วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

ประเภทของสาระความรู้(information)ที่ต้องการในการทำกรณีศึกษา
1.สาระความรู้เกี่ยวกับบริบทและที่มา(context and background) หมายถึง สาระความรู้ด้านประวัติความเป็นมา โครงสร้างและหน้าที่ทางสังคมของกรณีศึกษา สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของกรณีศึกษา เช่นในกรณีที่ศึกษานักการเมือง ก็ต้องการสาระความรู้เกี่ยวกับ บทบาทหน้าที่ในพรรคการเมือง วัฒนธรรมความเชื่อของพรรคการเมืองที่เป็นสมาชิก หัวหน้าพรรคการเมืองที่สังกัด ปรัชญาของพรรคการเมือง การเก็บข้อมูลทำได้จากการดูเอกสารของพรรค ร่วมกับเอกสารของหนังสือพิมพ์(อันนี้เป็นแหล่งข้อมูลภายนอก)เป็นต้น อันนี้เน้นให้เห็นการเก็บข้อมูลจากหลายแหล่งประกอบการตรวจสอบสามเส้า
2. สาระความรู้ด้านประชากร(demographic) หมายถึง สาระความรู้เกี่ยวกับกรณีศึกษาโดยตรง ด้านการศึกษา อายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ทั้งนี้ข้อมูลส่วนนี้จะช่วยอธิบายการรับรู้ การคิด เจตคติของกรณีศึกษาได้เหมือนกัน การเก็บข้อมูลโดยส่วนใหญ่เป็นการสัมภาษณ์กรณีศึกษาหรือการให้ตอบในแบบบันทึกข้อมูล
3. สาระความรู้ด้านการรับรู้(perceptual information) หมายถึง การรับรู้ของกรณีศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำถามการวิจัยของนักวิจัย ข้อมูลส่วนนี้นักวิจัยควรต้องตระหนักว่าการรับรู้ที่มักได้จากการไปสัมภาษณ์นั้นมิใช่ fact แต่เป็นการรับรู้ fact เป็นการรับรู้ที่ใช้กรอบของตัวกรณีศึกษาเองเป็นหลัก ไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกหรือผิด แต่เป็นการบอกเล่าของกรณีศึกษาในเรื่องราวที่เค้าเชื่อว่าเป็นจริง ดังนั้นการรวบรวมสาระด้านการรับรู้ นักวิจัยจึงต้องมีความลึกซึ้งของการสัมภาษณ์ที่ต้องครอบคลุม การพรรณนาประสบการณ์นั้น การที่ประสบการณ์นั้นมีผลต่อเขา ความรู้สึก การตัดสินใจ การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ
4. สาระความรู้ด้านทฤษฏี(theoretical information) หมายถึงสาระที่ได้จากการทบทวนทบ. งานวิจัยที่นำมาใช้เพื่อการกำหนดวิธีวิทยาของงานวิจัย การตั้งคำถามการวิจัย การตีความ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การสรุปผลการวิจัย
จาก completing your qualitative dissertation, Linda Dale Bloomberg, and Marie Volpe,(2008). sage pub.

วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

ความเที่ยงตรงในงานวิจัยเชิงคุณภาพ
เค้าว่ากันว่าในงานวิจัยเชิงคุณภาพความเที่ยงตรงมาจากการที่นักวิจัย การเลือกตัวอย่าง และการได้ข้อมูล อย่างเหมาะสม ความครอบคลุมและรายละเอียด ความตรงไปตรงมาไม่บิดเบือนในการวิเคราะห์ข้อมูล และการรายงานข้อค้นพบ ซึ่งทั้งหมดนี้มีความเที่ยงตรงที่เกี่ยวข้องกันอยู่ 5 ประการ
1. Witness validity ผู้อ่านที่เห็นข้อมูล วิธีวิจัยและข้อค้นพบของนักวิจัยแล้ว ผู้อ่านดังกล่าว มีความเห็น ความคิด ความรู้สึกที่คล้ายๆกันหรือไม่
2.Touchpoint validity ข้อค้นพบของเรามีการเชื่อมต่อกับทบ. หรืองานวิจัยอื่นหรือไม่ ในลักษณะที่ทำให้ชัดเจนขึ้น ดีขึ้น คือทำให้องค์ความรู้เดิมหนักแน่น ขยาย เชื่อม ปรับ แก้ไข แตกต่าง อย่างไร
3. Efficacy validity ข้อค้นพบมีประโยชน์ ในเชิงวิชาการหรือในทางปฎิบัติ
4. Resonnance validity ข้อมูลและข้อค้นพบเข้ากับความความรู้สึก ความคิดของผู้อ่านหรือไม่ เช่นเราในฐานะที่เป็นคนในกลุ่มนี้เช่นกันของยอมรับข้อมูลและข้อค้นพบนี้
5. Revisionary validity ข้อค้นพบทำให้ผู้อ่านได้ ปรับเปลี่ยน ความเข้าใจในทบ.ความรู้ หรือ เรื่องส่วนตัว บ้างหรือไม่ เมื่อได้อ่านงานวิจัยแล้วก็ทำให้เข้าใจวิธีคิดของชาวสีม่วง สีแดง สีเหลือง มากขึ้นว่าเราเคยมองเขาอย่างไรขณะนี้เรารู้แล้วว่าเราเข้าใจเขาแล้ว
ก็เป็นดังนี้ อาจไม่ชัดเจนในบางเรื่องขออภัย โปรดอ่านต่อได้ใน amazon ชื่อหนังสือ ๆqualitative research methods for psychologist บทนำคะ

วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

วิธีประวัติชีวิต(life history approach)
ลักษณะของวิธีประวัติชีวิต
เป็นการเก็บข้อมูลประวัติชีวิต โดยการนึกย้อนหลังกลับไปในอดีตของผู้ให้ข้อมูล ลักษณะของข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลที่ให้ความสำคัญกับบริบททางสังคม ร่วมกับบุคคลมีผลต่อการทำพฤติกรรมต่างๆ อีกทั้งเป็นข้อมูลที่เป็นพลวัต มากกว่าเป็นข้อมูล ณ.จุดใดจุดหนึ่งของชีวิต การใช้วิธีการนี่น่าจะเหมาะสมกับการเก็บข้อมูลตามโครงสร้างของ จิตวิญญาณ ที่เป็นนิยามของงานวิจัยนี้ที่มีตัวบ่งชี้จิตวิญญาณหลายตัวและอาจเป็นสาเหตุ และผลซึ่งกันและกัน
บทบาทของผู้เก็บและผู้ให้ข้อมูล
ผู้เก็บข้อมูลและผู้ให้ข้อมูลร่วมมือในกระบวนการเก็บข้อมูลโดยผู้เก็บข้อมูลเป็นผู้สัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และการสัมภาษณ์เจาะลึกตามประเด็นที่กำหนดไว้ โดยผู้ให้ข้อมูลร่วมมือในการย้อนความจำ สร้างภาพของอดีตให้ชัดเจน จากการที่ผู้เก็บข้อมูลกระตุ้นให้คิดทบทวน สะท้อนความเห็น ความรู้สึก เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับตนเองในบริบทที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
ลักษณะของผู้ให้ข้อมูลที่เหมาะสม
เป็นผู้ใหญ่ในวัยทำงาน ที่มีประสบการณ์ในการทำงานที่มากพอที่ทำให้ข้อมูลมีความเข้มข้น กล่าวคือเครื่องมือนี้น่าจะใช้เป็นการเสริมเมื่อมีการเก็บข้อมูลเบื้องต้นแล้วสามารถระบุได้ว่าบุคคลนั้นมีระดับของประสบการณ์ทางจิตวิญญาณที่ชัดเจน
การสัมภาษณ์ประวัติชีวิต มี องค์ประกอบที่สำคัญคือ
1.แนวการสัมภาษณ์ เริ่มการสัมภาษณ์ตั้งแต่วัยเยาว์และสัมภาษณ์ตามลำดับอายุต้องสัมภาษณ์บริบทร่วมด้วย ใช้คำถามตาม(probing) ใช้คำถามปลายเปิด และพร้อมที่จะปรับและเพิ่มเติมคำถาม ตัวอย่าง
เล่าถึงครอบครัวของคุณให้ฟังหน่อยนะคะ ในช่วงคุณเป็นเด็กก่อนเข้าโรงเรียน เข้าเรียนประถม มัธยม ครอบครัวคุณเป็นอย่างไรบ้างคะ
Probe:ขยายความหน่อยได้ไหมคะ ให้ตัวอย่างในเรื่องนี้หน่อยได้ไหมคะ
ที่บ้านอยู่กับใครบ้าง เขาเป็นอย่างไรกันบ้าง
คุณมีแผนในอนาคตอย่างไร ความฝันของคุณเป็นอย่างไร
2.การกำหนดเวลาและสถานที่
การสัมภาษณ์ครั้งหนึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงนัดก่อนล่วงหน้า
ยืนยันเวลาและสถานที่ก่อนวันสัมภาษณ์ 1 วัน
การสัมภาษณ์เริ่มจากคำถามที่เป็นพื้นฐานและถ้ามีคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เป็นส่วนตัวมากๆให้เก็บไว้ถามเมื่อผู้ตอบรู้สึกคุ้นเคยกับผู้ถามมากขึ้น
จัดหาสถานที่และการเดินทางแก่ผู้ถูกสัมภาษณ์
3.การสร้างตารางแสดงผลจากการสัมภาษณ์
คอลัม: พ่อแม่ พี่น้อง ชุมชน โรงเรียน เพื่อน ศาสนา เป้าหมายของชีวิต ความเชื่อหลัก ความสัมพันธ์กับผู้อื่น/สิ่งแวดล้อม
แถว: ก่อนเข้าเรียน ระดับประถม ระดับมัธยม มหาวิทยาลัย
ผู้สัมภาษณ์ใช้ในการเตรียมข้อมูลและบันทึกข้อมูลสำหรับการสื่อสารกับผู้ถูกสัมภาษณ์ในแต่ละครั้ง
4.การวิเคราะห์และการให้คะแนนใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามตัวบ่งชี้ตามนิยาม





critical incident technique

เทคนิคเหตุการณ์สำคัญ(critical incident technique)
ลักษณะของเทคนิค
เป็นเครื่องมือวิจัย(research method)ที่ พัฒนาขึ้นโดย Flanagen, John(1954)ใช้เพื่อระบุพฤติกรรมในสถานการณ์เจาะจงที่เป็นเหมือน เหตุการณ์สำคัญ(เข้าใจว่าเหตุการณ์สำคัญน่าจะหมายถึงพฤติกรรมในสถานการณ์หนึ่งๆ ที่มีผลหรือคาดว่าจะมีผลต่อเป้าหมายของกิจกรรมบางอย่าง) ผลจากการใช้เทคนิคจะทำให้ได้ข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ได้แก่ การคัดเลือกพนักงานที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของงาน
เทคนิคนี้มีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นคือ
1) กำหนดเป้าหมายและวางแผน ในขั้นตอนนี้ ต้องทำความเข้าใจกับกิจกรรมโดยกำหนดจุดประสงค์
เป้าหมายของกิจกรรม ระบุว่าบุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรมจะได้อะไร เกิดการเปลี่ยนแปลอะไรโดยการไปถามจากผู้ที่เกี่ยวข้อง หลายฝ่าย และตัดสินโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาเพื่อเลือกจุดประสงค์ที่ได้รับความเห็นชอบร่วม
2) กำหนดลักษณะเฉพาะสำหรับผู้สังเกตประกอบด้วยการกำหนดลักษณะและประเภทของสถานการณ์ ระบุสถานการณ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย ทำความเข้าใจกับผลของ incidentที่มีต่อเป้าหมาย และกำหนดคนที่จะทำการสังเกต
3)เก็บข้อ โดยมีการสังเกตหรือให้ตัวเองรายงานหรือบอกเล่าเกี่ยวกับincidentที่สุดขั้วที่เกิดขึ้นในอดีต โดยที่ Flanagen ระบุว่าการสังเกตเป็นวิธีการที่ควรใช้มากที่สุด อย่างไรก็ตามได้กล่าวว่าเมื่อมาสามารถทำได้ มีทางเลือกอื่นคือการสัมภาษณ์กลุ่มและเดี่ยว การใช้แบบสอบถาม การแบบบันทึก
4) วิเคราะห์ข้อมูล ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อจัดกลุ่มพฤติกรรม กำหนดcategories
5) ตีความและรายงานผล
หลักจากบทความวิจัยของ Flanagen วิธีการนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนไปหลายรูปแบบมากแต่ยังเป็นวิธีการที่นิยมใช้กับมากในทางการวิจัยสุขภาพ จิตวิทยาองค์กร พฤติกรรมศาสตร์

วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
1)การลงระหัส(coding) จากเอกสารที่ถอดเทป ผู้วิจัยอ่านแล้ากำหนดส่วนของข้อมูลในเอกสารที่ผู้วิจัยเห็นว่าสำคัญ เรียกว่าหน่วยของการวิเตราะห์ อาจเป็น ประโยค ย่อหน้า แล้วนักวิจัยให้ระหัสกับหน่วยของการวิเคราะนั้นๆ
2)การจัดหมวดหมู่ระหัส (categorizing group)และ การลดความซ้ำซ้อน(reducing codes) เป็นการทบทวนระหัสเพื่อดูความเชื่อมโยงระหว่างระหัส และบางครั้งอาจรวมระหัสบางตัวเข้าด้วยกันได้
3)การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างหมวดหมู่(relationship and pattern among categories)
4)การตั้งหัวข้อ(theme and subtheme)
ผลสรุปของการวิเคราะห์จะมีความน่าไว้วางใจได้โดยการแสดงคุณลักษณะดังนี้
1. ความน่าเชื่อถือของข้อมูลมCredibility แสดงได้จากการอยู่ในพื้นที่อย่างยาวนานและสม่ำเสมอหรือมีคนสัมภาษณ์หลายครั้ง
2. ผลสรุปที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในมุมมองของผู้ริโภคงานวิจัย
3. มีการตรวจสอบร่องรอยของผลสรุปได้
4. ผลสรุปได้รับการยืนยันโดยผู้ร่วมวิจัยหรือตัวอย่าง