วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

sickness unto death

เป็นงานของ หนึ่งในนักปรัชญาผู้ก่อตั้งกลุ่ม Existentialism คือ Kierkegaard
เป็นคน เดนมาร์ค เรื่องนี้คงต้องอ่านหลายครั้ง แต่การอ่านรอบแรกนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อดูการเขียนงานการค้นพบความรู้ความจริง ที่พบว่ามีความลุ่มลึกในการตีความเป็นอย่างมากโดยใช้การเขียนในแนวของการพรรณนา ไม่เน้นแสดงวิธีการของการค้นหาความรู้ความจริง ซึ่งอ่านจากหนังสือเล่มอื่นก็ได้รับความกระจ่างว่า ความชัดเจนของวิธีวิทยาของปรัชญากลุ่มนี้มาปรากฏขึ้นในสมัยของ Heidegger
งานเขียนนี้กล่าวพรรณนาถึง ความตระหนัก และความรู้ตัว(conscious)
ของปรากฏการณ์ของล้มเหลวที่จะเป็นตัวตนของตัวเอง และความล้มเหลวนี้
ที่เปรียบเหมือน การป่วยใกล้ความตาย (sickness unto death) โดยแบ่งเป็น 2 บท
บทแรกเป็นการพรรณนา เกี่ยวกับ self ว่ามนุษย์เราต้องการบรรลุเป้าหมายของ self คือ เราเป็นอะไร เราสามารถเป็นอะไร และเราควรเป็นอะไร นี้ต้องสมดุล
ที่นี้ก็เป็นไปได้ว่ามันไม่สมดุล ซึ่งเป็นการป่วยของจิตวิญญาณ และของตัวตนของเรา เรียกว่าความสิ้นหวัง(despair)แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
แบบแรกเป็นแบบที่เรามิได้รู้ตัวว่าเราได้สิ้นหวัง แบบที่สองและแบบที่สามเป็นพวกที่พยายามที่จะหนีไปจากความเป็น self เพียงเพราะไม่ต้องการเผชิญกับ ความไม่รู้ความไม่แน่ใจ ความกังวล กล่าวคือ
แบบที่ 2 แบบที่ไม่ต้องการจะสิ้นความหวังกับการเป็น self แต่ไม่ทำอะไร
แบบที่ 3 ไม่พยายามจะคงความเป็น self แต่หลีกหนี ไปสู่ทางอื่น ที่ไม่เป็น selfอีกต่อไป
ทั้งหมดนี้ล้วนป่วยใกล้ตายทั้งสิ้น
บทที่ 2 กล่าวถึง การสิ้นหวังว่าเป็นบาปอันนี้อ่านยากเนื่องจาก มันเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาด้วย
สิ่งที่น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีคือวิธีการตั้งคำถามและตอบคำถามของการเขียนในแนวปรัชญ ที่แตกต่างจากการเขียนงานวิจัยที่เป็น empirical research

1 ความคิดเห็น: