วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สามเกลอใน phenomenology

ใน Pheno (เขียนย่อนะมันขี้เกียจ) เค้าว่าในการวิเคราะห์จะพบโครงสร้างของ ปรากฎการณ์ 3 แบบคือ( ไอ้สามแบบนี้ถ้าเราเข้าใจมันจะช่วยเข้าใจเวลาอ่านข้อมูล และในการสร้าง theme

1. แบบpart and whole (องค์รวมและส่วนประกอบ) หมายถึงโครงสร้างของปรากฎการณ์ที่ประกอบด้วย whole และ part คือน่าจะเรียกว่า องค์รวม และ ส่วนประกอบ ซึ่งในส่วนประกอบนี้ยังแบ่งเป็น piece and moment หรือ เป็น ส่วนประกอบที่เป็นอิสระ และ ส่วนประกอบที่ไม่เป็นอิสระ อุ้ย! อารายเนี่ย ดูตัวอย่างนะ เช่นถ้าเรา ดูต้นไม้ เป็นองค์รวม ต้นไม้ย่อมมีส่วนประกอบมากมาย หนึ่งในนั้นคือกิ่งไม้ จะเห็นว่ากิ่งไม้ เป็นส่วนประกอบที่เรียกว่า piece ที่สามารถแยกส่วนประกอบนี้ออกเป็นอิสระ ที่เมื่อแยกเป็นอิสระ แล้วก็เป็น ท่อนไม้ ไม่่ใช่สิ่งมีชีวิตอีกต่อไป แต่ก็เป็นส่วนที่มีอยู่ได้ด้วยตัวเอง และเป็นองค์รวมที่มีส่วนประกอบของมันเองและมิใช่ส่วนประกอบของต้นไม้อีกต่อไป

แต่ส่วนประกอบอีกตัวหนึ่งเรียกว่า moment เป็นส่วนประกอบที่ไม่สามารถแยกออกจากองค์รวมได้ ในตัวอย่างเดียวกันการเป็นไม้ยืนต้นไม่สามารถแยกออกจากต้นไม้ได้ หรือ ความทุ้มไม่สามารถแยกส่วนออกมาจากเสียงได้ ในการวิเคราะห์สิ่งใดสิ่งหนึ่งนักวิจัยต้องวิเคราะห์โดยตลอดว่าเรากำลังวิเคราะห์อะไร องค์รวมคืออะไร ส่วนประกอบที่เป็นอิสระ และส่วนประกอบที่ไม่เป็นอิสระคืออะไร ถ้าเราไม่คิดเช่นนี้ แล้วเราไปวิเคราะห์moment เหมือนเป็นส่วนที่เป็นอิสระ เราอาจวิเคราะห์ผิดพลาดไป ดังนั้นเวลาที่เราคิดหรือมองสิ่งใด ต้องคิดว่า มี องค์รววมอะไร ในนั้นมีองค์ประกอบอะไร ส่วนประกอบใดเป็น part ส่วนใดเป็น moment
ความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นคือเราพูดถึงส่วนประกอบ ส่วนเดียว โดยไม่พูดถึงส่วนประกอบอื่นๆขององค์รวม หรือเราแยก moment ออกมาเหมือนมันเป็นอิสระ

ตัวที่สองของสามเกลอ คือ identity in manifolds (เอกลักษณ์ในความหลากหลาย หรือ one in many) หมายความว่าในเหตุการณ์ หรือข้อเท็จจริงหนึ่ง มีความหลากหลายของมุมมอง ความเห็น เช่น เหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 2553 ณ ราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร เป็นเหตุการณ์เดี่ยวกัน แต่การเล่าของเสื้อแดง ทหาร รัฐบาล คนที่เห็น คนที่อยู่ในเหตุการณ์มีความแตกต่างกัน หรือ การที่เราพูดว่า ฉันรักเธอ ด้วยน้ำเสียงที่แตกต่างกัน ตะโกน กระซิบ ก็เป็นความหลากหลาย ภาพโมนาลิซาถูกตีความโดยหลายคนที่ไม่เหมือนกัน การวิเคราะห์ของ pheno เป็นการพรรณา ความหลากหลายของสิ่งเดียวกันจากการให้ความหมายของสิ่งนั้น ในการเก็บข้อมูลที่จะทำให้การวิเคราะห์มีความลุ่มลึก จึงต้องใส่ความหลากหลายมิติของสิ่งที่จะวิเคราะห์และความหลากหลายของผู้ให้ความหมาย

ตัวที่สามในเกลอ คือ the presence and the absence อันนี้น่าจะอธิบายได้ว่าให้การให้ความหมายกับประสบการณ์หนึ่งๆเราต้องตระหนักว่า มันมีลักษณะของการให้ความหมายในขณะที่เราเผชิญหน้าหรืออยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ( อันนี้เรียกว่า presence) และการให้ความหมายก่อนที่เราจะประสบเหตุการณ์ หรือ การให้ความหมายเมื่อเหตุการณ์นั้นได้ผ่านไปแล้ว(อันนี้เรยกว่า absence) ทั้งสามนี้มีความแตกต่างกัน และมีรายละเอียดอีกมากมาย
อย่างไรก็ตามบทสรุปก็คือนักวิจัยที่สนใจศึกษาปรากฎการณ์ต้องคำนึงถึงคำถามวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน 3 เรื่องนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น