน้อยเนื่องจากอาจมีความเข้าใจไม่ตรงกัน การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา(ไม่รู้ว่าสะกดถูกไหม) เดิม คำ ethnography แปลว่า งานเขียนพรรณนาที่เกี่ยวกับวิถีชีวิของกลุ่มคน ในงานที่เป็น classic ของ ethnography มักถูกวิจารณ์เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของงานเสมอ และไม่จนกระทั่งเกือบต้น ค.ศ.ที่ 20 ที่มีการบัญญัติ รูปแบบของการวิจัยแบบนี้ที่ร่วมสมัยคือเป็นวิธีวิทยาที่มีปรัชญาและระเบียบวิธีของตนเอง ethnography research ตอบคำถามเกี่ยวกับ สังคมหนึ่ง รวบรวมข้อมูลที่ไม่กำหนดโครงสร้างไว้ล่วงหน้า ใช้กลุ่มตัวอย่างเล็กและ ตีความจากพฤติกรรมของคน การรวบรวมข้อมูลใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ในเวลาขั้นต่ำประมาณ 6 เดือนสำหรับการใช้ ethnography research ในสาขาจิตวิทยา( แต่สาขามานุษยวิทยาใช้เวลาเป็นปี) ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัย และผู้ให้ข้อมูลหลักมีลักษณะที่สรุปได้ว่า ต้อง polite not friendship , ต้องcompassion not sympathy, ต้อง respect no belief , ต้อง understand not identification , ต้อง admiring not love นักวิชาการในยุคclassicอาจกล่าวถึง ethnography เป็นวิธีการลงชุมชน ประเภทของ Ethnography life history, memoir, narrative ethnography, auto ethno, fiction, applied ethno, ethno decision modeling

การเลือกหัวข้อวิจัยที่เหมาะกับ ethnography ผู้วิจัยต้องตอบให้ได้ว่า อะไรเป็นแรงจูงใจให้ทำเรื่องนี้ ทำไมต้องเป็นสถานที่แห่งนี้ ชุมชนแห่งนี้ ทำไมต้องเป็นกลุ่มนี้ ข้อมูลที่เก็บ ประกอบด้วย สาระเกี่ยวกับวัฒนธรรมทั้งที่เป็น ความคิด คุณค่า พฤติกรรม
ในแง่ของ epistemology นั้น นักวิจัยต้องคิดว่าความรู้(knowledge)ในเรื่องนี้เป็นอะไร เป็นความเห็นความเชื่อของคนและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกับคนอื่น การทำงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ หรืออะไรอื่น แล้วเราจะรู้เรื่องนี้ได้อย่างไร GT ใช้อภิทฤษฏี หลักคือ symbolic interactonismขณะที Ethnographyใช้ symbolic interactionism ได้เช่นเดียวกับ และ Phenomenology ใช้ปรัชญาของด้านPhenomenology เป็นหลัก

ในการเลือกระหว่าง 3 วิธีนี้ความแตกต่างอยู่ที่ ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับ ผู้ที่มีความรู้ เช่นกรณีนี้ นักวิจัยต้องหาความจริงจากคนที่อยู่ในกลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลหลัก เช่น ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการใช้แนวคิดการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน หรือ การท่องเที่ยวบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง ผู้วิจัยมีระดับของความเป็นคนใน หรือนอก มากน้อยเพียงใด ใน ethnography นักวิจัยต้องเป็นส่วนร่วมในกระบวนการทางสังคมของกลุ่มชนที่ต้องการเก็บข้อมูล ในPhenomenology ผู้วิจัย ยิ่งต้องเป็นผู้เป็นเจ้าของประสบการณ์( First person experience )แต่ใน GT มี2แนว แนวดั่งเดิม Glaser เน้นให้นักวิจัยเป็นอิสระจากความรู้ความจริงขณะที่ในยุคต่อมา Strauss ให้ผู้วิจัยตีความจากประสบการณ์
ดังนั้นผู้วิจัยต้องแสดงจุดยืนว่าความรู้ในการวิจัยนั้นคืออะไร และนักวิจัยจะมีระดับความสัมพันธ์กับสิ่งนั้นมากน้อยแค่ใด

ในแง่ของ methodology จะเห็นว่าใน GTใช้ข้อมูลจาก การสัมภาษณ์ การfocus group การสังเกต และวิธีการอื่นๆ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ constant comparison, theoretical sampling, และอาจมีconditional matrix ในขณะที่ phenomenology ใช้ dialogue การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์โดย bracketing, imagination variation และ ethnography ใช้การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ theme analysis การยืนยันความน่าเชื่อถือ และreliability ก็มีลักษณะเฉพาะที่สอดคล้องกับวิธีการที่ใช้

ดังนั้นการผสมผสานวิธีวิทยาก็ทำได้ แต่ต้องอธิบายว่าคำถามการวิจัยแต่ละคำถามคืออะไร และ Ontology epistemology Methodology มีความสอดคล้องกลมกลืนกันอย่างไร แล้วเมื่อเรามีความเข้าใจ มีที่มา มีหลักฐาน แล้วท่านอื่นจะว่าอย่างไร ก็ต่อมาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้เข้าใจตรงกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น