ความแข็งแกร่งของ GT ขึ้นอยู่กับผู้ใช้มีความเข้าใจในเทคนิคต่อไปนี้คือ micro analysis คงจะใช้ว่าการวิเคราะห์เนื้อหาอย่างละเอียด เรื่องนี้ Corbin &Strauss ได้กล่าวไว้ว่า ก็อยู่ในเรื่องของการทำ open coding นั่นแหละ กล่าวคือขณะที่เราทำ การลงรหัส เราก็หยิบเอาข้อมูลมา 1 ท่อน(อันนี้เรียกเป็นท่อนๆดูเป็นไทยๆดี)แล้วเราต้องวิเคราะห์ความหมายของข้อมูลท่อนนั้นว่าใครพูด ที่เค้าพูดเค้าหมายถึงอะไร แล้วผู้วิจัยจึงหาคำมาแทนเนื้อหาที่กล่าวถึงในข้อมูลท่อนนั้น การทำ micro analysis ถ้าสามารถทำกันได้อย่างลึกซึ้งเท่าไร ก็เป็นผลดีต่อ การตีความผลของการวิจัยในภายหลัง ตัวต่อไปคือ constant comparison อันนี้หมายถึงการเปรียบเทียบเพื่อหาความคล้าย และความต่าง เทคนิคที่น่าจะใช้ตลอดในการวิเคราะห์ข้อมูลนับแต่ open ans axial coding เพราะนักวิจัยเมื่ออ่านข้อมูลแต่ละบรรทัด (line by line analysis) จะถามตัวเองว่าบรรทัดนี้ให้อะไร ที่แตกต่างจากบรรทัดที่ผ่านมาหรือไม่ หรือถามว่า การกำหนด รหัสนี้เหมือนหรือแตกต่างจาก รหัสที่กำหนดมาแล้วหรือไม่อย่างไร ถ้าผู้วิจัยใช้เทคนิคนี้ก็จะสามารถกำหนด Theme หรือ categories ได้ชัดเจนขึ้น ดังนั้นในระหว่างการวิเคราะห์ก็ต้องมีสมุดโน้ตไว้ข้างๆตัว ตัวที่สามในสามเกลอนี้คือ theoretical sampling ซึ่งหมายถึงการเลือกตัวอย่างจากข้อค้นพบ(ในGT) ซึ่งอันนี้แตกต่างจากการวิจัยแบบอื่นๆที่ผู้วิจัยกำหนดจำนวนตัวอย่างและลักษณะของตัวอย่างไว้ล่างหน้า แต่ใน GT เมื่อเริ่มวิเคราะห์ข้อมูลจะพบ theme แล้วผู้วิจัยก็จะตั้งคำถามว่า ถ้าจะมี ความชัดเจนมากขึ้นจะต้องไปเก็บข้อมูลกับใครต่อไป โดยทั้วไปนักวิจัยก็จะคิดว่าโอ้แม่เจ้าแล้วจะต้องเก็บข้อมูลกันใหม่เรื่อยๆหรืออย่างไร ก็มีความจริงอยู่ว่า การกลับไปวิเคราะห์ข้อมูลเดิมใหม่ก็เป็นส่วนหนึ่งของ เกลอตัวที่สามนี้ได้เหมือนกัลย์
สามเกลอนี้เป็นจุกแข็งของ GT ที่ผู้ใช้ ต้องฝึกฝนจนถึงขั้นที่ "สามารถชักกระบี่ออกมาอย่างรวดเร็วจนมองไม่ทัน เลยทีเดียว"
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น