วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Fact, Truth, and Reality และ Phenomenology

Fact หมายถึง การระบุเกี่ยวกับสิ่งใดๆ ว่าเป็น สิ่งที่เห็นได้ ไม่ขึ้นกับความเชื่อหรือ การตีความใดๆ เช่น การที่พระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออกเป็น Fact เพราะสามารถเห็นได้ที่จุดต่างๆของโลก ส่วนมากเท่าที่เห็น fact จะเป็นการระบุเกี่ยวกับ สถานการณ์ สิ่งที่ ที่เป็นทางวิทยาศาสตร์ เช่นที่ให้ตัวอย่างข้างต้นเกี่ยวกับการขึ้นของพระอาทิตย์

Truth เดิมก็เป็นอิสระจากความเชื่อของคนเหมือนกัน แต่ปัจจุบันไม่ใช่ บางเรื่อง บางสถานการณ์ก็บอกได้ว่า เป็นความจริง(truth) ถ้ามี 2คนขึ้นไปเห็นตรงกันก็เป็นความจริงได้ คำว่า truth นี้เป็นคำสำคัญของ Phenomenology เพราะ มีคำอยู่ 2 คำที่อ่านเจอคือ คำแรก disquotational theory of truth และ two kinds of truth

Disquotational theory of truth เป็นวิธีการหาข้อสรุปว่าสิ่งใดเป็นจริงหรือเป็นเท็จ( true or false) ที่เริ่มจากการรับรู้ 3 ขั้น คือ state of affair simply, state of affair as proposed, state of affair as confirm ยกตัวอย่างเช่น

กรณีแรกในการที่เราไปสัมภาษณ์คนไข้ นาย ก เมื่อ วันที่ 20 พ.ค 2553 แล้วเค้าให้ความเห็นว่า "ความตายเป็นความสุข " อันนี้ขั้นแรกเรารับรู้เหมือนว่ามันเป็นอย่างนั้น ต่อมาเราเริ่มมีข้อสงสัยว่าอาจไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้ เพราะดู นาย ก ไม่น่าจะมีความสุข ดังนั้นเราอยู่ในขั้นที่ 2 คือ เรารับว่า ความตายเป็นความสุข ตามคำกล่าวของ นาย ก ( อันนี้เรียกว่า เป็นความจริง ตามคำกล่าวของนาย ก มีการ quotation)
ในวันต่อๆมา นายก บอกว่าความตายเป็นความทุกข์ จะเห็นว่า ขณะนี้ "ความตายคือความสุข" มิใช่ ความจริง ของทุกเวลาของนายก แต่เป็นความเห็น ในวันที่20 พ.ค ดังนั้น ในกรณีของ นาย ก เราไม่สามารถยืนยันได้ และเราไม่สามารถ disquotation ได้

กรณีที่ 2 อาจารย์ไก่สวมสร้อยเพชรมา แล้วบอกกุ้งว่า นี่เป็นเพชรแท้ ขั้นแรกกุ้งก็รับข้อมูลเป็นเห็นตามนั้น ต่อมากุ้งก็สงสัยว่า อาจไม่ใช่เพราะ อจ.ไม่น่าจะมีเงินมากขนาดชื้อสร้อยเพชรแท้แล้วใส่เดินไปมาประหนึ่งว่าเป็นของธรรมดา ดังนั้นขณะนี่อยู่ในขั้น 2 คือ ขั้นที่รับว่าสร้อยเป็นเพชรแท้ จากคำกล่าวของอจ.ไก่ อันนี้เรียกว่ามี quotation ต่อมาเราก็ได้มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมทางวิทยาศาสตร์เช่น เอาเครื่องมาตรวจ เอาไปชั่ง น้ำหนัก ก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นของแท้ อันนี้เรียกว่า confirm และ disquotation อันนี้ก็สรุปได้ว่า สร้อยข้อมือนี้เป็นเพชรแท้ นี้เป็นจริง(truth) อิๆๆ บอกแล้วไม่เชื่อ

คำต่อมาบอกว่า truth มี 2 แบบคือ truth of correctness และ truth of disclosure ในแบบแรกเราจะสามารถสรุปได้ว่า สิ่งใดเป็นจริงในแบบแรกทำโดยการทดลองและตรวจสอบว่า สิ่งนั้น คำกล่าวนั้นถูก หรือผิด( true or false) แบบแรกนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นการทดสอบเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นได้ จับต้องได้
ความจริงในแบบที่ 2 เป็น ความจริงจากสิ่งที่ปรากฏ เช่น เราเดินไปเห็นล้อรถยางติดดิน แล้วเราบอกว่ารถยางแบน และในแบบที่สองนี้เองที่อาจทำให้เราต้องหาวิธีการที่จะหาข้อสรุปว่าจริงหรือยากขึ้น


คำสุดท้าย Reality เป็นสภาวะของความเป็นจริง หรือเป็นสภาวะของการมีอยู่จริงหรือไม่ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สถานการณ์ใด สถานการณ์หนึ่ง การมีอยู่จริงนี้อาจจะโดยการเห็นด้วยประสาทสัมผัสหรือ การมีอยู่จริงในแง่ของการมีความหมายและมีความเข้าใจก็ได้ ใน Pheno การมีอยู่จริงอาจหมายถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนๆหนึ่ง และประสบการณ์นั้นก็เหมือนกับของคนอื่นๆ หรือ อาจเป็นประสบการณ์เฉพาะของตัวเขาคนเดียวที่บอกใครไม่ได้ ก็จัดเป็น reality ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น