วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การระบุปัญหาการวิจัย

การระบุปัญหาการวิจัย อันดับแรกต้อง แยกระหว่าง ปัญหา และ ปัญหาการวิจัย ปัญหา แปลว่า สิ่งที่เป็นอุปสรรค ความยากลำบาก สิ่งที่ไม่เป็นดังคาดหวัง ทำให้ต้องมีการเข้าไปแก้ปัญหา ปัญหาบางอย่างก็แก้ได้จากการวิจัย แต่ปัญหาบางอย่างก็ไม่เหมาะแก่การวิจัย(ใช่คำว่าไม่เหมาะเพราะทางพุทธศาสนามี อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ซึ่งน่าจะทำให้เชื่อได้ว่า กระบวนการนี้ใช้แก้ปัญหาของคนได้ ) กลับมาทีปัญหาการวิจัย จึงหมายถึงปัญหาใดๆที่ เราสามารถ ทำความเข้าใจ และแก้ไขได้ในที่สุด ผ่านการวิจัย สิ่งที่ต้องมองให้ทะลุอีกอย่างหนึงคือ ปัญหาการวิจัย อาจเป็นปัญหาจากการปฏิบัติ ที่ผู้ปฏิบัติคิดว่าต้องทำให้ได้ตามคาด หรืออาจเป็นปัญหาเชิงวิชาการ ที่นักวิชาการคิดว่ายังเข้าใจได้ไม่ชัดเจน ดังนั้นผู้วิจัย ต้องทำความเข้าใจกับปัญหาการวิจัยของตนเอง และเขียนให้สอดคล้องกัน อันดับที่สอง ต้องเข้าใจ ส่วนประกอบของการระบุปัญหาการวิจัย การระบุปัญหาการวิจัย หมายถึง กระบวนการที่นักวิจัยทำให้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่างานวิจัยที่ทำ ตอบคำถามใด กับกลุ่มเป้าหมายใด บนพื้นฐานความรู้ใดหรือข้อตกลงเบื้องต้นว่าอย่างไร ดังนั้น นักวิจัยต้องอธิบายโดยการเขียนในหัวข้อต่อไปนี้ให้ชัดเจนคือ ที่มาและควาทสำคัญของการวิจัย คำถามการวิจัย จุดมุ่งหมายการวิจัย ขอบเขตการวิจัย และ ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัย โดยในแต่ละหัวข้อมีรายละเอียดที่สำคัญคือ ที่มาหรือภูมิหลังของประเด็นปัญหา ให้เขียนเกี่ยวกับ สถานภาพของปรากฏการณ์ ว่ามีปัญหาอย่างไร เช่นถ้าตัวแปรตามเป็นความพึงพอใจต่อการบริการ ก็ต้องแสดงสถิติของ ความพึงพอใจที่มีตำ่กว่าเป้า หรือมีการบ่นว่าของผู้รับบริการ และถ้าปัญหานั้นเป็นปัญหาทางวิชาการก็ต้องแสดงให้เห็นว่า การวิจัยในอดีตอธิบายในเรื่องเหล่านั้นแล้วยังมีปัญหาของความรู้ความเข้าใจ ความคลาดเคลื่อนของการอธิบายตรงจุดไหน โดยอาจวิเคราะห์ให้เห็นว่าข้อสรุปของงานวิจัยที่ผ่านมา ยังอธิบายได้น้อย ความสำคัญของการวิจัย ต้องเขียนให้สอดคล้องว่า เมื่ิอทำวิจัยแล้วจะเกิดประโยชน์เชิงมูลค่า หรือคุณค่าเพิ่มอย่างไร และในเชิงวิชาการจะทำให้สร้างความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ มีดีกว่าเดิมอย่างไร คำถามการวิจัยและจุดมุ่งหมายก็อาจเลือกเขียนอันหนึ่งก็ได้ จุดอ่อนของการเขียนมักพบว่า แยกจุดประสงค์หลักและรองไม่ชัดเจน เขียนจุดมุ่งหมายค์มากข้อเกินไป เขียนจุดมุ่งหมายหลักไม่เป็นภาพต่อของจุดมุ่งหมายรอง ใช้คำที่เน้นกระบานกรวิจัยมากกว่าเป้าหมายของการวิจัย เขียนไม่สะท้อนวิธีวิทยาของการวิจัยในจุดประสงค์ เอาผลหรือประโยชน์ จากการวิจัยมาเขียนเป็นจุดมุ่งหมาย เขียนหลายข้อที่ซ้อนกันเอง ใช้คำที่ไม่สะท้อนตัวแปร หรือเป้าหมายของความรู้ที่ชัดเจน ขอบเขตของการวิจัย เขียนให้ครอบคลุม ว่างานนี้มีขอบเขตด้านกลุ่มเป้าหมาย ขอบเขตด้านวิธีวิจัย และขอบเขตด้านทบ. ใด นอกจากนี้นักวิจัยที่ดีความเข้าใจและเขียนแสดงจุดยืนข้อตกลงเบื้องต้ยของการวิจัยโดย กล่าวถึงความเชื่อเกี่ยวกับ ontology หรือ epistemology ของตนด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น