วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เลือกวิธีวิจัยระหว่าง Grounded theory, Phenomenology, Ethnography (ตอน 1)

เลือกวิธีวิจัยระหว่าง Grounded theory, Phenomenology, Ethnography (ตอน 1)

เรื่องก็มีอยู่ว่า หลังจากเราเลือกแล้วว่าคำถามวิจัยแบบนี้ ฉันจะใช้วิธีวิทยาอันนี้ แต่เมื่อไปเจอ ใครคนหนึ่งทักว่า ว่าน่าจะเป็นวิธีอื่นมากกว่านะ แล้วก็จะปกป้องตัวเองอย่างไร มันก็ต้องมาจากการคิดให้เป็นแล้วอธิบายให้ได้ วิธีการอธิบายคงมีหลายวิธี แต่วิธีหนึ่งคือความเข้าใจเกี่ยวกับ world view หรือวิธีคิดที่เป็นข้อตกลงในการสร้างความรู้ 3 ตัว ได้แก่ Ontology Epistemology และ Methodology

ตัวแรก Ontology หมายถึงเราต้องเข้าใจว่า ความจริง สิ่งที่ปรากฏจริง ความเป็นจริง (reality=actual existence) ของสิ่งที่เรากำลังจะทำการวิจัยนั้น 1) เป็นความเป็นจริง แบบไหนและ มีธรรมชาติเป็นอย่างไร และ 2) เราสามารถรู้อะไรบ้างในความเป็นจริงนั้น

ตัวอย่างที่ 1 เรากำลังทำวิจัยเกี่ยวกับ เด็กที่เป็นโรคอ้วน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ อธิบายว่า เขาสามารถลดพฤติกรรมการกิน และเพิ่มพฤติกรรมการออกกำลังการได้ เขามีกระบวนการอย่างไร

ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ontology ของงานวิจัยเรื่องนี้ ประเด็นแรก ถามว่า ความเป็นจริงในเรื่องนี้เป็นแบบไหน และเราสามารถรู้อะไรบ้างในความจริงนั้น พฤติกรรมนี้ กระบวนการนี้ นักวิจัย มองว่าอะไรบ้างที่เรารู้ และที่เราว่ารู้นั้นมันเป็นจริง(true) หรือ แค่คิดว่ามันว่ามันอาจเป็น นักวิจัยสามารถยืนยันความจริงนี้ได้หรือไม่
ในการศึกษาเรื่องนี้อะไรบ้างที่เราคิดว่าเรารู้และมีความรู้เกี่ยวกับมัน เกี่ยวกับโรคอ้วน เราบอกว่า มี น้ำหนัก ส่วนสูง มีพฤติกรรมการกิน พฤติกรรมการออกกำลังกาย มี กระบวนการทางจิตใจและสังคม ในการบรรลุเป้าหมาย มีความรู้ในเรื่องใดที่เป็นความจริง และความรู้เรื่องใดที่เป็นเรื่องที่อาจจะเป็น

ในความเห็นของอจ.คิดว่านักวิจัยต้องสร้างความเชื่อนี้ด้วยตัวเองก่อนการทำวิจัย ถ้าเราเชื่อว่าสิ่งที่เราศึกษา ความรู้ที่มีอยู่ เป็นความจริง “reality is a true state of affairs” คือเชื่อว่าสิ่งที่เรากำลังศึกษามีลักษณะที่เป็นจริง เราสามารถยืนยันได้ว่ามันมีจริงมิได้เกิดขึ้นชั่วขณะ ชั่วคราว ไม่ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ เช่น เราเชื่อว่า พฤติกรรมของคนเป็นจริง กระบวนการทางจิตใจ กระบวนการทางสังคม เป็นจริง

เอาละที่นี้มาวิเคราะห์กันต่อ ว่า แล้ว GT เค้าเชื่ออย่างไร อันนี้มีบทความที่อ้างว่า ผู้สร้าง GT สมัยแรกโดยเฉพาะ Glaser เชื่อว่า ความเป็นจริง นั้นเป็น “true state of affairs” คือสามารถยืนยันได้ ( เหมือนพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก นั้น true สามารถยืนยันได้ โดยการไปรอดูทางทิศตะวันออกของทุกเช้า ของทุกมุมของบ้าน เป็นต้น) ในขณะที่ Strauss & Corbin มีความเห็นว่า ความเป็นจริง นั่นอาจเปลี่ยนไปตามเวลาและสถานที่ ดังนั้นนักวิจัยที่จะใช้ GT อาจมีความเชื่อแบบใดแบบหนึ่งแล้วแต่ว่าจะเป็นแบบของ Glaser หรือ Strauss & Corbin ซึ่งในแบบหลังนี้ก็ใช้การวิเคราะห์ ที่เรียกว่า conditional matrix ในการยืนยันข้อสรุปของ GT คำถามของการวิจัย จึงต้องการระบุว่า มี อะไรที่ใช้ในการอธิบายได้บ้าง และการอธิบายเป็นอย่างไร

ในขณะที่ Phenomenology ตามแบบ ของ Heideggerian นั้นเป็นที่แน่นอนว่า มีความเชื่อว่า ความเป็นจริงเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษานั้น เป็น การตีความของบุคคลและขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ คำถามของการวิจัยจึงต้องการทำความเข้าใจว่าบุคคลมีการตีความประสบการณ์ของตนเองอย่างไร

สำหรับ Ethnography ก็น่าจะเป็นแบบเดี่ยวกับ Pheno คือ ความเป็นจริงนั้น เป็นการตีความของผู้วิจัย คำถามของการวิจัยจึงเป็นการถามว่า จากประสบการณ์ของการเข้าไปสังเกต นักวิจัยคิดว่า ความเชื่อ วัฒนธรรม สังคมมีผลต่อคนในสังคมอย่างไร



ตอนต่อไปจะเป็นการดูที่ epistemology และ methodology

1 ความคิดเห็น: