วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยตามแนวทาง grounded theoryมีลักษณะที่เป็นทั้งlinear และnon linear คือเดินไปตามขั้น1,2,3และบางครั้งก็วกกลับมาที่ขั้น1ใหม่ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ขั้น 1 ลงระหัสเน้นเนื้อหาของข้อมูล(substantive coding หรือ open coding) อันนี้บางครั้งระหัสที่ให้มาการสิ่งที่ปรากฏในเนิ้อหา
ขั้น 2 ประกอบด้วยขั้นย่อย A,B,C ดังนี้
A: ทำการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูล กรณีตัวอย่าง การจัดประเภทเพื่อมองหาความคล้ายคลึงหรือความแตกต่าง (constant comparison:เปรียบเทียบความคงที่)
B: สุ่มตัวอย่างใหม่เพื่อการความครอบคลุมและลุ่มลึกของทบ
C: เขียนบันทึกเกี่ยวกับการเกิดของ ความหมายใหม่ สังกัปใหม่ โดยเชื่อมกับทบ.เดิม
ขั้น3 ประกอบด้วยขั้นย่อย A, B ดังนี้
A.เกิดสังกัปใหม่ที่เป็น สังกัปแก่น(axial code) และที่เป็น สังกัปของการอธิบายทบ.(Selective code)

B. ทำการลงระหัส เก็บข้อมูลเพิ่ม เปรียบเที่ยบความคงที่จนกระทั้งไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติมใหม่ๆ(theoretical saturation) ก็หยุด
ขั้น4 การวิเคราะห์เพื่อการสรุปทฤษฎี ที่ต้องเริ่มตั้งแต่การพรรณา จากรหัสพื้นฐาน รวมกลุ่มรหัส จัดประเภท เขียนคำนิยามสังกัปแก่น สร้างกรอบการอธิบาย เชื่อมต่อกับผลการวิจัยและทฤษฎีอื่นๆ เขียบบันทึกขยายความข้อค้นพบของทฤษฎี
การวิเคราะห์ใน 3 ขั้นแรกนี้จะย้อนกลับไปทำซ้ำในขั้นตอนก่อนหน้าได้

1 ความคิดเห็น: