เป็นงานของ หนึ่งในนักปรัชญาผู้ก่อตั้งกลุ่ม Existentialism คือ Kierkegaard
เป็นคน เดนมาร์ค เรื่องนี้คงต้องอ่านหลายครั้ง แต่การอ่านรอบแรกนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อดูการเขียนงานการค้นพบความรู้ความจริง ที่พบว่ามีความลุ่มลึกในการตีความเป็นอย่างมากโดยใช้การเขียนในแนวของการพรรณนา ไม่เน้นแสดงวิธีการของการค้นหาความรู้ความจริง ซึ่งอ่านจากหนังสือเล่มอื่นก็ได้รับความกระจ่างว่า ความชัดเจนของวิธีวิทยาของปรัชญากลุ่มนี้มาปรากฏขึ้นในสมัยของ Heidegger
งานเขียนนี้กล่าวพรรณนาถึง ความตระหนัก และความรู้ตัว(conscious)
ของปรากฏการณ์ของล้มเหลวที่จะเป็นตัวตนของตัวเอง และความล้มเหลวนี้
ที่เปรียบเหมือน การป่วยใกล้ความตาย (sickness unto death) โดยแบ่งเป็น 2 บท
บทแรกเป็นการพรรณนา เกี่ยวกับ self ว่ามนุษย์เราต้องการบรรลุเป้าหมายของ self คือ เราเป็นอะไร เราสามารถเป็นอะไร และเราควรเป็นอะไร นี้ต้องสมดุล
ที่นี้ก็เป็นไปได้ว่ามันไม่สมดุล ซึ่งเป็นการป่วยของจิตวิญญาณ และของตัวตนของเรา เรียกว่าความสิ้นหวัง(despair)แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
แบบแรกเป็นแบบที่เรามิได้รู้ตัวว่าเราได้สิ้นหวัง แบบที่สองและแบบที่สามเป็นพวกที่พยายามที่จะหนีไปจากความเป็น self เพียงเพราะไม่ต้องการเผชิญกับ ความไม่รู้ความไม่แน่ใจ ความกังวล กล่าวคือ
แบบที่ 2 แบบที่ไม่ต้องการจะสิ้นความหวังกับการเป็น self แต่ไม่ทำอะไร
แบบที่ 3 ไม่พยายามจะคงความเป็น self แต่หลีกหนี ไปสู่ทางอื่น ที่ไม่เป็น selfอีกต่อไป
ทั้งหมดนี้ล้วนป่วยใกล้ตายทั้งสิ้น
บทที่ 2 กล่าวถึง การสิ้นหวังว่าเป็นบาปอันนี้อ่านยากเนื่องจาก มันเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาด้วย
สิ่งที่น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีคือวิธีการตั้งคำถามและตอบคำถามของการเขียนในแนวปรัชญ ที่แตกต่างจากการเขียนงานวิจัยที่เป็น empirical research
วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
Fact, Truth, and Reality และ Phenomenology
Fact หมายถึง การระบุเกี่ยวกับสิ่งใดๆ ว่าเป็น สิ่งที่เห็นได้ ไม่ขึ้นกับความเชื่อหรือ การตีความใดๆ เช่น การที่พระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออกเป็น Fact เพราะสามารถเห็นได้ที่จุดต่างๆของโลก ส่วนมากเท่าที่เห็น fact จะเป็นการระบุเกี่ยวกับ สถานการณ์ สิ่งที่ ที่เป็นทางวิทยาศาสตร์ เช่นที่ให้ตัวอย่างข้างต้นเกี่ยวกับการขึ้นของพระอาทิตย์
Truth เดิมก็เป็นอิสระจากความเชื่อของคนเหมือนกัน แต่ปัจจุบันไม่ใช่ บางเรื่อง บางสถานการณ์ก็บอกได้ว่า เป็นความจริง(truth) ถ้ามี 2คนขึ้นไปเห็นตรงกันก็เป็นความจริงได้ คำว่า truth นี้เป็นคำสำคัญของ Phenomenology เพราะ มีคำอยู่ 2 คำที่อ่านเจอคือ คำแรก disquotational theory of truth และ two kinds of truth
Disquotational theory of truth เป็นวิธีการหาข้อสรุปว่าสิ่งใดเป็นจริงหรือเป็นเท็จ( true or false) ที่เริ่มจากการรับรู้ 3 ขั้น คือ state of affair simply, state of affair as proposed, state of affair as confirm ยกตัวอย่างเช่น
กรณีแรกในการที่เราไปสัมภาษณ์คนไข้ นาย ก เมื่อ วันที่ 20 พ.ค 2553 แล้วเค้าให้ความเห็นว่า "ความตายเป็นความสุข " อันนี้ขั้นแรกเรารับรู้เหมือนว่ามันเป็นอย่างนั้น ต่อมาเราเริ่มมีข้อสงสัยว่าอาจไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้ เพราะดู นาย ก ไม่น่าจะมีความสุข ดังนั้นเราอยู่ในขั้นที่ 2 คือ เรารับว่า ความตายเป็นความสุข ตามคำกล่าวของ นาย ก ( อันนี้เรียกว่า เป็นความจริง ตามคำกล่าวของนาย ก มีการ quotation)
ในวันต่อๆมา นายก บอกว่าความตายเป็นความทุกข์ จะเห็นว่า ขณะนี้ "ความตายคือความสุข" มิใช่ ความจริง ของทุกเวลาของนายก แต่เป็นความเห็น ในวันที่20 พ.ค ดังนั้น ในกรณีของ นาย ก เราไม่สามารถยืนยันได้ และเราไม่สามารถ disquotation ได้
กรณีที่ 2 อาจารย์ไก่สวมสร้อยเพชรมา แล้วบอกกุ้งว่า นี่เป็นเพชรแท้ ขั้นแรกกุ้งก็รับข้อมูลเป็นเห็นตามนั้น ต่อมากุ้งก็สงสัยว่า อาจไม่ใช่เพราะ อจ.ไม่น่าจะมีเงินมากขนาดชื้อสร้อยเพชรแท้แล้วใส่เดินไปมาประหนึ่งว่าเป็นของธรรมดา ดังนั้นขณะนี่อยู่ในขั้น 2 คือ ขั้นที่รับว่าสร้อยเป็นเพชรแท้ จากคำกล่าวของอจ.ไก่ อันนี้เรียกว่ามี quotation ต่อมาเราก็ได้มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมทางวิทยาศาสตร์เช่น เอาเครื่องมาตรวจ เอาไปชั่ง น้ำหนัก ก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นของแท้ อันนี้เรียกว่า confirm และ disquotation อันนี้ก็สรุปได้ว่า สร้อยข้อมือนี้เป็นเพชรแท้ นี้เป็นจริง(truth) อิๆๆ บอกแล้วไม่เชื่อ
คำต่อมาบอกว่า truth มี 2 แบบคือ truth of correctness และ truth of disclosure ในแบบแรกเราจะสามารถสรุปได้ว่า สิ่งใดเป็นจริงในแบบแรกทำโดยการทดลองและตรวจสอบว่า สิ่งนั้น คำกล่าวนั้นถูก หรือผิด( true or false) แบบแรกนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นการทดสอบเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นได้ จับต้องได้
ความจริงในแบบที่ 2 เป็น ความจริงจากสิ่งที่ปรากฏ เช่น เราเดินไปเห็นล้อรถยางติดดิน แล้วเราบอกว่ารถยางแบน และในแบบที่สองนี้เองที่อาจทำให้เราต้องหาวิธีการที่จะหาข้อสรุปว่าจริงหรือยากขึ้น
คำสุดท้าย Reality เป็นสภาวะของความเป็นจริง หรือเป็นสภาวะของการมีอยู่จริงหรือไม่ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สถานการณ์ใด สถานการณ์หนึ่ง การมีอยู่จริงนี้อาจจะโดยการเห็นด้วยประสาทสัมผัสหรือ การมีอยู่จริงในแง่ของการมีความหมายและมีความเข้าใจก็ได้ ใน Pheno การมีอยู่จริงอาจหมายถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนๆหนึ่ง และประสบการณ์นั้นก็เหมือนกับของคนอื่นๆ หรือ อาจเป็นประสบการณ์เฉพาะของตัวเขาคนเดียวที่บอกใครไม่ได้ ก็จัดเป็น reality ได้
Truth เดิมก็เป็นอิสระจากความเชื่อของคนเหมือนกัน แต่ปัจจุบันไม่ใช่ บางเรื่อง บางสถานการณ์ก็บอกได้ว่า เป็นความจริง(truth) ถ้ามี 2คนขึ้นไปเห็นตรงกันก็เป็นความจริงได้ คำว่า truth นี้เป็นคำสำคัญของ Phenomenology เพราะ มีคำอยู่ 2 คำที่อ่านเจอคือ คำแรก disquotational theory of truth และ two kinds of truth
Disquotational theory of truth เป็นวิธีการหาข้อสรุปว่าสิ่งใดเป็นจริงหรือเป็นเท็จ( true or false) ที่เริ่มจากการรับรู้ 3 ขั้น คือ state of affair simply, state of affair as proposed, state of affair as confirm ยกตัวอย่างเช่น
กรณีแรกในการที่เราไปสัมภาษณ์คนไข้ นาย ก เมื่อ วันที่ 20 พ.ค 2553 แล้วเค้าให้ความเห็นว่า "ความตายเป็นความสุข " อันนี้ขั้นแรกเรารับรู้เหมือนว่ามันเป็นอย่างนั้น ต่อมาเราเริ่มมีข้อสงสัยว่าอาจไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้ เพราะดู นาย ก ไม่น่าจะมีความสุข ดังนั้นเราอยู่ในขั้นที่ 2 คือ เรารับว่า ความตายเป็นความสุข ตามคำกล่าวของ นาย ก ( อันนี้เรียกว่า เป็นความจริง ตามคำกล่าวของนาย ก มีการ quotation)
ในวันต่อๆมา นายก บอกว่าความตายเป็นความทุกข์ จะเห็นว่า ขณะนี้ "ความตายคือความสุข" มิใช่ ความจริง ของทุกเวลาของนายก แต่เป็นความเห็น ในวันที่20 พ.ค ดังนั้น ในกรณีของ นาย ก เราไม่สามารถยืนยันได้ และเราไม่สามารถ disquotation ได้
กรณีที่ 2 อาจารย์ไก่สวมสร้อยเพชรมา แล้วบอกกุ้งว่า นี่เป็นเพชรแท้ ขั้นแรกกุ้งก็รับข้อมูลเป็นเห็นตามนั้น ต่อมากุ้งก็สงสัยว่า อาจไม่ใช่เพราะ อจ.ไม่น่าจะมีเงินมากขนาดชื้อสร้อยเพชรแท้แล้วใส่เดินไปมาประหนึ่งว่าเป็นของธรรมดา ดังนั้นขณะนี่อยู่ในขั้น 2 คือ ขั้นที่รับว่าสร้อยเป็นเพชรแท้ จากคำกล่าวของอจ.ไก่ อันนี้เรียกว่ามี quotation ต่อมาเราก็ได้มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมทางวิทยาศาสตร์เช่น เอาเครื่องมาตรวจ เอาไปชั่ง น้ำหนัก ก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นของแท้ อันนี้เรียกว่า confirm และ disquotation อันนี้ก็สรุปได้ว่า สร้อยข้อมือนี้เป็นเพชรแท้ นี้เป็นจริง(truth) อิๆๆ บอกแล้วไม่เชื่อ
คำต่อมาบอกว่า truth มี 2 แบบคือ truth of correctness และ truth of disclosure ในแบบแรกเราจะสามารถสรุปได้ว่า สิ่งใดเป็นจริงในแบบแรกทำโดยการทดลองและตรวจสอบว่า สิ่งนั้น คำกล่าวนั้นถูก หรือผิด( true or false) แบบแรกนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นการทดสอบเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นได้ จับต้องได้
ความจริงในแบบที่ 2 เป็น ความจริงจากสิ่งที่ปรากฏ เช่น เราเดินไปเห็นล้อรถยางติดดิน แล้วเราบอกว่ารถยางแบน และในแบบที่สองนี้เองที่อาจทำให้เราต้องหาวิธีการที่จะหาข้อสรุปว่าจริงหรือยากขึ้น
คำสุดท้าย Reality เป็นสภาวะของความเป็นจริง หรือเป็นสภาวะของการมีอยู่จริงหรือไม่ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สถานการณ์ใด สถานการณ์หนึ่ง การมีอยู่จริงนี้อาจจะโดยการเห็นด้วยประสาทสัมผัสหรือ การมีอยู่จริงในแง่ของการมีความหมายและมีความเข้าใจก็ได้ ใน Pheno การมีอยู่จริงอาจหมายถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนๆหนึ่ง และประสบการณ์นั้นก็เหมือนกับของคนอื่นๆ หรือ อาจเป็นประสบการณ์เฉพาะของตัวเขาคนเดียวที่บอกใครไม่ได้ ก็จัดเป็น reality ได้
วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
เลือกวิธีวิจัยระหว่าง Grounded theory, Phenomenology, Ethnography (ตอน 1)
เลือกวิธีวิจัยระหว่าง Grounded theory, Phenomenology, Ethnography (ตอน 1)
เรื่องก็มีอยู่ว่า หลังจากเราเลือกแล้วว่าคำถามวิจัยแบบนี้ ฉันจะใช้วิธีวิทยาอันนี้ แต่เมื่อไปเจอ ใครคนหนึ่งทักว่า ว่าน่าจะเป็นวิธีอื่นมากกว่านะ แล้วก็จะปกป้องตัวเองอย่างไร มันก็ต้องมาจากการคิดให้เป็นแล้วอธิบายให้ได้ วิธีการอธิบายคงมีหลายวิธี แต่วิธีหนึ่งคือความเข้าใจเกี่ยวกับ world view หรือวิธีคิดที่เป็นข้อตกลงในการสร้างความรู้ 3 ตัว ได้แก่ Ontology Epistemology และ Methodology
ตัวแรก Ontology หมายถึงเราต้องเข้าใจว่า ความจริง สิ่งที่ปรากฏจริง ความเป็นจริง (reality=actual existence) ของสิ่งที่เรากำลังจะทำการวิจัยนั้น 1) เป็นความเป็นจริง แบบไหนและ มีธรรมชาติเป็นอย่างไร และ 2) เราสามารถรู้อะไรบ้างในความเป็นจริงนั้น
ตัวอย่างที่ 1 เรากำลังทำวิจัยเกี่ยวกับ เด็กที่เป็นโรคอ้วน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ อธิบายว่า เขาสามารถลดพฤติกรรมการกิน และเพิ่มพฤติกรรมการออกกำลังการได้ เขามีกระบวนการอย่างไร
ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ontology ของงานวิจัยเรื่องนี้ ประเด็นแรก ถามว่า ความเป็นจริงในเรื่องนี้เป็นแบบไหน และเราสามารถรู้อะไรบ้างในความจริงนั้น พฤติกรรมนี้ กระบวนการนี้ นักวิจัย มองว่าอะไรบ้างที่เรารู้ และที่เราว่ารู้นั้นมันเป็นจริง(true) หรือ แค่คิดว่ามันว่ามันอาจเป็น นักวิจัยสามารถยืนยันความจริงนี้ได้หรือไม่
ในการศึกษาเรื่องนี้อะไรบ้างที่เราคิดว่าเรารู้และมีความรู้เกี่ยวกับมัน เกี่ยวกับโรคอ้วน เราบอกว่า มี น้ำหนัก ส่วนสูง มีพฤติกรรมการกิน พฤติกรรมการออกกำลังกาย มี กระบวนการทางจิตใจและสังคม ในการบรรลุเป้าหมาย มีความรู้ในเรื่องใดที่เป็นความจริง และความรู้เรื่องใดที่เป็นเรื่องที่อาจจะเป็น
ในความเห็นของอจ.คิดว่านักวิจัยต้องสร้างความเชื่อนี้ด้วยตัวเองก่อนการทำวิจัย ถ้าเราเชื่อว่าสิ่งที่เราศึกษา ความรู้ที่มีอยู่ เป็นความจริง “reality is a true state of affairs” คือเชื่อว่าสิ่งที่เรากำลังศึกษามีลักษณะที่เป็นจริง เราสามารถยืนยันได้ว่ามันมีจริงมิได้เกิดขึ้นชั่วขณะ ชั่วคราว ไม่ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ เช่น เราเชื่อว่า พฤติกรรมของคนเป็นจริง กระบวนการทางจิตใจ กระบวนการทางสังคม เป็นจริง
เอาละที่นี้มาวิเคราะห์กันต่อ ว่า แล้ว GT เค้าเชื่ออย่างไร อันนี้มีบทความที่อ้างว่า ผู้สร้าง GT สมัยแรกโดยเฉพาะ Glaser เชื่อว่า ความเป็นจริง นั้นเป็น “true state of affairs” คือสามารถยืนยันได้ ( เหมือนพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก นั้น true สามารถยืนยันได้ โดยการไปรอดูทางทิศตะวันออกของทุกเช้า ของทุกมุมของบ้าน เป็นต้น) ในขณะที่ Strauss & Corbin มีความเห็นว่า ความเป็นจริง นั่นอาจเปลี่ยนไปตามเวลาและสถานที่ ดังนั้นนักวิจัยที่จะใช้ GT อาจมีความเชื่อแบบใดแบบหนึ่งแล้วแต่ว่าจะเป็นแบบของ Glaser หรือ Strauss & Corbin ซึ่งในแบบหลังนี้ก็ใช้การวิเคราะห์ ที่เรียกว่า conditional matrix ในการยืนยันข้อสรุปของ GT คำถามของการวิจัย จึงต้องการระบุว่า มี อะไรที่ใช้ในการอธิบายได้บ้าง และการอธิบายเป็นอย่างไร
ในขณะที่ Phenomenology ตามแบบ ของ Heideggerian นั้นเป็นที่แน่นอนว่า มีความเชื่อว่า ความเป็นจริงเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษานั้น เป็น การตีความของบุคคลและขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ คำถามของการวิจัยจึงต้องการทำความเข้าใจว่าบุคคลมีการตีความประสบการณ์ของตนเองอย่างไร
สำหรับ Ethnography ก็น่าจะเป็นแบบเดี่ยวกับ Pheno คือ ความเป็นจริงนั้น เป็นการตีความของผู้วิจัย คำถามของการวิจัยจึงเป็นการถามว่า จากประสบการณ์ของการเข้าไปสังเกต นักวิจัยคิดว่า ความเชื่อ วัฒนธรรม สังคมมีผลต่อคนในสังคมอย่างไร
ตอนต่อไปจะเป็นการดูที่ epistemology และ methodology
เรื่องก็มีอยู่ว่า หลังจากเราเลือกแล้วว่าคำถามวิจัยแบบนี้ ฉันจะใช้วิธีวิทยาอันนี้ แต่เมื่อไปเจอ ใครคนหนึ่งทักว่า ว่าน่าจะเป็นวิธีอื่นมากกว่านะ แล้วก็จะปกป้องตัวเองอย่างไร มันก็ต้องมาจากการคิดให้เป็นแล้วอธิบายให้ได้ วิธีการอธิบายคงมีหลายวิธี แต่วิธีหนึ่งคือความเข้าใจเกี่ยวกับ world view หรือวิธีคิดที่เป็นข้อตกลงในการสร้างความรู้ 3 ตัว ได้แก่ Ontology Epistemology และ Methodology
ตัวแรก Ontology หมายถึงเราต้องเข้าใจว่า ความจริง สิ่งที่ปรากฏจริง ความเป็นจริง (reality=actual existence) ของสิ่งที่เรากำลังจะทำการวิจัยนั้น 1) เป็นความเป็นจริง แบบไหนและ มีธรรมชาติเป็นอย่างไร และ 2) เราสามารถรู้อะไรบ้างในความเป็นจริงนั้น
ตัวอย่างที่ 1 เรากำลังทำวิจัยเกี่ยวกับ เด็กที่เป็นโรคอ้วน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ อธิบายว่า เขาสามารถลดพฤติกรรมการกิน และเพิ่มพฤติกรรมการออกกำลังการได้ เขามีกระบวนการอย่างไร
ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ontology ของงานวิจัยเรื่องนี้ ประเด็นแรก ถามว่า ความเป็นจริงในเรื่องนี้เป็นแบบไหน และเราสามารถรู้อะไรบ้างในความจริงนั้น พฤติกรรมนี้ กระบวนการนี้ นักวิจัย มองว่าอะไรบ้างที่เรารู้ และที่เราว่ารู้นั้นมันเป็นจริง(true) หรือ แค่คิดว่ามันว่ามันอาจเป็น นักวิจัยสามารถยืนยันความจริงนี้ได้หรือไม่
ในการศึกษาเรื่องนี้อะไรบ้างที่เราคิดว่าเรารู้และมีความรู้เกี่ยวกับมัน เกี่ยวกับโรคอ้วน เราบอกว่า มี น้ำหนัก ส่วนสูง มีพฤติกรรมการกิน พฤติกรรมการออกกำลังกาย มี กระบวนการทางจิตใจและสังคม ในการบรรลุเป้าหมาย มีความรู้ในเรื่องใดที่เป็นความจริง และความรู้เรื่องใดที่เป็นเรื่องที่อาจจะเป็น
ในความเห็นของอจ.คิดว่านักวิจัยต้องสร้างความเชื่อนี้ด้วยตัวเองก่อนการทำวิจัย ถ้าเราเชื่อว่าสิ่งที่เราศึกษา ความรู้ที่มีอยู่ เป็นความจริง “reality is a true state of affairs” คือเชื่อว่าสิ่งที่เรากำลังศึกษามีลักษณะที่เป็นจริง เราสามารถยืนยันได้ว่ามันมีจริงมิได้เกิดขึ้นชั่วขณะ ชั่วคราว ไม่ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ เช่น เราเชื่อว่า พฤติกรรมของคนเป็นจริง กระบวนการทางจิตใจ กระบวนการทางสังคม เป็นจริง
เอาละที่นี้มาวิเคราะห์กันต่อ ว่า แล้ว GT เค้าเชื่ออย่างไร อันนี้มีบทความที่อ้างว่า ผู้สร้าง GT สมัยแรกโดยเฉพาะ Glaser เชื่อว่า ความเป็นจริง นั้นเป็น “true state of affairs” คือสามารถยืนยันได้ ( เหมือนพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก นั้น true สามารถยืนยันได้ โดยการไปรอดูทางทิศตะวันออกของทุกเช้า ของทุกมุมของบ้าน เป็นต้น) ในขณะที่ Strauss & Corbin มีความเห็นว่า ความเป็นจริง นั่นอาจเปลี่ยนไปตามเวลาและสถานที่ ดังนั้นนักวิจัยที่จะใช้ GT อาจมีความเชื่อแบบใดแบบหนึ่งแล้วแต่ว่าจะเป็นแบบของ Glaser หรือ Strauss & Corbin ซึ่งในแบบหลังนี้ก็ใช้การวิเคราะห์ ที่เรียกว่า conditional matrix ในการยืนยันข้อสรุปของ GT คำถามของการวิจัย จึงต้องการระบุว่า มี อะไรที่ใช้ในการอธิบายได้บ้าง และการอธิบายเป็นอย่างไร
ในขณะที่ Phenomenology ตามแบบ ของ Heideggerian นั้นเป็นที่แน่นอนว่า มีความเชื่อว่า ความเป็นจริงเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษานั้น เป็น การตีความของบุคคลและขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ คำถามของการวิจัยจึงต้องการทำความเข้าใจว่าบุคคลมีการตีความประสบการณ์ของตนเองอย่างไร
สำหรับ Ethnography ก็น่าจะเป็นแบบเดี่ยวกับ Pheno คือ ความเป็นจริงนั้น เป็นการตีความของผู้วิจัย คำถามของการวิจัยจึงเป็นการถามว่า จากประสบการณ์ของการเข้าไปสังเกต นักวิจัยคิดว่า ความเชื่อ วัฒนธรรม สังคมมีผลต่อคนในสังคมอย่างไร
ตอนต่อไปจะเป็นการดูที่ epistemology และ methodology
วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
สามเกลอใน phenomenology
ใน Pheno (เขียนย่อนะมันขี้เกียจ) เค้าว่าในการวิเคราะห์จะพบโครงสร้างของ ปรากฎการณ์ 3 แบบคือ( ไอ้สามแบบนี้ถ้าเราเข้าใจมันจะช่วยเข้าใจเวลาอ่านข้อมูล และในการสร้าง theme
1. แบบpart and whole (องค์รวมและส่วนประกอบ) หมายถึงโครงสร้างของปรากฎการณ์ที่ประกอบด้วย whole และ part คือน่าจะเรียกว่า องค์รวม และ ส่วนประกอบ ซึ่งในส่วนประกอบนี้ยังแบ่งเป็น piece and moment หรือ เป็น ส่วนประกอบที่เป็นอิสระ และ ส่วนประกอบที่ไม่เป็นอิสระ อุ้ย! อารายเนี่ย ดูตัวอย่างนะ เช่นถ้าเรา ดูต้นไม้ เป็นองค์รวม ต้นไม้ย่อมมีส่วนประกอบมากมาย หนึ่งในนั้นคือกิ่งไม้ จะเห็นว่ากิ่งไม้ เป็นส่วนประกอบที่เรียกว่า piece ที่สามารถแยกส่วนประกอบนี้ออกเป็นอิสระ ที่เมื่อแยกเป็นอิสระ แล้วก็เป็น ท่อนไม้ ไม่่ใช่สิ่งมีชีวิตอีกต่อไป แต่ก็เป็นส่วนที่มีอยู่ได้ด้วยตัวเอง และเป็นองค์รวมที่มีส่วนประกอบของมันเองและมิใช่ส่วนประกอบของต้นไม้อีกต่อไป
แต่ส่วนประกอบอีกตัวหนึ่งเรียกว่า moment เป็นส่วนประกอบที่ไม่สามารถแยกออกจากองค์รวมได้ ในตัวอย่างเดียวกันการเป็นไม้ยืนต้นไม่สามารถแยกออกจากต้นไม้ได้ หรือ ความทุ้มไม่สามารถแยกส่วนออกมาจากเสียงได้ ในการวิเคราะห์สิ่งใดสิ่งหนึ่งนักวิจัยต้องวิเคราะห์โดยตลอดว่าเรากำลังวิเคราะห์อะไร องค์รวมคืออะไร ส่วนประกอบที่เป็นอิสระ และส่วนประกอบที่ไม่เป็นอิสระคืออะไร ถ้าเราไม่คิดเช่นนี้ แล้วเราไปวิเคราะห์moment เหมือนเป็นส่วนที่เป็นอิสระ เราอาจวิเคราะห์ผิดพลาดไป ดังนั้นเวลาที่เราคิดหรือมองสิ่งใด ต้องคิดว่า มี องค์รววมอะไร ในนั้นมีองค์ประกอบอะไร ส่วนประกอบใดเป็น part ส่วนใดเป็น moment
ความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นคือเราพูดถึงส่วนประกอบ ส่วนเดียว โดยไม่พูดถึงส่วนประกอบอื่นๆขององค์รวม หรือเราแยก moment ออกมาเหมือนมันเป็นอิสระ
ตัวที่สองของสามเกลอ คือ identity in manifolds (เอกลักษณ์ในความหลากหลาย หรือ one in many) หมายความว่าในเหตุการณ์ หรือข้อเท็จจริงหนึ่ง มีความหลากหลายของมุมมอง ความเห็น เช่น เหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 2553 ณ ราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร เป็นเหตุการณ์เดี่ยวกัน แต่การเล่าของเสื้อแดง ทหาร รัฐบาล คนที่เห็น คนที่อยู่ในเหตุการณ์มีความแตกต่างกัน หรือ การที่เราพูดว่า ฉันรักเธอ ด้วยน้ำเสียงที่แตกต่างกัน ตะโกน กระซิบ ก็เป็นความหลากหลาย ภาพโมนาลิซาถูกตีความโดยหลายคนที่ไม่เหมือนกัน การวิเคราะห์ของ pheno เป็นการพรรณา ความหลากหลายของสิ่งเดียวกันจากการให้ความหมายของสิ่งนั้น ในการเก็บข้อมูลที่จะทำให้การวิเคราะห์มีความลุ่มลึก จึงต้องใส่ความหลากหลายมิติของสิ่งที่จะวิเคราะห์และความหลากหลายของผู้ให้ความหมาย
ตัวที่สามในเกลอ คือ the presence and the absence อันนี้น่าจะอธิบายได้ว่าให้การให้ความหมายกับประสบการณ์หนึ่งๆเราต้องตระหนักว่า มันมีลักษณะของการให้ความหมายในขณะที่เราเผชิญหน้าหรืออยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ( อันนี้เรียกว่า presence) และการให้ความหมายก่อนที่เราจะประสบเหตุการณ์ หรือ การให้ความหมายเมื่อเหตุการณ์นั้นได้ผ่านไปแล้ว(อันนี้เรยกว่า absence) ทั้งสามนี้มีความแตกต่างกัน และมีรายละเอียดอีกมากมาย
อย่างไรก็ตามบทสรุปก็คือนักวิจัยที่สนใจศึกษาปรากฎการณ์ต้องคำนึงถึงคำถามวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน 3 เรื่องนี้
1. แบบpart and whole (องค์รวมและส่วนประกอบ) หมายถึงโครงสร้างของปรากฎการณ์ที่ประกอบด้วย whole และ part คือน่าจะเรียกว่า องค์รวม และ ส่วนประกอบ ซึ่งในส่วนประกอบนี้ยังแบ่งเป็น piece and moment หรือ เป็น ส่วนประกอบที่เป็นอิสระ และ ส่วนประกอบที่ไม่เป็นอิสระ อุ้ย! อารายเนี่ย ดูตัวอย่างนะ เช่นถ้าเรา ดูต้นไม้ เป็นองค์รวม ต้นไม้ย่อมมีส่วนประกอบมากมาย หนึ่งในนั้นคือกิ่งไม้ จะเห็นว่ากิ่งไม้ เป็นส่วนประกอบที่เรียกว่า piece ที่สามารถแยกส่วนประกอบนี้ออกเป็นอิสระ ที่เมื่อแยกเป็นอิสระ แล้วก็เป็น ท่อนไม้ ไม่่ใช่สิ่งมีชีวิตอีกต่อไป แต่ก็เป็นส่วนที่มีอยู่ได้ด้วยตัวเอง และเป็นองค์รวมที่มีส่วนประกอบของมันเองและมิใช่ส่วนประกอบของต้นไม้อีกต่อไป
แต่ส่วนประกอบอีกตัวหนึ่งเรียกว่า moment เป็นส่วนประกอบที่ไม่สามารถแยกออกจากองค์รวมได้ ในตัวอย่างเดียวกันการเป็นไม้ยืนต้นไม่สามารถแยกออกจากต้นไม้ได้ หรือ ความทุ้มไม่สามารถแยกส่วนออกมาจากเสียงได้ ในการวิเคราะห์สิ่งใดสิ่งหนึ่งนักวิจัยต้องวิเคราะห์โดยตลอดว่าเรากำลังวิเคราะห์อะไร องค์รวมคืออะไร ส่วนประกอบที่เป็นอิสระ และส่วนประกอบที่ไม่เป็นอิสระคืออะไร ถ้าเราไม่คิดเช่นนี้ แล้วเราไปวิเคราะห์moment เหมือนเป็นส่วนที่เป็นอิสระ เราอาจวิเคราะห์ผิดพลาดไป ดังนั้นเวลาที่เราคิดหรือมองสิ่งใด ต้องคิดว่า มี องค์รววมอะไร ในนั้นมีองค์ประกอบอะไร ส่วนประกอบใดเป็น part ส่วนใดเป็น moment
ความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นคือเราพูดถึงส่วนประกอบ ส่วนเดียว โดยไม่พูดถึงส่วนประกอบอื่นๆขององค์รวม หรือเราแยก moment ออกมาเหมือนมันเป็นอิสระ
ตัวที่สองของสามเกลอ คือ identity in manifolds (เอกลักษณ์ในความหลากหลาย หรือ one in many) หมายความว่าในเหตุการณ์ หรือข้อเท็จจริงหนึ่ง มีความหลากหลายของมุมมอง ความเห็น เช่น เหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 2553 ณ ราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร เป็นเหตุการณ์เดี่ยวกัน แต่การเล่าของเสื้อแดง ทหาร รัฐบาล คนที่เห็น คนที่อยู่ในเหตุการณ์มีความแตกต่างกัน หรือ การที่เราพูดว่า ฉันรักเธอ ด้วยน้ำเสียงที่แตกต่างกัน ตะโกน กระซิบ ก็เป็นความหลากหลาย ภาพโมนาลิซาถูกตีความโดยหลายคนที่ไม่เหมือนกัน การวิเคราะห์ของ pheno เป็นการพรรณา ความหลากหลายของสิ่งเดียวกันจากการให้ความหมายของสิ่งนั้น ในการเก็บข้อมูลที่จะทำให้การวิเคราะห์มีความลุ่มลึก จึงต้องใส่ความหลากหลายมิติของสิ่งที่จะวิเคราะห์และความหลากหลายของผู้ให้ความหมาย
ตัวที่สามในเกลอ คือ the presence and the absence อันนี้น่าจะอธิบายได้ว่าให้การให้ความหมายกับประสบการณ์หนึ่งๆเราต้องตระหนักว่า มันมีลักษณะของการให้ความหมายในขณะที่เราเผชิญหน้าหรืออยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ( อันนี้เรียกว่า presence) และการให้ความหมายก่อนที่เราจะประสบเหตุการณ์ หรือ การให้ความหมายเมื่อเหตุการณ์นั้นได้ผ่านไปแล้ว(อันนี้เรยกว่า absence) ทั้งสามนี้มีความแตกต่างกัน และมีรายละเอียดอีกมากมาย
อย่างไรก็ตามบทสรุปก็คือนักวิจัยที่สนใจศึกษาปรากฎการณ์ต้องคำนึงถึงคำถามวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน 3 เรื่องนี้
สามเกลอใน grounded theory
ความแข็งแกร่งของ GT ขึ้นอยู่กับผู้ใช้มีความเข้าใจในเทคนิคต่อไปนี้คือ micro analysis คงจะใช้ว่าการวิเคราะห์เนื้อหาอย่างละเอียด เรื่องนี้ Corbin &Strauss ได้กล่าวไว้ว่า ก็อยู่ในเรื่องของการทำ open coding นั่นแหละ กล่าวคือขณะที่เราทำ การลงรหัส เราก็หยิบเอาข้อมูลมา 1 ท่อน(อันนี้เรียกเป็นท่อนๆดูเป็นไทยๆดี)แล้วเราต้องวิเคราะห์ความหมายของข้อมูลท่อนนั้นว่าใครพูด ที่เค้าพูดเค้าหมายถึงอะไร แล้วผู้วิจัยจึงหาคำมาแทนเนื้อหาที่กล่าวถึงในข้อมูลท่อนนั้น การทำ micro analysis ถ้าสามารถทำกันได้อย่างลึกซึ้งเท่าไร ก็เป็นผลดีต่อ การตีความผลของการวิจัยในภายหลัง ตัวต่อไปคือ constant comparison อันนี้หมายถึงการเปรียบเทียบเพื่อหาความคล้าย และความต่าง เทคนิคที่น่าจะใช้ตลอดในการวิเคราะห์ข้อมูลนับแต่ open ans axial coding เพราะนักวิจัยเมื่ออ่านข้อมูลแต่ละบรรทัด (line by line analysis) จะถามตัวเองว่าบรรทัดนี้ให้อะไร ที่แตกต่างจากบรรทัดที่ผ่านมาหรือไม่ หรือถามว่า การกำหนด รหัสนี้เหมือนหรือแตกต่างจาก รหัสที่กำหนดมาแล้วหรือไม่อย่างไร ถ้าผู้วิจัยใช้เทคนิคนี้ก็จะสามารถกำหนด Theme หรือ categories ได้ชัดเจนขึ้น ดังนั้นในระหว่างการวิเคราะห์ก็ต้องมีสมุดโน้ตไว้ข้างๆตัว ตัวที่สามในสามเกลอนี้คือ theoretical sampling ซึ่งหมายถึงการเลือกตัวอย่างจากข้อค้นพบ(ในGT) ซึ่งอันนี้แตกต่างจากการวิจัยแบบอื่นๆที่ผู้วิจัยกำหนดจำนวนตัวอย่างและลักษณะของตัวอย่างไว้ล่างหน้า แต่ใน GT เมื่อเริ่มวิเคราะห์ข้อมูลจะพบ theme แล้วผู้วิจัยก็จะตั้งคำถามว่า ถ้าจะมี ความชัดเจนมากขึ้นจะต้องไปเก็บข้อมูลกับใครต่อไป โดยทั้วไปนักวิจัยก็จะคิดว่าโอ้แม่เจ้าแล้วจะต้องเก็บข้อมูลกันใหม่เรื่อยๆหรืออย่างไร ก็มีความจริงอยู่ว่า การกลับไปวิเคราะห์ข้อมูลเดิมใหม่ก็เป็นส่วนหนึ่งของ เกลอตัวที่สามนี้ได้เหมือนกัลย์
สามเกลอนี้เป็นจุกแข็งของ GT ที่ผู้ใช้ ต้องฝึกฝนจนถึงขั้นที่ "สามารถชักกระบี่ออกมาอย่างรวดเร็วจนมองไม่ทัน เลยทีเดียว"
สามเกลอนี้เป็นจุกแข็งของ GT ที่ผู้ใช้ ต้องฝึกฝนจนถึงขั้นที่ "สามารถชักกระบี่ออกมาอย่างรวดเร็วจนมองไม่ทัน เลยทีเดียว"
วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยตามแนวทาง grounded theoryมีลักษณะที่เป็นทั้งlinear และnon linear คือเดินไปตามขั้น1,2,3และบางครั้งก็วกกลับมาที่ขั้น1ใหม่ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ขั้น 1 ลงระหัสเน้นเนื้อหาของข้อมูล(substantive coding หรือ open coding) อันนี้บางครั้งระหัสที่ให้มาการสิ่งที่ปรากฏในเนิ้อหา
ขั้น 2 ประกอบด้วยขั้นย่อย A,B,C ดังนี้
A: ทำการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูล กรณีตัวอย่าง การจัดประเภทเพื่อมองหาความคล้ายคลึงหรือความแตกต่าง (constant comparison:เปรียบเทียบความคงที่)
B: สุ่มตัวอย่างใหม่เพื่อการความครอบคลุมและลุ่มลึกของทบ
C: เขียนบันทึกเกี่ยวกับการเกิดของ ความหมายใหม่ สังกัปใหม่ โดยเชื่อมกับทบ.เดิม
ขั้น3 ประกอบด้วยขั้นย่อย A, B ดังนี้
A.เกิดสังกัปใหม่ที่เป็น สังกัปแก่น(axial code) และที่เป็น สังกัปของการอธิบายทบ.(Selective code)
B. ทำการลงระหัส เก็บข้อมูลเพิ่ม เปรียบเที่ยบความคงที่จนกระทั้งไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติมใหม่ๆ(theoretical saturation) ก็หยุด
ขั้น4 การวิเคราะห์เพื่อการสรุปทฤษฎี ที่ต้องเริ่มตั้งแต่การพรรณา จากรหัสพื้นฐาน รวมกลุ่มรหัส จัดประเภท เขียนคำนิยามสังกัปแก่น สร้างกรอบการอธิบาย เชื่อมต่อกับผลการวิจัยและทฤษฎีอื่นๆ เขียบบันทึกขยายความข้อค้นพบของทฤษฎี
การวิเคราะห์ใน 3 ขั้นแรกนี้จะย้อนกลับไปทำซ้ำในขั้นตอนก่อนหน้าได้
ขั้น 1 ลงระหัสเน้นเนื้อหาของข้อมูล(substantive coding หรือ open coding) อันนี้บางครั้งระหัสที่ให้มาการสิ่งที่ปรากฏในเนิ้อหา
ขั้น 2 ประกอบด้วยขั้นย่อย A,B,C ดังนี้
A: ทำการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูล กรณีตัวอย่าง การจัดประเภทเพื่อมองหาความคล้ายคลึงหรือความแตกต่าง (constant comparison:เปรียบเทียบความคงที่)
B: สุ่มตัวอย่างใหม่เพื่อการความครอบคลุมและลุ่มลึกของทบ
C: เขียนบันทึกเกี่ยวกับการเกิดของ ความหมายใหม่ สังกัปใหม่ โดยเชื่อมกับทบ.เดิม
ขั้น3 ประกอบด้วยขั้นย่อย A, B ดังนี้
A.เกิดสังกัปใหม่ที่เป็น สังกัปแก่น(axial code) และที่เป็น สังกัปของการอธิบายทบ.(Selective code)
B. ทำการลงระหัส เก็บข้อมูลเพิ่ม เปรียบเที่ยบความคงที่จนกระทั้งไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติมใหม่ๆ(theoretical saturation) ก็หยุด
ขั้น4 การวิเคราะห์เพื่อการสรุปทฤษฎี ที่ต้องเริ่มตั้งแต่การพรรณา จากรหัสพื้นฐาน รวมกลุ่มรหัส จัดประเภท เขียนคำนิยามสังกัปแก่น สร้างกรอบการอธิบาย เชื่อมต่อกับผลการวิจัยและทฤษฎีอื่นๆ เขียบบันทึกขยายความข้อค้นพบของทฤษฎี
การวิเคราะห์ใน 3 ขั้นแรกนี้จะย้อนกลับไปทำซ้ำในขั้นตอนก่อนหน้าได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)