วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

ประเภทของสาระความรู้(information)ที่ต้องการในการทำกรณีศึกษา
1.สาระความรู้เกี่ยวกับบริบทและที่มา(context and background) หมายถึง สาระความรู้ด้านประวัติความเป็นมา โครงสร้างและหน้าที่ทางสังคมของกรณีศึกษา สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของกรณีศึกษา เช่นในกรณีที่ศึกษานักการเมือง ก็ต้องการสาระความรู้เกี่ยวกับ บทบาทหน้าที่ในพรรคการเมือง วัฒนธรรมความเชื่อของพรรคการเมืองที่เป็นสมาชิก หัวหน้าพรรคการเมืองที่สังกัด ปรัชญาของพรรคการเมือง การเก็บข้อมูลทำได้จากการดูเอกสารของพรรค ร่วมกับเอกสารของหนังสือพิมพ์(อันนี้เป็นแหล่งข้อมูลภายนอก)เป็นต้น อันนี้เน้นให้เห็นการเก็บข้อมูลจากหลายแหล่งประกอบการตรวจสอบสามเส้า
2. สาระความรู้ด้านประชากร(demographic) หมายถึง สาระความรู้เกี่ยวกับกรณีศึกษาโดยตรง ด้านการศึกษา อายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ทั้งนี้ข้อมูลส่วนนี้จะช่วยอธิบายการรับรู้ การคิด เจตคติของกรณีศึกษาได้เหมือนกัน การเก็บข้อมูลโดยส่วนใหญ่เป็นการสัมภาษณ์กรณีศึกษาหรือการให้ตอบในแบบบันทึกข้อมูล
3. สาระความรู้ด้านการรับรู้(perceptual information) หมายถึง การรับรู้ของกรณีศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำถามการวิจัยของนักวิจัย ข้อมูลส่วนนี้นักวิจัยควรต้องตระหนักว่าการรับรู้ที่มักได้จากการไปสัมภาษณ์นั้นมิใช่ fact แต่เป็นการรับรู้ fact เป็นการรับรู้ที่ใช้กรอบของตัวกรณีศึกษาเองเป็นหลัก ไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกหรือผิด แต่เป็นการบอกเล่าของกรณีศึกษาในเรื่องราวที่เค้าเชื่อว่าเป็นจริง ดังนั้นการรวบรวมสาระด้านการรับรู้ นักวิจัยจึงต้องมีความลึกซึ้งของการสัมภาษณ์ที่ต้องครอบคลุม การพรรณนาประสบการณ์นั้น การที่ประสบการณ์นั้นมีผลต่อเขา ความรู้สึก การตัดสินใจ การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ
4. สาระความรู้ด้านทฤษฏี(theoretical information) หมายถึงสาระที่ได้จากการทบทวนทบ. งานวิจัยที่นำมาใช้เพื่อการกำหนดวิธีวิทยาของงานวิจัย การตั้งคำถามการวิจัย การตีความ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การสรุปผลการวิจัย
จาก completing your qualitative dissertation, Linda Dale Bloomberg, and Marie Volpe,(2008). sage pub.

2 ความคิดเห็น: